“สมาร์ท ออฟฟิศ”กุญแจสำคัญนำภาคเกษตรไทยสู่เกษตรยั่งยืน

  •  
  •  
  •  
  •  

“สมาร์ท ออฟฟิศ” คือการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากประเทศที่เดิมขับเคลื่อนด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

ปัจจุบันภาคการเกษตรของไทยกำลังจะก้าวสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 20 ปี ภายใต้กรอบ “ไทยแลนด์ 4.0″ ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีการเตรียมพร้อมแล้วในหลายๆ ด้าน โดยมุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาภาคการเกษตรไปสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ด้วยการสร้าง “ความเข้มแข็งจากภายใน” ผ่านการขับเคลื่อนตามนโยบายสำคัญ ที่มุ่งปฏิรูปภาคการเกษตรของไทยให้ก้าวสู่ SMART AGRICULTURE

ก่อนหน้านี้ได้มีการพูดถึงการพัฒนาภาคการเกษตรของไทยในปัจจุบัน จากเดิมที่การเกษตรของไทยส่วนใหญ่ยังเป็นการเกษตรที่ทำตามกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษมาสู่นโยบายการยกระดับภาคการเกษตรไทยเข้าสู่ยุค เกษตรสมัยใหม่” หรือ  “สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” (Smart Farmer) คือ “เกษตรอัจฉริยะ” หรือผู้นำเกษตรกรหรือผู้จัดการฟาร์มอย่างมืออาชีพ และขยับเข้าสู่ สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง (Smart Farming) คือเกษตรกรรมยุคใหม่ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในฟาร์มเกษตร พร้อมๆกับกับการปั้น หรือการสร้าง เด็กรุ่นใหม่ เพื่อซึ่มซาบและมองความสำคัญของอาชีพด้านการเกษตร ที่เรียกว่า  “ยัง สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” (Yang Smart Farmer) คือเกษตรกรเด็กรุ่นใหม่เป็นเยาวชนทั่วไปรวมถึงรุ่นหนุ่ม-สาวที่มีอายุไม่ควรเกิน 45 ปี นั่นเอง

กระนั้นภาคการเกษตรของไทยที่จะขับเคลื่อน “สมาร์ท ฟาร์มเมอร์”รวมถึง “สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง” และ “ยัง สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” ให้บรรลุเป้าหมายได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหรือสร้าง “สมาร์ท ออฟฟิศ”

คำว่า “สมาร์ท ออฟฟิศ” (Smart Officer) ไม่ได้แปลว่า “ออฟฟิศ อัจฉริยะ ” แต่ “สมาร์ท ออฟฟิศ” ในความหมายหรือนัยของภาคการเกษตร ในเบื้องต้นนั้นที่กระทรวงเกษตรให้นิยามหมายถึง “คน” ที่จะเป็นบุคลากรที่มีความรู้และเข้าใจในงานนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และเป็นผู้ชํานาญในงานของตนเองที่สามารถเชื่อมโยงงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ ซึ่งต้องเป็นบุคลากรในพื้นที่ที่จะต้องมีความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงาน วิธีการปฏิบัติงาน และประสานการดำเนินงานกับทุกภาคส่วนได้เป็นอย่างดี มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ มุ่งมั่นพัฒนาภาคการเกษตรให้มีความเข้มแข็ง มีความรู้ทางวิชาการ และเชี่ยวชาญในงาน มีความเข้าใจในนโยบาย การบริหารจัดการงาน/โครงการ และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

ฉะนั้น สมาร์ท ออฟฟิศ ต้องที่ผ่านการประเมินคุณสมบัติเป็น สมาร์ท ออฟฟิศ แล้ว และผ่านคุณสมบัติของ สมาร์ท ออฟฟิศ  ต้นแบบที่กําหนดเพิ่มเติมโดยคณะทํางานระดับกรมและคณะทํางานระดับจังหวัด ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านการเกษตรในแต่ละสาขา มีประสบการณ์ในการทํางาน มีผลงานหรือการปฏิบัติราชการเป็นที่ประจักษ์หรือได้รับเป็นต้น และในอนาคต สมาร์ท ออฟฟิศ ที่จะอยู่ในพื้นที่ต่างที่เป็นปราชญ์เกษตรอย่างแท้จริง เพื่อที่จะทำหน้าที่ขับเคลื่อน สมาร์ท ฟาร์มเมอร์  สมาร์ท สมาร์มฟาร์มมิ่ง และ ยัง สมาร์ท ฟาร์มเมอร์ ในพื้นที่นั่นเอง

อย่างของกรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนดนิยามของ “สมาร์ท ออฟฟิศ” เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 มิติที่สำคัญ ได้แก่  การเปลี่ยนจากการผลิตสินค้าไปสู่สินค้าเชิง นวัตกรรม , การเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศที่เดิมขับเคลื่อนด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม, และการเปลี่ยนจากการเน้นผลิตสินค้าไปสู่ภาคบริการมากขึ้น

ลักษณะของ Smart Officers ต้องเป็นผู้รู้ดีในด้านการเกษตร,รู้จริงมีความรู้ความเข้าใจสามารถอธิบายและเชื่อมโยงงานตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์,รู้คิดสามารถใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อนําไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้ หรือถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ สมาร์ท ออฟฟิต คือคนที่รู้ทุกเรื่องที่จะต่อยอดและนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใช้มาใช้ในฟาร์มนั่นเอง

ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินโครงการขับเคลื่อน เพื่อให้สำนักงานเกษตรอำเภอ เป็น Smart Office โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการนำร่องในปี 2557 จำนวน 115 อำเภอ เพื่อให้การบริการแก่เกษตรกรครอบคลุมทุกอำเภอทั่วประเทศ และขยายผลการดำเนินงานสำนักงานเกษตรอำเภอ Smart Office  จำนวน 882 อำเภอทั่วประเทศ

วัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้สำนักงานเกษตรอำเภอ Smart Office สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ จึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาสำนักงานเกษตรอำเภอในการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านการเกษตรแก่เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านการเกษตรในพื้นที่ นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรและประชาชน ในการช่วยเหลือรับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรได้อย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ , เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกรปราดเปรื่องในระระบบสารสนเทศศูนย์บริการประชาชน และระบบศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  ให้สามารถรองรับการให้บริการด้านการเกษตรแก่เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว,  และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการงานส่งเสริมการเกษตร

สำหรับคุณสมบัติ Smart Officer

1.มีความรักเกษตรกรเหมือนญาติ มีความมุ่งมั่นและพร้อมจะให้บริการช่วยเหลือเกษตรกรในทุกๆ ด้าน

2.มีความรู้ทางวิชาการนโยบาย และการบริหารจัดการงาน/โครงการ รวมถึงเทคนิคการถ่ายทอด คือ มีองค์ความรู้พื้นฐาน และความเชี่ยวชาญเฉพาะ(Knowledge)ที่สามารถถ่ายทอดให้กับเกษตรกรได้ มีองค์ความรู้พื้นฐานทางวิชาการในระดับที่สามารถปฏิบัติงานได้

3.สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน

4.สร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร

5.มุ่งนำเกษตรกรสู่ Green Economy และ Zero waste agriculture, และ

6.มีความภาคภูมิใจในองค์กรและความเป็นข้าราชการ

ที่มา : bangkokbanksme