สำนักงานทรัพยากรน้ำฯ ประกาศเตือนพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ รวมถึงอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ เนื่องจากระบายไม่ทัน ช่วงวันที่ 15 – 20 กรกฎาคม 2567 นั้น
ประกาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ฉบับที่ 7/2567
เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ ในช่วงวันที่ 14 – 17 กรกฎาคม 2567 ร่องมรสุมกำลังแรงจะพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง สทนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำตามฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน ช่วงวันที่ 15 – 20 กรกฎาคม 2567 ดังนี้
- ภาคเหนือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ปางมะผ้า ปาย ขุนยวม แม่ลาน้อย แม่สะเรียง และสบเมย)
จังหวัดตาก (อำเภอเมืองตาก ท่าสองยาง แม่ระมาด แม่สอด พบพระ และอุ้มผาง)
จังหวัดสุโขทัย (อำเภอศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม และศรีสำโรง)
จังหวัดพะเยา (อำเภอเมืองพะเยา เชียงคำ ปง และเชียงม่วน)
จังหวัดน่าน (อำเภอเมืองน่าน ทุ่งช้าง ปัว ท่าวังผา แม่จริม และเวียงสา)
จังหวัดแพร่ (อำเภอเมืองแพร่ สอง ร้องกวาง สูงเม่น และเด่นชัย)
จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ฟากท่า และท่าปลา)
จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอชาติตระการ นครไทย วังทอง และเนินมะปราง)
จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ หล่มเก่า เขาค้อ และหล่มสัก)
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย (อำเภอนาแห้ว เชียงคาน ด่านซ้าย และปากชม)
จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ และโพนพิสัย)
จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอบุ่งคล้า โซ่พิสัย เซกา และบึงโขงหลง)
จังหวัดหนองบัวลำภู (อำเภอเมืองหนองบัวลำภู ศรีบุญเรือง และโนนสัง)
จังหวัดอุดรธานี (อำเภอนายูง และน้ำโสม)
จังหวัดสกลนคร (อำเภอเมืองสกลนคร และอากาศอำนวย)
จังหวัดนครพนม (อำเภอเมืองนครพนม ศรีสงคราม และธาตุพนม)
จังหวัดชัยภูมิ (เมืองชัยภูมิ บ้านเขว้า จัตุรัส และคอนสวรรค์)
จังหวัดขอนแก่น (อำเภอเมืองขอนแก่น)
จังหวัดนครราชสีมา (อำเภอเมืองนครราชสีมา เมืองยาง ลำทะเมนชัย และพิมาย)
จังหวัดกาฬสินธุ์ (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และกมลาไสย)
จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอเมืองมุกดาหาร และนิคมคำสร้อย)
จังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมืองมหาสารคาม และโกสุมพิสัย)
จังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอเมืองร้อยเอ็ด เสลภูมิ ทุ่งเขาหลวง และเกษตรวิสัย)
จังหวัดยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร ป่าติ้ว และคำเขื่อนแก้ว)
จังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอเมืองอำนาจเจริญ และหัวตะพาน)
จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอเมืองสุรินทร์ ชุมพลบุรี ท่าตูม รัตนบุรี จอมพระ สนม โนนนารายณ์ และศีขรภูมิ)
จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอราษีไศล และยางชุมน้อย)
จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอน้ำยืน และศรีเมืองใหม่)
- ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก (อำเภอเมืองนครนายก และบ้านนา)
จังหวัดปราจีนบุรี (อำเภอเมืองปราจีนบุรี ประจันตคาม และนาดี)
จังหวัดสระแก้ว (อำเภอเมืองสระแก้ว วัฒนานคร โคกสูง และอรัญประเทศ)
จังหวัดชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี และศรีราชา)
จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง ปลวกแดง นิคมพัฒนา และแกลง)
จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี เขาคิชฌกูฏ มะขาม ขลุง และแหลมสิงห์)
จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ เขาสมิง แหลมงอบ คลองใหญ่ เกาะช้าง และเกาะกูด)
- ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ)
จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง และท้ายเหมือง)
จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)
จังหวัดกระบี่ (อำเภอเขาพนม)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอเมืองพุนพิน เคียนซา บ้านนาเดิม บ้านนาสาร และเวียงสระ)
จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง ปะเหลียน นาโยง กันตัง ห้วยยอด หาดสำราญ รัษฎา และวังวิเศษ)
จังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล ควนโดน ควนกาหลง ทุ่งหว้า และมะนัง)
จังหวัดยะลา (อำเภอยะหา และรามัน)
จังหวัดนราธิวาส (อำเภอเจาะไอร้อง สุไหงปาดี สุไหงโก-ลก และแว้ง)
5.เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จังหวัดน่าน พะเยา พิษณุโลก สุโขทัย เลย สกลนคร อุดรธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา ตราดและอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก ที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบบริเวณท้ายเขื่อนน้อยที่สุด
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1.ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน
2.เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ อาคารชลศาสตร์ให้พร้อมใช้งาน และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
3.ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ปรับการบริหารจัดการน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก น้ำในลำน้ำ รวมถึงเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ ให้สอดคล้องกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและ โดยการเร่งระบายและพร่องน้ำรองรับสถานการณ์ฝนที่คาดว่าจะตกหนัก
4.ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์
ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2567