นักวิจัยจาก NUS ผลิตเนื้อหมูที่เพาะเลี้ยงเซลล์ในห้องปฎิบัติการด้วยเมล็ดข้าวฟ่างแดง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ในทศวรรษที่ผ่านมา การเพาะเลี้ยงเซลล์เนื้อสัตว์ได้สร้างความก้าวหน้าและเหตุการณ์สำคัญในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการจำหน่ายเนื้อไก่ที่เพาะเลี้ยงจากเซลล์ในห้องปฎิบัติการในร้านอาหารบางแห่ง และจากการศึกษา ล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Agricultural and Food Chemistry นักวิจัยได้ขยายการประยุกต์ใช้เนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงจากเซลล์ กับเนื้อหมูที่เพาะเลี้ยงเซลล์ในห้องปฎิบัติการด้วยเมล็ดข้าวฟ่างสีแดง

เนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงจากเซลล์ เป็นทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากเนื้อสัตว์ที่ได้จากการเลี้ยงแบบดั้งเดิม ควบคู่ไปกับเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช เนื้อสัตว์ทดแทนเหล่านี้ต้องการพื้นที่และน้ำน้อยลง และปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลงในระหว่างการผลิต อย่างไรก็ตาม โปรตีนที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ กลูเตนข้าวสาลี โปรตีนถั่วเมล็ดกลม และโปรตีนจากถั่วเหลือง อาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ทนต่อกลูเตน (intolerance) หรือแพ้กลูเตน (allergies)

Linzhi Jing และเพื่อนร่วมงานจาก National University of Singapore (NUS) ได้ใช้ kafirin ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในเมล็ดข้าวฟ่าง ไม่ละลายน้ำและปราศจากกลูเตน ในการเพาะเลี้ยงเซลล์เนื้อหมู ผลการศึกษาพบว่า เนื้อหมูที่เพาะเลี้ยงเซลล์มีโปรตีนและไขมันอิ่มตัวมากกว่า และมีไขมันเชิงเดี่ยวและไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนน้อยกว่า และยังตั้งข้อสังเกตอีกว่าเม็ดสีสีแดงจากข้าวฟ่างทำให้เนื้อที่เพาะเลี้ยงด้วยเซลล์มีสีคล้ายกับเนื้อหมูที่เลี้ยงแบบดั้งเดิมและมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระบางประการ

การศึกษานี้ได้เน้นย้ำถึงศักยภาพของ kafirin ที่ใช้ในการผลิตเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงจากเซลล์ นักวิจัยกล่าวว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาและการวิจัยในอนาคต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางโภชนาการและเนื้อสัมผัสของเนื้อหมูที่เพาะเลี้ยงจากเซลล์

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.acs.org/pressroom/presspacs/2024/october/lab-grown-pork-gets-support-from-sorghum-grain.html