16 ประเทศ ร่วมถกเพื่อสร้างขีดความสามารถระดับโลกในการกำกับดูแลพืชที่ผ่านการแก้ไขจีโนมทั่วโลก

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

Innovative Genomics Institute (IGI) เป็นเจ้าภาพการประชุมเชิงปฏิบัติการ การสร้างขีดความสามารถด้านการกำกับดูแลระหว่างประเทศสำหรับการเกษตรที่แก้ไขจีโนมในเมือง Berkeley เมื่อต้นปี พ.ศ. 2567 โดยมีหน่วยงานกำกับดูแลจาก 16 ประเทศและตัวแทนจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (U.S. Department of Agriculture – USDA) สถาบันระหว่างอเมริกาเพื่อความร่วมมือด้านการเกษตร (Inter-American Institute for Cooperation on Agriculture – IICA) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Food and Agriculture Organization – FAO) ได้หารือเกี่ยวกับการสร้างขีดความสามารถระดับโลกสำหรับการกำกับดูแลพืชที่ผ่านการแก้ไขจีโนม

การประชุมเชิงปฏิบัติการให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าเกี่ยวกับภาพรวมด้านการกำกับดูแลทั่วโลก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การสนับสนุนด้านเทคนิคแก่หน่วยงานกำกับดูแลในการประเมินการใช้งานสำหรับพืชแก้ไขจีโนมและสินค้าเกษตรอื่น ๆ และมุ่งเน้นไปที่ประเทศที่อยู่ระหว่างกระบวนการพัฒนาแนวทางการแก้ไขจีโนม หรือเพิ่งสรุปแนวทางใหม่และเริ่มบังคับใช้

ในรายงานใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Biotechnology ผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการและผู้จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการได้แบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เพื่อจัดทำกรอบการทำงานและข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติเพื่อช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ปรับตัวเข้ากับโลกแห่งการแก้ไขจีโนมพืชที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเพื่อพัฒนานโยบายที่อยู่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์

ข้อมูลเชิงลึกจากการประชุมเชิงปฏิบัติการมีอยู่ในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Biotechnology (https://www.nature.com/articles/s41587-024-02489-5) สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดอ่านบทความข่าวและข่าวประชาสัมพันธ์การประชุมเชิงปฎิบัติการจากเว็บไซต์ IGI (https://innovativegenomics.org/news/regulatory-capacity-building-agriculture/)