ด่วน!! กอนช.ประกาศอีกแล้ว 12 จังหวัดโชนใต้ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 21-24 มี.ค.65

  •  
  •  
  •  
  •  

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกปร ฉบับที่ 5/2565 ให้ประชาชนที่อยู่ในงหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง กระบี่ พังงา ตรัง ปัตตานี ยะลา และจังหวัดนราธิวาส  เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากอิทธิพลหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง ช่วงวันที่ 21 – 24 มีนาคม 2565

                                           ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
                                                               ฉบับที่ 5/2565

เรื่อง  เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากอิทธิพลหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง

ด้วยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้ติดตามสถานการณ์สภาพอากาศ และปริมาณฝนอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศแจ้งเตือนหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนในช่วงวันที่ 20 – 22 มีนาคม 2565 คาดว่าจะเคลื่อนตัวทางทิศเหนือเข้าสู่อ่าวเบงกอลตอนบน และเข้าปกคลุมบริเวณประเทศเมียนมา แม้ศูนย์กลางพายุจะไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรงแต่จะทำให้ลมที่พัดเข้าหาศูนย์กลางพายุมีกำลังแรงขึ้น และพัดปกคลุมทางด้านตะวันตกของประเทศไทยส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ (ONE MAP) ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในช่วงวันที่ 21 – 24 มีนาคม 2565 บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง กระบี่ พังงา ตรัง ปัตตานี ยะลา และจังหวัดนราธิวาส

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ

2. ปรับแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ พร้อมพิจารณาความเหมาะสมในการระบายน้ำในลำน้ำ/แม่น้ำให้สอดคล้องกับการขึ้น – ลงของระดับน้ำทะเล

3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที

4. ประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบเตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม 2565