เสียงเกษตรกรตัวจริงจากอูกานดา

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต

 

           สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หรือ ที่รู้จักกันโดยย่อว่า “จีเอ็มโอ” ยังคงเป็นประเด็นให้ถกเถียงกันได้ตลอดเวลาทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีเอ็มโอที่ใช้ในทางเกษตร หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรม

          ในประเทศอูกานดาก็เช่นเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์จากองค์กรวิจัยการเกษตรแห่งชาติ ได้ใช้วิธีการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อพัฒนาพันธุ์กล้วยให้ต้านทานต่อโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และพันธุ์ข้าวโพดที่ทนทานต่อสภาพความแห้งแล้ง

         เป็นเพราะว่า เกษตรกรตัวจริงยุ่งอยู่กับการทำการเกษตรจนไม่มีเวลาที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการถกเถียง ทำให้เกษตรกรที่นั่งอยู่บนเก้าอี้และเอ็นจีโอ ได้อ้างตัวเป็นตัวแทนเกษตรกรเข้าไปสู่วงถกเถียงดังกล่าว (เหมือนบ้านเราเลย)

         ในฐานะที่เป็นเกษตรกรตัวจริง สิ่งที่ต้องการคือเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาการผลิตที่กำลังเผชิญอยู่ หรือเทคโนโลยีที่เหมาะกับความต้องการของตลาด ถ้า จีเอ็มโอ สามารถตอบโจทย์นั้นได้ เกษตรกรก็ยินที่ที่จะใช้เทคโนโลยีดังกล่าว

[adrotate banner=”3″]

        สิ่งที่ห่วงกังวลคือการอภิปรายกันในรัฐสภาเกี่ยวกับจีเอ็มโอ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การออกกฎหมายที่เข้มงวด ทำให้เกษตรกรไม่สามารถใช้ประโยชน์จากจีเอ็มโอได้ ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อเกษตรกร

         สิ่งที่อยากจะเห็นคือ กฎหมายที่อนุญาตให้เกษตรกรได้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีดังกล่าว นี่คือคำร้องขอที่มีต่อรัฐสภาอูกานดา

         สถานภาพของประเทศอูกานดา ช่างไม่ต่างอะไรกับประเทศที่กำลังเรียกร้องประชาธิปไตยเลยครับ!

          อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.monitor.co.ug/OpEd/Commentary/GMOs-Give-farmers-chance-speak-out/689364-4325818-k2enxcz/index.html