รองนายกฯ “ประวิตร” มอบของขวัญชิ้นใหญ่ให้คนไร้ที่ดินทำกิน นำคณะลงพื้นเป็นประธานในพิธี “บจธ. มอบสิทธิในที่ดินทำกินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ตามโครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน ของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน วอนเกษตรกรที่ได้สิทธิ์ให้กัยรักษาพื้นที่เพื่อต่อยอดให้ลูกหลาน พร้อมรับปากจะเร่งพลักดันร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. …เข้า ครม.ให้เร็วที่สุด เกษตรกรผู้ร่วมโครงการสุดอัดอั้นตันใจ และดีใจจนน้ำตาคลอ ยกมือไหว้ของคุณ”บิ๊กป้อม-บจธ.” ที่ชุบมีชิวิตใหม่มีที่ทำกินใวันนี้ได้
วันที่ 27 ธันวาคม 2564 พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี “บจธ. มอบสิทธิในที่ดินทำกินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ตามโครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน ของ สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. ณ วิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากช่องโคพัฒนา ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาโดยมีเกษตรกรที่ทั้งที่ได้รับสิทธิในที่ดินแล้ว และที่อยู่ระหว่างขอความช่วยเหลือเข้าร่วมงานประมาณ 300 คน ในงานอย่างคึกคัก บางคนหน้าอิ่มเอิบดีใจที่ได้มีทำกิน บางย้อนอดีต ด้วยน้ำคลอ อัดอั้นตันใจ และดีใจที่มีชิวิตใหม่มีที่ทำกินใวันนี้ โดยมี พล.ต.อ. เฉลิมเกียรติ ศีรวรขาน ประธานกรรมการ บจธ. กล่าวรายงานความเป็นมา และนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมากล่าวต้อนรับพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ และคณะ
พลเอกประวิตร กล่าวว่า สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินภารกิจกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนในการแก้ไขปัญหาด้านที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย การป้องกันการสูญเสียสิทธิในที่ดินจากการจำนอง ขายฝาก ตลอดจนส่งเสริมการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงที่ดินทำกินเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการตามภารกิจของ บจธ. ทุกโครงการ จะน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ มาเป็นหลักในการพัฒนาที่ดินในโครงการด้วย เพื่อจะได้รักษาสิทธิในที่ดินทำกินที่รัฐบาลมอบให้ในวันนี้ ไว้ให้ลูกหลานสืยทอดต่อไป
พลเอกประวิตร ร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. …. ด้วยว่า จะเร่งผลักดันกฎหมายจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการที่ดิน ที่สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. กำลังเร่งดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังฝากถึงสมาชิกวิสาหกิจชุมชนฯ ช่องโคพัฒนา ที่ได้รับสิทธิที่ดินทำกินว่าขอให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
อย่างไรก็ตาม ขอฝากพี่น้องเกษตรกรทุกคนที่ได้ร่วมโครงการ ช่วยกัยรักษาพื้นที่เพื่อต่อยอดให้ลูกหลาน เอาไว้เป็นหลักให้ บจธ. ได้ดำเนินการต่อไป ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนจะได้มีที่อยู่อาศัยที่มากขึ้น บจธ. จะทำทุกอย่างเพื่อให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย มีที่ดินทำกินที่ยั่งยืน
นางกัลยา ค้ากระบือ เกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ในโครงการนี้ บอกด้วยน้ำเสียงที่สั่นเครื่อว่า ชีวิตเคยลำบากมาก เดิมมีอาชีพรับจ้าง ไม่เคยคิดว่าจะมีที่ทำกินเป็นของตัวเอง พอได้ร่วมโครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน ของ บจธ.ตนได้รับคัดเลือกร่วมโครงการนี้ พอได้ที่รีบมาอยู่ทันทีปลูกพืชผัก ตอนนี้มีผักทุกอย่าง ขายได้วันละ 200-300 บาท ทำให้มีชีความสุขมาก ขอขอบคุณพลเอกประวิตรและ บจธ.ที่ให้โอกาสและรับปากจะรักสมบัติไว้ถึงลูกหลาน
เช่นเดียวกับนางบุษยา ภักดิ๋ดีชาติ บอกว่า ชีวิตเคยลำบากมาก ที่ทำกินก็ถูกยึด มีหนี้สินนอกระบบจนท่วมหัว ขอขอบคุณพลเอกประวิตร และ บจธ.ที่ทำให้มีวันนี้ ทำให้ชีวิตมีความสุขมาก (รายละเอียดในคลิป)
ด้าน พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน กล่าวว่า จากปัญหาความเหลื่อมล้ำในที่ดินทํากินที่อยู่อาศัย และ ความยากจน ประชาชนที่ไม่มีที่ดินทํากิน และไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองรวมถึง ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ประกอบการจํานวนมากปิดกิจการ ทําให้ประชาชนไม่มีงานทําและขาดรายได้ในการดํารงชีพ รัฐบาลจึงได้มอบนโยบายให้ บจธ.ซึ่งป็นหน่วยงานที่มีภารกิจสำคัญของประเทศเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวทั้งการช่วยเหลือประชาชนให้มีที่ดินทํากิน และมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
ดังนั้นต้องเร่งกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน รวมทั้งป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินจากการจํานอง การขายฝาก และ การถูกบังคับคดีซึ่งจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ประชาชนจํานวนมากได้รับผลกระทบ หลายบริษัทห้างร้านเลิกจ้างพนักงาน หรือโรงงานปิดตัวลง ผู้คนเดินทางกลับภูมิลำเนาไม่มีอาชีพรองรับ บจธ. ต้องให้ความช่วยเหลือ และน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนในทุกพื้นที่ พร้อมทั้งบูรณาการร่วมกับหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้มีการใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน จนนำมาสู่ความสำเร็จ ถือเป็นของขวัญปีใหม่ของรัฐบาลในปี2565ที่ใกล้จะถึงนี้
บจธ. จึงได้จัดพิธี “บจธ. มอบสิทธิในที่ดินทำกินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาเกษตรกร ผู้ยากจน และพี่น้องที่ว่างงานของรัฐบาล และเพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน ซึ่งขณะนี้ บจธ. อยู่ระหว่างการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนพ.ศ. …. ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ภายในเดือนมกราคม 2565 นี้
ขณะที่นายกุลพัชร ภูมิใจอวด ผู้อำนายการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บจธ. ได้มุ่งมั่น ลดความเหลื่อมล้ำเรื่องที่ดินทำกิน โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางให้เกษตรกรในการทำการเกษตร เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บจธ. มีภารกิจที่สำคัญในการจัดหาและพัฒนาที่ดิน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพี่น้องเกษตรกรและชุมชน ให้พึ่งพาตัวเองได้ ซึ่งปัจจุบัน บจธ. ได้ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ไปแล้ว 11 พื้นที่ และสหกรณ์การเกษตร 1 พื้นที่ ครอบคลุมทั้ง 5 ภาค (ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้) เนื้อที่รวม 1,234 – 2 -17.7 ไร่ จำนวน 482 ครัวเรือน และแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินไปแล้ว 387 ราย โครงการนำร่องธนาคารที่ดินในพื้นที่นำร่อง 5 ชุมชน เนื้อที่ 717 ไร่เศษ จำนวนเกษตรกร 500 ครัวเรือน โดยทุกชุมชนมีผลการดำเนินงานเป็นที่น่าชื่นชมมาก เกษตรกรทุกพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รายละเอียดโครงการประกอบไปด้วย
1. โครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน เป็นการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกร ที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ให้มีที่ดินทำกินและได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืน โดยให้ เช่า หรือเช่าซื้อระยะยาวไม่เกิน 30 ปี ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ สนับสนุนการจัดทำผังแปลงที่ดินตามหลักภูมิสถาปัตย์และโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงสินเชื่อเพื่อพัฒนาที่ดิน และที่อยู่อาศัย ปัจจุบัน บจธ. ได้ให้การสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนไปแล้ว 11กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ 1 สหกรณ์การเกษตร ใน 5ภูมิภาคดังกล่าว
2. โครงการแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินของเกษตรกรและผู้ยากจน บจธ. ได้ช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาจะสูญเสียสิทธิในที่ดิน หรือสูญเสียสิทธิไปแล้ว โดยการสนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรเพื่อนำไป
ไถ่ถอนที่ดินจากสถาบันการเงินและเจ้าหนี้นอกระบบ จากการจำนอง ขายฝาก และชำระหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อคงสิทธิในที่ดิน รวมไปถึงจัดซื้อที่ดินของลูกหนี้ที่ถูกขายทอดตลาด หรือหลุดขายฝากไปแล้ว ในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท เพื่อคงสิทธิให้เกษตรกรและผู้ยากจนได้กลับมามีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยในที่ดินของตนเองต่อไป และให้สินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมแก่เกษตรกรเพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพ ปัจจุบัน บจธ.
ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรแล้ว 387 ราย รวมเนื้อที่ทั้งหมด 2,319-0-55.9 ไร่
3. โครงการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาด้านที่ดินจากการดำเนินนโยบายของรัฐ มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และผู้ยากจน ที่ประสบปัญหาด้านที่ดินจากการดำเนินนโยบายของรัฐ เช่น โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC และทางหลวงสายพิเศษ บางปะอิน–นครราชสีมา เป็นต้น บจธ. จะสนับสนุนสินเชื่อสำหรับจัดซื้อที่ดินให้เกษตรกร ผู้ยากจนมีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ในรูปแบบแปลงรวมถือกรรมสิทธิ์ร่วม และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ในการทำเกษตรกรรม เพื่อให้สามารถดำรงชีพได้อย่างมั่นคง ปัจจุบันมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนไปแล้ว 2 กลุ่ม พื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเกษตรกรได้รับความช่วยเหลือ 53 ครัวเรือน รวมเนื้อที่ทั้งหมด 103-2-51.3 ไร่
4.โครงการนำร่องธนาคารที่ดินในพื้นที่นำร่อง 5 ชุมชน(ดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน) บจธ. ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนที่ไม่มีที่ดินทำกินหรือมีไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพในพื้นที่เป้าหมายให้มีที่ดินทำกินและอยู่อาศัยตามรูปแบบที่ บจธ. กำหนดซึ่ง บจธ. ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน จำนวน 500 ครัวเรือน โดยได้จัดซื้อที่ดินตามแผนโครงการดังกล่าว เป็นจำนวนที่ดิน 741-3-91.5 ไร่
เกษตรกรและผู้ยากจนที่ประสบปัญหาเรื่องที่ดินทำกินสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ กรณีขอรับความช่วยเหลือในการกระจายการถือครองที่ดิน ติดต่อ กองบริหารจัดการที่ดิน โทร 0 2278 1648 ต่อ 501, 511 กรณีขอรับความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิหรือจะสูญเสียสิทธิในที่ดิน ติดต่อ กองบริหารสินเชื่อ โทร 0 2278 1648 ต่อ 601, 602, 610 หรือสอบถามพูดคุยได้ที่ inbox เว็บไซต์ https://www.labai.or.th/
สำหรับพื้นที่วิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากช่องโคพัฒนา ได้รับการสนับสนุนที่ดินทำกินจาก บจธ. เนื้อที่รวม 150 ไร่เศษ สมาชิก 45 ครัวเรือน มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้เต็มศักยภาพ มีผลผลิตสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน จนเป็นพื้นที่ต้นแบบ หรือตัวอย่างความสำเร็จ (Best Practice) ของ บจธ. ที่จังหวัดนครราชสีมาพร้อมจะนำไปขยายผลแก้ปัญหาที่ดินทำกินในพื้นที่ 32 อำเภอต่อไป