“RUN” เดินหน้าต่อสร้างมิติใหม่งานวิจัยเพื่อประเทศไทย

  •  
  •  
  •  
  •  

 

เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยวิจัยเพื่อการวิจัย (RUN)  8 สถาบัน ต่อยอดงานวิจัยสู่ระยะที่สอง กำหนดกรอบการทำงาน 5 ปี เพื่อสร้างมิติใหม่ของงานวิจัย และเป็นต้นแบบการทำงานร่วมกัน มุ่งเป้าสู่  RUN for Thailand :  to sustainable development วิจัยเพื่อประเทศไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หลังที่ระยะแรก ประสบผลสำเร็จอย่างพอใจ

            เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2561 เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยวิจัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN)ประกอบด้วยสถาบันอุดมศึกษา 8 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร โดย,uอธิการบดีทั้ง 8 สถาบันได้ร่วมกันลงนามในบันทึกความเข้าใจเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (RUN) มุ่งเป้า  RUN for Thailand :  to sustainable development วิจัยเพื่อประเทศไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นับเป็นความร่วมมือระยะที่สองของ RUN ซึ่งมีระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2561 – 2566) +โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นเจ้าภาพจัดงาน. ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ บางเขน โดยมี ศ.คลินิก นายแพทย์ อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิ

           ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย กล่าววัตถุประสงค์ของ RUNและผลการดำเนินการ ว่า จากการก่อเกิดเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558 ของ 7 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

           การรวมตัวในครั้งนั้น เพราะได้ตระหนักว่า ไม่มีปัญหาใหญ่ใดๆ ในโลก หรือปัญหาใหญ่ของประเทศที่แก้ไขด้วยศาสตร์เพียงศาสตร์เดียว หรือมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียว  หากแต่การรวมคิด ร่วมวิจัย ร่วมกันทำงานด้วยเป้าหมายเดียวกัน คือ ทำให้ประเทศไทยดีขึ้น นี่คือคือที่มาของเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยวิจัย และRUN เป็นมิติใหม่ของความร่วมมือโดยอาศัยพื้นฐานของความจริงใจ ความเท่าเทียมกัน และความเป็นเลิศ เรียกสั้น ๆ ว่า “SEXy way” Sincerely, Equally, Excellently”

        

         ศ. ดร.ศุภชัย กล่าวอีกว่า การดำเนินงานในระยะที่หนึ่ง เป็นเวลา 3 ปี ( พ.ศ. 2558 -2561) ได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยทางเครือข่ายฯ วางกลยุทธ์ในการดำเนินการด้านการสร้างนวัตกรรม การสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ การร่วมมือกับภาค อุตสาหกรรม การสร้างหน่วยประสานงานกับนักวิจัยและคลัสเตอร์นักวิจัย  การดำเนินกิจกรรมหลากหลายเพื่อสร้างวัฒนธรรมการทำงานวิจัยร่วมกัน ทุกระดับ ทั้งในระดับผู้บริหารมหาวิทยาลัย นักวิจัย รวมทั้งระดับเจ้าหน้าที่ผู้บริหารงานวิจัย

         สำหรับการทำงานของ RUN ได้แบ่งออกเป็น 10 คลัสเตอร์ คือ ด้านพลังงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ด้านสุขภาพ ด้านอาหารเพื่อสุขภาพ ด้านการเกษตร ด้านวัสดุขั้นสูง ด้านหุ่นยนต์ ด้านดิจิตัล ด้านอาเซียน และด้านโลจิสติกส์ โดยในแต่ละด้านขับเคลื่อนโดยประธานคลัสเตอร์ที่มีมหาวิทยาลัยต้นสังกัดรับผิดชอบ มีการพบปะระหว่างนักวิจัยภายในคลัสเตอร์เป็นประจำ มีการจัดการประชุมประจำปี และการจัดกิจกรรมสร้างแนวคิดใหม่ๆ ในการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และจัดทำแผนที่นำทาง (Road map) ในการวิจัยของแต่ละคลัสเตอร์ 

            ความร่วมมือระหว่างกลุ่มมหาวิทยาลัย เป็นอีกหนึ่งในกลยุทธ์ของการทำงานของ RUN โดยมุ่งสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น Group of Eight ของประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศมาเลเซีย และแนวโน้มของการร่วมมือกับกลุ่มมหาวิทยาลัยในอาเซียน

[adrotate banner=”3″]

            นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมา RUN ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารในหน่วยงานต้นสังกัด แหล่งทุนใหญ่ เช่น สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ) สนับสนุนในงบดำเนินงานเครือข่ายฯ

        ดังนั้นสามปีที่ผ่านมา จึงเป็นสามปีแห่งการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รู้จักกัน และทำงานร่วมกัน จนปัจจุบัน แนวคิดของ RUN ได้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรที่รู้จักให้ รู้จักแบ่งปันและรู้จักการทำงานร่วมกัน สิ่งที่ยากได้กลายเป็นสิ่งที่ง่าย สิ่งที่เป็นขั้นตอนได้มีการลดขั้นตอน และมีแบ่งปันความรู้แก่กันและกัน ผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม คือ การสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยของประเทศ  สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม  ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับพัฒนาประเทศ และนำไปสู่การเผยแพร่และสร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติ สร้างและพัฒนาศักยภาพนักวิจัย นิสิต นักศึกษาในสถาบันที่เข้าร่วม

          การลงบันทึกความร่วมมือระยะที่สอง ในวันที่ 12 มีนาคม 2561 (ระยะเวลา 5 ปี) จึงเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินการของเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยวิจัยในช่วงเวลาที่ผ่านมาสามปี ที่รวมตัวกันด้วยความจริงใจ การแบ่งปัน จะเป็นมิติใหม่ของการวิจัยและต้นแบบให้แก่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ที่แปลงวจีกรรม ที่ว่ามหาวิทยาลัยควรมีการทำงานร่วมกันให้เป็นกิจกรรมที่ทำได้จริง