โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิจัยชาวแคนาดาประสบความสำเร็จในการดัดแปลงถั่วลันเตาสีเหลือง (Yellow Peas) เพื่อปรับปรุงกลิ่นและส่วนประกอบของกรดไขมันผ่านการแก้ไขยีน PsLOX2 ของถั่วโดยใช้ CRISPR-Cas9 ซึ่งเป็นการศึกษาครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จในการสร้างสายพันธุ์ถั่วลันเตาสีเหลืองกลายพันธุ์ผ่านการใช้ CRISPR-Cas9 เพื่อปรับปรุงลักษณะรสชาติของถั่วเหลือง
ถั่วลันเตาสีเหลือง เป็นแหล่งโปรตีน เส้นไย และสารพฤกษเคมี (phytochemicals) ชั้นดี อย่างไรก็ตาม กลุ่มของสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (volatile organic compounds – VOCs) โดยเฉพาะกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fatty acids – PUFA) ที่ก่อให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ และรสชาติผิดปกติของถั่วลันเตาสีเหลืองเมื่อปรุงสุก สาเหตุนี้เกิดจากการทำงานของ Lipoxygenase (LOX) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่สร้างสารอินทรีย์ระเหย (VOCs)
ด้วยการแก้ไขจีโนม การสร้างการกลายพันธุ์ตามปกติในตำแหน่งจีโนมที่เลือกไว้ล่วงหน้าในพืช สามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงรสชาติในเมล็ดพืชได้ นักวิจัยใช้เทคโนโลยี CRISPR-Cas9 ในการกำหนดเป้าหมายยีน PsLOX สำหรับการกลายพันธุ์อย่างแม่นยำ ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมของ LOX ในแป้งถั่วลดลง จึงช่วยลดกลิ่นและรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ได้
ครับ เทคนิคการแก้ไขยีนก็สามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในพืชที่ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpls.2023.1246905/full