กรมวิชาการเกษตรสุดปลื้ม ส่งผลงาน “เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะเพิ่ มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียน” คว้ารางวัลเลิศรัฐจาก ก.พ.ร. ประเภทพัฒนาการบริการ ที่ได้ นำเทคโนโลยี Smart Sensors และระบบ IoTs มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการบู รณาการองค์ความรู้กระบวนการการผลิตพื ช
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในปี 2566 กรมวิชาการเกษตรได้ส่งผลงานเรื่ อง “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุ เรียนด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริ ยะ” ของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพื ช กรมวิชาการเกษตร เข้ารับการพิจารณาเพื่อรับรางวั ลเลิศรัฐ จากสำนักงานคณะกรรมการพั ฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งได้มีการประกาศผลการพิ จารณารางวัลเป็นที่เรียบร้อยแล้ ว ปรากฏว่าผลงาน “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุ เรียนด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริ ยะ” ได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริการ ซึ่งผลงานดังกล่าวดังกล่าวได้ นำเทคโนโลยี Smart Sensors และระบบ IoTs มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการบู รณาการองค์ความรู้ ตลอดกระบวนการการผลิตพื ชของกรมวิชาการเกษตร รวมทั้งของหน่วยงานภายในและต่ างประเทศ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
การดำเนินงาน “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุ เรียนด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริ ยะ” ภายใต้แนวทาง “รูปแบบ (Model) การเกษตรอัจฉริยะเพื่อการผลิตพื ช ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ทั้ง 8 ด้าน ประกอบด้วย เทคโนโลยีด้านดิน เทคโนโลยีด้านพืชและอารักขาพืช เครื่องจักรกลการเกษตร การใช้น้ำ เทคโนโลยีดาวเที ยมและอากาศยานไร้คนขับ อินเตอร์เน็ต และระบบช่วยตัดสินใจการผลิตพืช มายกระดับกระบวนการผลิตทุเรียน เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต ตลอดจนการใช้ทรัพยากรในการผลิ ตพืชให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านการตรวจวัดจากเซนเซอร์ ทางการเกษตร ประมวลผล และควบคุมอัตโนมัติในการผลิต ตลอดจนการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ รองรับการทำการเกษตรให้กั บเกษตรกร สำหรับการขยายผลเชิงพื้นที่ และเป็นต้นแบบการพัฒนาสู่พืชชนิ ดอื่นต่อไป
นายสิริชัย สาธุวิจารณ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กล่าวว่า เกษตรอัจฉริยะเป็นแนวคิดการบริ หารจัดการทางการเกษตรให้มีประสิ ทธิภาพด้วยการนำเทคโนโลยีสมั ยใหม่มาใช้งานอย่าง ซึ่งข้อมูลที่ได้จะถู กนำมาประมวลผล สำหรับการวางแผนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิ ตภายในสวน และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของทุ เรียนไทย โดยบูรณาการในส่วนขององค์ความรู้ การผลิตพืชในทุกสาขาวิชาร่วมกั บความรู้ด้านวิ ศวกรรมการเกษตรและองค์ความรู้ด้ าน it เพื่อนำมาสู่ในเรื่ องของเทคโนโลยี เป็นกระบวนการการผลิต ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
ผลการดำเนินงานทำให้ได้แปลงเรี ยนรู้เกษตรอัจฉริยะทุเรียน สำหรับเป็นสถานที่ศึกษาดู งานของเกษตรกรและเป็นแปลงวิจั ยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะในทุเรี ยนแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม จำนวน 2 แปลง ณ อ.นายายอาม และ อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี แอปพลิเคชันควบคุมระบบการให้น้ำ ทุเรียนผ่าน smartphone สามารถควบคุมการปิด-เปิดปั๊มน้ำ ควบคุมการปิด-เปิดโซลินอยด์วาล์ วของประตูน้ำภายในสวนทุเรียน Dashboard การผลิตทุเรียน ที่แสดงค่าสถานะต่างๆ ภายในแปลงปลูก เช่น ระยะการเจริญเติบโตและการพั ฒนาของทุเรียน ข้อมูลสภาพอากาศ คำแนะนำการดูแลรักษาทุเรียน ด้านการจัดการศัตรูพืช ธาตุอาหารพืช น้ำ สถานะการทำงานของอุปกรณ์ เซนเซอร์ทางการเกษตรภายในแปลง รวมถึงการบันทึกกิ จกรรมภายในแปลงปลูก
รวมทั้งยังได้แอปพลิเคชัน RainReport ที่สามารถรายงานการพยากรณ์ การตกของฝนและสภาพอากาศภายในแปล งปลูกแบบระบุพิกัด ล่วงหน้า 2 วัน สำหรับใช้วางแผนการบริหารจั ดการแปลงปลูก ที่รองรับการทำงานของโทรศัพท์ ในระบบ Android และการใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้ คนขับเพื่อสำรวจการเข้ าทำลายของศัตรูพืชและการพ่ นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบแม่ นยำเฉพาะจุด
“การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุ เรียนด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริ ยะทำให้เกษตรกรมีข้อมู ลสภาพแวดล้อมภายในแปลงปลูก สำหรับประกอบการตัดสิ นใจในการบริหารจัดการแปลง เพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ ยนแปลงของสภาพอากาศที่มีผลต่ อการผลิต ซึ่งเทคโนโลยีที่ติดตั้งเป็ นเครื่องมื ออำนวยความสะดวกในการทำงานให้กั บเกษตรกรได้ง่ายขึ้น การนำเทคโนโลยีไปใช้ในการควบคุ มการให้น้ำ (ปิด-เปิด) สามารถลดการใช้แรงงานคนได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และลดระยะเวลาการทำงานได้มากกว่ า 80 เปอร์เซ็นต์ ขณะนี้ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี เกษตรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิ ทธิภาพการผลิตทุเรียนให้กั บเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้สนใจ จากการฝึกอบรม และการศึกษาดูงาน ณ แปลงเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอั จฉริยะทุเรียน จำนวนมากกว่า 1,800 คน และนำไปขยายผลในโครงการ 1 อำเภอ 1 แปลงเกษตรอัจฉริยะด้วย” นายสิริชัย กล่าว