ถก 6 ประเทศสมาชิก ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้ านช้าง ณ กรุงปักกิ่งราบรื่น เน้นย้ำความร่วมมือบริหารจั ดการน้ำให้ผ่านสถานการณ์โลกร้อนและความต้องการของน้ำที่เพิ่มขึ้ น เผยประเทศไทยได้ประโยชน์สุดๆ ที่มีหน่วยงานและองค์กรทั่ วโลกมานำเสนอผลงานผลวิจัยเชิงวิ ชาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสมั ครเข้าร่วมได้ ขณะที่ต่างชาติสนใจการบริ หารจัดการทรัพยากรน้ำ ภายใต้แผนแม่บทฯ 20 ปี ของไทย
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำ แห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เดินทางพร้อมคณะ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่ วมการประชุมการประชุมความร่วมมื อทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ครั้งที่ 3 และการประชุมคณะทำงานร่วมพิ เศษว่าด้วยความร่วมมือด้านทรั พยากรน้ำโขง-ล้านช้ างและคณะกรรมการร่วมคณะกรรมาธิ การแม่น้ำโขง ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับ ผู้แทนประเทศสมาชิกภายใต้ กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
การประชุมในครั้งนี้สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้ าภาพจัดการประชุม ภายใต้ธีมงานการปรับปรุงโครงสร้ างพื้นฐานด้านน้ำเพื่อรั บรองความมั่นคงทางน้ำเพื่ อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี นำเสนอผลลัพธ์ของโครงการที่ได้ รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุ นพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง และรายงานความก้าวหน้าแลกเปลี่ ยนแนวคิด รวมถึงให้ นโยบายแนวทางกรอบความร่วมมือแม่ โขง-ล้านช้าง สาขาทรัพยากรน้ำ ระหว่างประเทศสมาชิก ทั้ง 6 ประเทศ ประกอบด้วย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย
“ในที่ประชุมในครั้งนี้ไทยได้เน้ นย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมื อกันระหว่างประเทศสมาชิ กในการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน ผ่านกลไกต่างๆ ที่มีทั้งหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน องค์กรภาคประชาชน สตรีและเยาวชน เพื่อให้สามารถผ่านสถานการณ์ ของโลกที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นภัยจากน้ำท่วม ภัยแล้ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความต้องการของน้ำที่เพิ่มขึ้ น” ดร.สุรสีห์ กล่าว
เลขาธิการ สทนช. กล่าวอีกว่า ภายใต้การประชุมในครั้งนี้ ยังได้มีการประชุมเชิงวิชาการ โดยผู้แทนฝ่ายไทยจาก สทนช. ได้มีการนำเสนอแผนการบริหารจั ดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย ภายใต้แผนแม่บทบริหารจัดการทรั พยากรน้ำ 20 ปี ที่ได้มีการปรับปรุงใหม่ ที่มุ่งส่งเสริมการบรรลุเป้ าหมายที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ในวาระสหประชาชาติปี 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงกลไกความร่วมมือกับต่ างประเทศ ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขงล้ านช้าง
ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการบริ หารจัดการทรัพยากรน้ำ ของประเทศไทยในอนาคต ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่ วมประชุมเป็นอย่างมาก รวมถึงยังได้เข้าร่วมประชุมวิ สามัญครั้งที่ 1 ระหว่างคณะกรรมการภายใต้ กรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง (MRC JC) กับกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่ โขง (MLC JWG) เพื่อรับทราบผลของการศึกษาร่ วมภายใต้โครงการ “การศึกษาร่วมเรื่องรู ปแบบการเปลี่ยนแปลงสภาพอุทกวิ ทยาของลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่น้ำ โขงและกลยุทธ์การปรับตัว” ที่ต้องการให้ประเทศสมาชิ กทราบสาเหตุของการไหลของแม่น้ำ โขงที่เปลี่ยนไปจากอดีต
พร้อมให้แนวทางการดำเนิ นงานในระยะที่ 2 เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานต่ างๆ ในลุ่มน้ำโขงสามารถนำข้อมู ลมาใช้ในการเตือนภั ยและการวางแผนการใช้น้ำร่วมกั นได้ รวมทั้งได้รั บทราบนโยบายของการทำงานร่ วมระหว่าง MRC และ MLC ในโครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย นอกจากการประชุมข้างต้นแล้ว สทนช.ยังได้เข้าร่วมพิธีเปิ ดการประชุม IWRA’s XVIII World Water Congress ครั้งที่ 17 ซึ่งเป็นเวทีสภาน้ำโลกร่วมกับผู้ แทนจากประเทศต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิ ชาการจากทั่วโลกได้มี โอกาสนำเสนอความรู้ ผลงานวิจัย และงานวิจัย ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายร่วมกันในการเชื่อมโยงภายใต้แนวคิดหลั กของงาน คือ น้ำเพื่อความกลมกลืนระหว่างมนุ ษย์และธรรมชาติ
สำหรับการประชุมเชิงวิชาการในลั กษณะนี้ มีประโยชน์ต่อประเทศไทย เนื่องจากมีหน่วยงานและองค์กรทั่ วโลกมานำเสนอผลงานผลวิจัยเชิงวิ ชาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสมั ครเข้าร่วมได้ โดย IWRA เป็นองค์กรระดับโลกที่มีผู้เชี่ ยวชาญจากภาครั ฐและภาคประชาชนและมีเครือข่ายทั่ วโลกทำให้สามารถแลกเปลี่ ยนประสบการณ์และความรู้ได้ไม่ จำกัด ทั้งนี้ สทนช. จะนำไปพิจารณารายละเอียดว่ าจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ IWRA ในอนาคตหรือไม่
นอกจากนี้ ยังได้เดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์ ควบคุมการบริหารจัดการน้ำของเขื่ อนในแม่น้ำล้านช้าง (Cascade Controlling Center) ที่บริษัท Huaneng Lancang River Hydropower Inc ณ นครคุนหมิง ซึ่งใช้ในการดูแลการบริหารจั ดการน้ำของเขื่อนแบบขั้นบันไดที่ อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท พร้อมเยี่ยมชมการทำงานของเขื่อน Nuozhadu ซึ่งเป็นเขื่อนที่ผลิตกระแสไฟฟ้ าจากน้ำที่มีความสูงที่สุดของจี น ซึ่งภายในโครงการยังมีการผลิตพ่ อแม่พันธุ์ปลาท้องถิ่นเพื่อปล่ อยสู่ลำน้ำธรรมชาติ โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจั ดการน้ำของเขื่อนที่เป็นมิ ตรและปลอดภัยกับชุมชนและสิ่ งแวดล้อมมากที่สุดเท่าที่ จะทำได้
“ในโอกาสนี้ เราได้เข้าเยี่ยมชมหมู่บ้ านต้นแบบในการอยู่ร่วมกั บธรรมชาติโดยชุมชนแข็งแรง ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลจีนและ United Nations Development Programme (UNDP) ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2019-2021 ซึ่งเป็นชุมชนเข้มแข็งในการอยู่ ร่วมกับธรรมชาติ มีการนำขยะจากการเกษตรมาใช้ผลิ ตเป็นปุ๋ยและก๊าซใช้ในครัวเรือน การปลูกพืชแบบไม่ใช้สารเคมี และมีการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำเพื่ อบำบัดน้ำเสียในชุมชน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้ เหมาะสมกับชุมชนที่ตั้งอยู่ริ มแม่น้ำของประเทศไทย หากได้รับการสนับสนุนจากหน่ วยงานภาครัฐอย่างจริงจัง” เลขาธิการ สทนช. กล่าว