โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ชาวเคนยากำลังอยู่บนเส้นขอบของการเข้าสู่สถานภาพการขาดอาหาร ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าทำลายอย่างหนักของของหนอนเจาะฝักข้าวโพดในแปลงเพาะปลูก จากรายงานเมื่อเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา หนอนได้เข้าทำลายในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดมากกว่า 1.56 ล้านไร่ ซึ่งอยู่ใน 27 ประเทศ จาก 47 ประเทศที่ปลูกข้าวโพด
จากการค้นหาความจริงโดยการนำของ OFAB-Kenya ซึ่งเป็นนักข่าวท้องถิ่นในเขต Machakosเปิดเผยว่า หนอนเจาะลำต้นได้เข้าทำลายฝักข้าวโพดในแปลงปลูกจนได้รับความเสียหายอย่างมากในเขตดังกล่าว จนเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ Elizabeth Ndukuหนึ่งในเกษตรกรรายย่อยกล่าวว่า แปลงข้าวโพดของเขาถูกหนอนลงโจมตีจนไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เลย
นักวิทยาศาสตร์จาก Kenya Agricultural and Livestock Research Organisation (KALRO) ซึ่งอยู่ในโครงการ Water Efficient Maize for Africa (WEMA) ได้ทำแปลงทดสอบพันธุ์ภาคสนาม เพื่อประเมินศักยภาพของข้าวโพดบีที (ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมให้ต้านทานต่อหนอนเจาะลำต้นและฝัก) ซึ่งจะเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนในการเข้าทำลายของหนอนและแก้ปัญหาความแห้งแล้งของประเทศ
“จากผลงานวิจัย เราได้ทำแปลงทดลองที่มีการกำกับดูแล ที่ Kitale (Trans Nzoia County) และที่ Kiboko (Makueni County) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ข้าวโพดบีทีสามารถควบคุมการเข้าทำลายของหนอนเจาะลำต้นและฝักได้” ซึ่งเป็นคำกล่าวของ Dr. MurengaMwimaliนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดที่ KALRO.
[adrotate banner=”3″]
เกษตรกรเคนย่ากำลังกระตุ้นให้รัฐบาลเร่งการยอมรับโดยเร็วของพืชดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อให้มีการอนุญาตให้ปลูกข้าวโพดบีที Ndukuกล่าวว่า “ฉันจะไม่รอที่จะยอมรับข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม ถ้าข้าวโพดนั้นต้านทานต่อหนอนเจาะลำต้นและฝัก รวมทั้งทนแล้ง”
ครับสำหรับประเทศไทย ยังไม่เกิดสงคราม แต่ในความเป็นจริงเรามีสงครามกับเอ็นจีโอกลุ่มหนึ่ง ที่ทำตัวทวงการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร ที่จะทำให้ประเทศไทยล้าหลังครับ!
ต้องการข่าวสารเพิ่มเติมโปรดติดต่อ Dr. Margaret Karembuที่ mkarembu@isaaa.org.