“อโกรว์พลัส” ทุ่ม 55 ล้านบาทดึงพันธมิตรเปิดตัว“AgrowPlus นวัตกรรมการเกษตรเพื่อคนไทย” พลิกรูปแบบการเกษตรสู่ยุคใหม่รั้งแรกในไทย

  •  
  •  
  •  
  •  

“Agrow Plus” พลิกโฉมครั้งใหญ่ ทุ่มกว่า 55 ล้านบาท เปิดตัวพันธมิตรในรูปแบบบริษัทในเครือด้านนวัตกรรมธุรกิจการเกษตรในรูปแบบใหม่ ” B2B2C4E ” เดินหน้าธุรกิจเกษตรครบวงจรภายใต้แนวคิด “Agrow Plus นวัตกรรมการเกษตรเพื่อคนไทย”  ทั้งเป็นตัวกลางเชื่อมต่อธุรกิจทางการเกษตรระหว่างเจ้าของธุรกิจ สนับสนุน ส่งเสริม ให้ที่ปรึกษา ต่อยอดธุรกิจ ลงทุนร่วมกัน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ ทั้งในระดับองค์กร ไการต่อยอดทางธุรกิจ เน้นพัฒนาและยกระดับการเกษตรแบบเดิมให้กลายเป็นเกษตรสมัยใหม่ที่นำเทคโนโลยีทางวิศวกรรมเข้ามาช่วย เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพและเข้าถึงได้ง่าย 2 ดารานักร้อง นักแสดงชื่อดัง “ลิลลี่ เริงฤทธิ์ แมคอินทอช-หอย เกียรติศักดิ์ อุดมนาค” ร่วมหุ้นด้วยพร้อมเชิญผู้ประกอบการมาเป็นพาร์ทเนอร์กัน 

วันที่ 27 สิงหาคม 2565 ได้มีการเปิดตัวบริษัท  อโกรว์พลัส จำกัด (Agrow Plus) ผู้ให้บริการนวัตกรรมธุรกิจการเกษตรในรูปแบบ B2B2C4E หรือ Business-to-Business-to-Customer ตัวกลางสำคัญในการเชื่อมต่อธุรกิจทางการเกษตรระหว่างเจ้าของธุรกิจ กับ เจ้าของธุรกิจ เปิดตัวตัวโครงการ “AgrowPlus นวัตกรรมการเกษตรเพื่อคนไทย” และกลุ่มบริษัทในเครือ อย่างเป็นทางการ ณ บริเวณ Quartier Gallery ชั้นM THE EMQUARTIER ถนนสุขุมวิท กรุงเทพฯ

สำหรับบริษัทในเครือ ที่เปิดตัวในครั้งนี้ประกอบด้วย บริษัทอะโกรว์แล็บจำกัดหน่วยวิจัยและเทคโนโลยี ในรูปแบบของโรงงานผลิตพืช (Plant Factory) และการปลูกพืชในโรงเรือน (Greenhouse), บริษัทเธอร์บาลิสต้าจำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกกลางแจ้งมาตรฐานออร์แกนิค, บริษัทอะโกรว์ฟาร์ม จำกัด จัดจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร, และ บริษัทอโกรว์แคร์จำกัดจัดจำหน่ายผลผลิตแปรรูปทางการเกษตร เช่น ยา อาหารเสริม เครื่องสำอาง เป็นต้นโดยมีนายเริงฤทธิ์ แมคอินทอช หรือวิลลี่ แมคอินทอช  และนายเกียรติศักดิ์ อุดมนาค หรือหอย ในฐานะกรรมการผู้บริหารบริษัท  อโกรว์พลัส จำกัด มาร่วมงานและเป็นพิธีกรด้วย

นายตะวัน น้อยมีธนาสาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท  อโกรว์พลัส จำกัด กล่าวว่า อโกรว์พลัสทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อโมเดลการทำธุรกิจทางการเกษตรครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำทั้งในระดับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการร่วมพัฒนาธุรกิจ การต่อยอดทางธุรกิจ การร่วมลงทุน ไปจนถึงผู้บริโภครายย่อย โดยมุ่งมั่นพัฒนาและยกระดับการเกษตรแบบเดิมให้กลายเป็นเกษตรสมัยใหม่นำเทคโนโลยีทางวิศวกรรมเข้ามาช่วย เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพและเข้าถึงได้ง่าย

ที่มาของ AgrowPlus นั้น เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แนวโน้มจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นจากในอดีต รวมถึงประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งอาหารของโลก ประกอบกับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 สิ่งที่คนทั้งโลก ต้องเผชิญ คือ สถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19  ส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกต้องหยุดชะงัก อีกทั้งระบบห่วงโซ่การผลิตทั่วโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ทั่วโลกเกิดความกังวลเรื่องการขาดแคลนอาหารจึงเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในการเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศไทยให้ดีขึ้น สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและยารักษาโรคด้วยวัตถุดิบทางการเกษตร ซึ่งเป็นที่มาของ AgrowPlusและบริษัทในเครือทั้งหมด

ทั้งนี้การทำงานของ AgrowPlus และบริษัทในเครือ ทำงานอยู่ภายใต้การบริหารงานแบบ 4E ก็คือ 4E-Marketing 5.0ได้แก่Experience: สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าExchange: สร้างความคุ้มค่าให้ลูกค้ายอมรับในผลิตภัณฑ์Everywhere: ทุกคนสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้จากทุกที่ และ Evangelism: สร้างลูกค้าขาประจำเพื่อให้เกิด Brand Loyaltyสำหรับความแตกต่างของAgrowPlusนั้นจะช่วยยกระดับการทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่ต้องเพาะปลูกตามวิถีธรรมชาติ ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น สภาพแวดล้อมมาจากฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม รวมถึงศัตรูพืชต่างๆ ส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของผลิตผล รวมถึงการใช้“สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช”แม้ว่าจะควบคุมคุณภาพและปริมาณได้ดีขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยปัญหาสารปนเปื้อน สารเคมีตกค้าง ทั้งเป็นภัยต่อสุขภาพของเกษตรกร และผู้บริโภค ยังเป็นภัยต่อระบบนิเวศวิทยา

ด้วยเหตุนี้เอง Agrow Plusจึงเล็งเห็นว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุค “เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร” หรือที่ภาครัฐ เรียกว่า “เกษตร 4.0” การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรมาใช้ในภาคการเกษตร ย่อมเปลี่ยนวิถีการเกษตร เข้าสู่ “วิถีเกษตรแม่นยำ” ตั้งแต่เริ่มต้นเพาะปลูกจนกระทั่งถึงการเก็บเกี่ยวทำให้สามารถควบคุมปริมาณและคุณภาพของผลิตผลทางการเกษตรได้ดีขึ้นและยังเป็นการยกระดับผลิตผลทางการเกษตร ให้เข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic) และมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP)ตอบโจทย์ในเรื่องมาตรฐานวัตถุดิบทางอาหารที่ดี และปลอดภัย

ทั้งนี้เป้าหมายของ AgrowPlus ต้องการจะช่วยให้การเกษตรของประเทศดีขึ้น โดยการเข้าสู่ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic) และ มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) สามารถตอบโจทย์ในเรื่องมาตรฐานวัตถุดิบทางอาหารที่ดี และปลอดภัย ซึ่งช่วยให้ประเทศดีขึ้นในแง่มุมต่างๆ ดังนี้มุมผู้บริโภคได้วัตถุดิบทางอาหารที่ดี และปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้นทุกคนมีสุขภาพที่ดี ผู้คนสามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามปกติ ประกอบกิจการงานได้ตามปกติ เศรษฐกิจของประเทศก็เดินหน้า ส่วนในมุมของเกษตรกร หากเกษตรกรเข้าสู่ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic) และ ได้มาตรฐานการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) ผลผลิตที่ออกมาก็จะได้มาตรฐานที่ดี ปลอดภัย ผู้บริโภคมั่นใจ ผู้ประกอบการทางธุรกิจมั่นใจ

“เกษตรกรสามารถขายผลิตผลทางการเกษตรได้มากขึ้น ราคาดีขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น ฐานะความเป็นอยู่ย่อมดีขึ้น เป็นภาระของภาครัฐน้อยลง และในมุมของ ภาคธุรกิจ ทั้งรายย่อย และรายใหญ่ ที่ต้องนำผลิตผลทางการเกษตร มาเป็นวัตถุดิบในการผลิต และแปรรูป ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ ตอบโจทย์ นโยบายทางเศรษฐกิจ ที่ตั้งเป้าหมายว่า “ครัวไทยสู่ครัวโลก”และสุดท้ายในมุมของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจเพื่ออนาคต หรือเรียกว่า NewS-Curve  อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ประกอบด้วยการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical and Wellness Tourism)  และ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)” นายตะวัน กล่าว

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท  อโกรว์พลัส  กล่าวอีกว่า ไฮไลท์ที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)  เพราะประเทศไทยยังไม่มียาตำรับแพทย์แผนไทยเข้าสู่ตลาดโลก หนึ่งในสาเหตุหลักๆ ก็คือ วัตถุดิบสมุนไพรไทย ซึ่งถ้าเราสามารถยกระดับอุตสาหกรรมยาไทยประเทศไทยจะมีแบรนด์ของยาไทยส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ และสมุนไพรไทยจะกลายเป็นสินค้าส่งออกติด Top 10 หรือ แม้กระทั่งผลิตผลทางการเกษตร ที่ไม่เคยผ่านมาตรฐานการตรวจสอบสารปนเปื้อนต่างๆ และเคยถูกตีกลับ ก็จะกลับมาส่งออกได้อีกครั้ง ถ้าอยากเห็นประเทศไทยก้าวเข้าสู่ New S-Curve ในธุรกิจและอุตสาหกรรมเหล่านี้ ก็ต้องเริ่มที่วันนี้  และนี่คือสิ่งที่กลุ่ม AgrowPlusของเรา กำลังดำเนินการ ไม่ได้ตอบโจทย์แค่ภาคชุมชน ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม แต่เป็นการตอบโจทย์ในระดับนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานในกลุ่ม Agrow Plus ครั้งนี้ บริษัทฯ ได้ใช้เงินลงทุนไปจำนวนงบลงทุนประมาณ 50-55 ล้านบาท ส่วนใหญ่กว่า 80-90% เป็นงบลงทุนที่ใช้เพื่อการวิจัย ค้นคว้า พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตร ส่วนที่เหลือเป็นงบลงทุนเพื่อจัดตั้งบริษัทในกลุ่ม Agrowเพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจ  ส่วนกลุ่มเป้าหมายของAgrowPlusกลุ่มเกษตรกรธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ประกอบการที่ต้องการผลิตผลทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบ และผู้บริโภค ทุกเพศ ทุกวัยในส่วนแผนการตลาด และช่องทางการเข้าถึงลูกค้า บริษัทฯเลือกใช้ช่องทางผ่านทั้งOnline และ Offline Marketing

ส่วนการวางแผนการตลาดผ่านแนวคิด 4E + Marketing 5.0 มาไว้ร่วมกัน Marketing 5.0 มีองค์ประกอบหลัก คือData Driven: ข้อมูล เป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยทำให้การตัดสินใจแม่นยำ ถูกต้องมากขึ้นAgile: การตลาดที่พร้อมปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วPredictive: การวิเคราะห์ ติดตามการเปลี่ยนแปลง ประเมินและคาดการณ์ความเป็นไปได้ และContextual: เข้าใจบริบทของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายแบบไหนAugmented: เสริมประสิทธิภาพ

เขา มองถึงการแข่งขันในธุรกิจนี้ว่า ทุกธุรกิจ ทุกวงการ ล้วนแข่งขันกันอย่างรุนแรงเป็นเรื่องปกติ ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจการเกษตร และในแต่ละประเทศ ก็ต้องยอมรับว่า ทุกธุรกิจย่อมมีกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ระดับผู้นำ ถามว่า เราจะไปแข่งขันกับเค้าเหรอ หรือเราจะแข่งขันแบบให้ตายกันไปข้างนึงเหรอ ถ้าเรามองแบบนั้น เรียกว่า ไม่ใช่การแข่งขันที่ดีในเชิงธุรกิจ เพราะว่าการดำเนินธุรกิจแบบสู้กันไปสู้กันมา มันมีฝ่ายแพ้กับฝ่ายชนะ ที่เรียกว่า “Win-Lose Solution” นั่นไม่ใช่แนวทางของเราแต่แนวทางธุรกิจของกลุ่ม Agrow คือ เราพร้อมเดินทางบนถนนเส้นทางเดียวกัน เป็นมิตรกับทุกคน เพื่อร่วมกันยกระดับธุรกิจของประเทศ เพื่อก้าวเข้าสู่ตลาดโลกดีกว่าว่ากันง่ายๆ ก็คือ เน้นการแข่งขันทางธุรกิจในรูปแบบ“Win-Win Solution”

ในส่วนของรายได้  ตั้งแต่ปี 2563-ปัจจุบัน กลุ่ม Agrowเน้นเรื่องการวิจัย ค้นคว้า พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงการวางโครงสร้างของกลุ่ม ในปี 2565 จึงยังไม่ได้กำหนดเป้าหมายรายได้อย่างชัดเจนในตอนนี้กลุ่มลูกค้าและพันธมิตรของเราเติบโตขึ้นอย่างมาก และคาดว่าภายในปีนี้กลุ่มลูกค้าจะเติบโตขึ้น 200% และคาดว่างบการลงทุนที่ได้ลงทุนไป จะคืนทุนได้ภายในกลางปีหน้า สำหรับการวางเป้าหมายรายได้ ตามแผนธุรกิจของกลุ่ม Agrowจะแจ้งอย่างเป็นทางการในช่วงต้นปี 2566 อย่างไรก็ดีปัจจุบันพืชกัญชาและกัญชงกำลังอยู่ในกระแสความต้องการของตลาดและมีการปลดล็อกให้มีการปลูกได้อย่างเสรีAgrowPlus ในฐานะผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการปลูกครบวงจรได้ให้มุมมองกับพืชทั้ง 3 ก. นี้ไว้ ดังนี้ เนื่องจากพืชทั้ง 3 ชนิด นี้ เป็นกลุ่มพืชที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ และยังโอกาสทางธุรกิจอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ ด้านการท่องเที่ยว รวมไปถึงด้านการส่งออก

ด้าน วิลลี่ นายเริงฤทธิ์ แมคอินทอช และหอย นายเกียรติศักดิ์ อุดมนาค บอกว่า ร่วมทุนด้วยกันพร้อมเดินหน้าปรับโฉมใหม่ภาคเกษตรไทย จึงเชิญผู้ประกอบการมาเป็นพาร์ทเนอร์กัน (ดูรายละเอียดในคลิป)