ถ่ายฝากยีนจากข้าว เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพด
โดย…ดร.นิพนธุ์ เอี่ยมสุภาษิต
จากแปลงทดลองภาคสนามเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา นักเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แสดงให้เห็นว่า เขาสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพด โดยการถ่ายฝากยีนจากข้าว ที่กำกับดูแลการสะสมน้ำตาลในเมล็ด ที่นำไปสู่การเพิ่มจำนวนเมล็ดต่อต้นมากขึ้น ด้วยเทคนิคนี้สามารถนำไปปรับใช้กับพืชอื่นได้ด้วย เช่น ข้าวสาลี หรือแม้แต่ข้าวด้วยกันเอง
ยีนข้าวจะส่งผลต่อการแสดงออกของสารเคมีตามธรรมชาติที่มีอยู่ในต้นข้าวโพด นั่นคือ trehalose 6-phosphate (T6P) ที่ช่วยในการกระจายน้ำตาลซูโครสในต้น แต่ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ต้นข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมจะลดระดับของ T6P ในท่อลำเลียงอาหาร ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในเครือข่ายการนำส่งของพืช ทำให้มีซูโครสจำนวนมากเคลื่อนไปยังเมล็ดที่กำลังพัฒนา และเป็นเรื่องบังเอิญที่พบว่า มีการเพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสง ทำให้มีการสร้างซูโครสมากขึ้นสำหรับเมล็ดที่มากขึ้น
นักวิจัยยังสนใจเกี่ยวกับท่ออาหารภายในโครงสร้างการสืบพันธุ์ของพืชซึ่งจะอ่อนไหวต่อความแห้งแล้ง ซึ่งจะไม่สร้างเมล็ด เมื่อเจอความแห้งแล้ง แต่ถ้ายังมีซูโครสถูกนำส่งไปอยู่ ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการสร้างเมล็ดได้
ครับ ความรู้เกิดจากความคิดที่ไม่หยุดนิ่งและหลายครั้งที่รู้ได้โดยบังเอิญครับ!
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rothamsted.ac.uk/news/sweet-way-greater-yields