รองนายกฯ “ภูมิธรรม เวชยชัย” ลงพื้นที่กรมชลฯ บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมซ้อมแผนเผชิญเหตุ เตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เน้นสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน ตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567
วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี พร้อมนายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำ
ทั้งนี้นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน นำทีมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่พร้อมคณะรองนายกรัฐมนตรี เพื่อตรวจสอบแนวกำแพงป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ณ วัดไชยวัฒนาราม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จากนั้นร่วมรับฟังการเตรียมความพร้อมของแผนเผชิญเหตุ ณ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน อำเภอบางปะอิน
ช่วงบ่าย นายภูมิธรรม เป็นประธานเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุตั้งศูนย์ส่วนหน้า และสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน ตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 ณ ห้องประชุมแพรวา ชั้น 2 สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) อำเภอบางไทร โดยมี นายเดช เล็กวิชัย พร้อมคณะเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ตลอดจนผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ 24 หน่วยงาน นักวิชาการ คณะกรรมการลุ่มน้ำ ผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรม และเครือข่ายภาคประชาชน เข้าร่วมกว่า 200 คน
นายภูมิธรรม กล่าวว่า ตามที่ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ติดตามประเมินสภาพอากาศปีนี้ พบว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มเข้าสู่
“ในวันนี้เป็นโอกาสอันดีที่ได้
ทั้งนี้ พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้ชื่อว่าเป็น “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของประเทศ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ซึ่งมีโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อีกทั้งมีโรงงานอุตสาหกรรมรวมกันมากกว่า 2,600 โรงงาน โดยตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 5 แห่ง รวมจำนวน 595 โรงงาน และตั้งอยู่นอกเขตนิคมอุตสาหกรรมอีกกว่า 2,000 โรงงาน นอกจากนี้ ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างยังเป็นพื้นที่การเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ มีการเพาะปลูกพืชในเขตชลประทานกว่า 9.6 ล้านไร่ โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวมีมากกว่า 8 ล้านไร่ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมจะส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก
ในส่วนของกรมชลประทาน ได้เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้น โดยได้กำชับให้ทุกหน่วยงานในสังกัดปฏิบัติตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 อย่างเคร่งครัด โดยให้ทุกหน่วยงานดำเนินการติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เน้นการบริหารจัดการน้ำเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำให้ประชาชนรับรู้อย่างต่อเนื่อง เตรียมความพร้อมของบุคลากรและเครื่องจักรเครื่องมือต่างๆเพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย รวมทั้งสามารถเข้าให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างทันท่วงที เพื่อให้ฤดูฝนปีนี้เป็นปีที่สามารถลดผลกระทบกับประชาชนให้ได้มากที่สุด