เกษตรฯ จับมือจิสด้า ใช้เทคโนโลยีตรวจสอบพื้นที่การเกษตรที่เสียหายจากภัยพิบัติ หวังช่วยเหลือเกษตรกรได้เร็วขึ้น

  •  
  •  
  •  
  •  

กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จีสด้า) นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาวิเคราะห์แปลงเกษตรที่เสียหายจากภัยพิบัติ ควบคู่กับการประเมินสำรวจของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้เกษตรกรได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

    นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายให้ ความสำคัญกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาการเกษตรในปัจจุบันไปสู่การเกษตรอัจฉริยะหรือ Smart Agriculture เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาที่มุ่งสู่เกษตร 4.0 ผนวกกับมาตรการด้านการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัย พิบัติที่อาจสร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตร

     กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะหน่วยงานภายใต้สังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA (จีสด้า) ดำเนินการนำข้อมูลภูมิสารสนเทศ ได้แก่ ภาพถ่ายดาวเทียม มาใช้ประกอบการวิเคราะห์เพื่อประเมิน ความเสียหายของพื้นที่การเกษตร ควบคู่ไปกับการลงพื้นที่ประเมินความเสียหายจริงของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ณ แปลงของเกษตรกร ตามการแจ้งในระบบเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืชท้ังอุทกภัย และภัยแล้ง

    ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบความ ถูกต้องของข้อมูลและดำเนินการในข้ันตอนต่อไป ซึ่งจะทำให้เกษตรกรได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมท้ังมี การนำฐานข้อมูลผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัลร่วมกับภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ประสบภัยแล้งและน้ำท่วม ซ้ำซากต่อเนื่อง มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อปรับเปลี่ยนชนิดพืช หรือกิจกรรมอื่นที่เหมาะสมทดแทน เพื่อลดความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่เกษตรอีกด้วย

    นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรและ GISTDA  ยังได้ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ กรมชลประทาน และกรมอุตุนิยมวิทยา ในการจัดโครงการวิจัย “โครงการประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและความเสียหายของพืชเกษตรรายแปลงด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ” เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มที่ใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่ภัยแล้งและประเมินความเสียหายของพืช ในการสนับสนุนการตัดสินใจการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง

    “การวิจัยคร้ังนี้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมจากการศึกษาวิจัยสำหรับถ่ายทอดสู่เกษตรกร และสะท้อนข้อมูลจากประสบการณ์ในงานส่งเสริมการเกษตรนำไปกำหนดโจทย์หรือประเด็นการศึกษาวิจัย เพื่อให้ได้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรที่เหมาะสม สอดคล้องกับศักยภาพ และความต้องการของเกษตรกรต่อไป” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร  กล่าว