นักวิจัยค้นพบโมเลกุลต่อต้านความเครียดในพืช

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…นิพนธ์ เอ่ี่ยมสุภาษิต

นับเป็นครั้งแรกที่ทีมที่นำโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย (University of East Anglia – UEA) ได้ระบุยีนที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตภายใต้สภาวะเครียด ซึ่งจะมีผลต่อการผลิตพืชอาหารที่ยั่งยืนมากขึ้นเมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

การศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications ซึ่งเผยให้เห็นยีนที่ทำให้พืชสามารถสร้างโมเลกุลต่อต้านความเครียดชนิดใหม่ที่เรียกว่า dimethylsulfoniopropionate หรือ DMSP จากการค้นพบนี้ พืชส่วนใหญ่จะสร้าง DMSP และการผลิต DMSP ในระดับสูงจะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งที่มีความเค็ม

การศึกษานี้ยังแสดงให้เห็นว่า เมื่อมีการเสริม DMSP หรือเมื่อพืชสร้าง DMSP ขึ้นมาเอง พืชก็สามารถเจริฐเติบโตได้ภายใต้สภาวะกดดันอื่น ๆ เช่น ความแห้งแล้ง ด้วยวิธีการดังกล่าวอาจเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในดินที่มีไนโตรเจนต่ำเพื่อปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตร

การศึกษาครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่อธิบายยีนที่พืชใช้ในการผลิต DMSP รวมทั้งระบุว่าเหตุใดพืชจึงสร้างโมเลกุลนี้ และค้นพบว่า DMSP สามารถใช้เพื่อปรับปรุงความทนทานต่อความเครียดของพืชได้ นักวิจัยได้ศึกษา Spartina anglica ซึ่งเป็นพันธุ์หญ้าชนิดหนึ่งที่สร้าง DMSP ได้ในระดับสูง และเปรียบเทียบยีนกับยีนจากพืชชนิดอื่นที่ผลิตโมเลกุลดังกล่าว ก็พบว่า ยังมีเอนไซม์ 3 ชนิดที่เกี่ยวข้องกับการผลิต DMSP ในระดับสูงใน S. anglica

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.uea.ac.uk/about/news/article/researchers-discover-how-plants-produce-a-novel-anti-stress-molecule