อธิการบดี มก.ปลื้ม บริการฉีดวัคซีน ที่ KU สู้ COVID-19 ราบรื่น สะดวก รวดเร็ว คาดเข็มสองเริ่ม ก.ย.สิ้นสุดสิ้นปีพอดี

  •  
  •  
  •  
  •  

                                                 ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรฯ สุดปลื้มเห็นสีสันและบรรยากาศการฉีดวัคซีป้องกันโควิด -19 วันที่สอง ณ  ศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 ที่ มก.ราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เบ็ดเสร็จในจุดเดียว ด้วยระบบการฉีดภาคสนามที่พัฒนาโดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คาดใช้เวลาทั้งหมดอย่างน้อย 7 เดือน โดสที่ 2 จะเริ่มในเดือนกันยายน-ธันวาคม 2564 พอดี

     ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)กล่าวว่า วันที่ 9 มิถุนายน 2564 เป็นวันที่สองของการฉีดวัคซีน Astrazenaca ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เปิดฉีดวัคซีน เต็มรูปแบบ ในนามศูนย์ฉีดวัคซีน KU สู้ COVID 19 ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยการสนับสนุนของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีเป้าหมายการฉีด มากกว่า 120,000 โดส ประมาณการในเดือนมิถุนายน จะมีวัคซีนจำนวน 40,000 -50,000 โดส ทั้งนี้ เพื่อช่วยรัฐในการระดมฉีดวัคซีนในกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่โควิด 19 ระบาดมากของประเทศไทยในปัจจุบัน

    สำหรับวันนี้เริ่มรอบการฉีดวัคซีนเวลา 8.00 น และจะเรียกรอบต่อไปทุกๆ15 นาที เสร็จสิ้นที่เวลาประมาณ 17.00 น. รวมฉีดได้ทั้งหมด 4,691 คน โดยบรรยากาศทั่วไปเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สะดวก รวดเร็ว เบ็ดเสร็จในจุดเดียว ด้วยระบบการฉีดวัคซีนภาคสนามที่พัฒนาโดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ Application CRA CARE ที่นำมาใช้เป็นรูปแบบใหม่ที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ร่วมกันพัฒนากับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) โดยใช้ Tablet และ Card Reader ในการลงทะเบียนและบริหารจัดการข้อมูลและให้คนรับวัคซีนนั่งอยู่กับที่ตั้งแต่เริ่มต้นลงทะเบียนด้วยบัตรประชาชน วัดความดัน ฉีดวัคซีน และเฝ้าระวังอาการหลังฉีดจนเสร็จโดยไม่ต้องเดินไปตามจุดต่าง ๆ โดยเจ้าหน้าที่ พยาบาล และแพทย์จะเป็นผู้ที่เดินให้บริการแก่ผู้ที่มารับวัคซีนเอง ซึ่งวิธีดังกล่าวนี้จะช่วยประหยัดทรัพยากรบุคคล และแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่

     ” มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บริการการฉีดวัคซีนในลักษณะ การแบบวัคซีนกลุ่ม GroupVaccination โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในหน่วยงานกระทรวง อว. เช่น วช GISDA สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันสารสนเทศน้ำ และ หน่วยงานเครือข่าย เช่น สำนักงบประมาณ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมสรรพากร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมชลประทาน ประชาชน และ ชุมชนในรอบเขตจตุจักร บางเขน หลักสี่ เป็นต้น นิสิต และ นักศึกษา เกือบ 10 สถาบัน ได้แก่ เกษตรศาสตร์ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ศรีปทุม ธุรกิจบัณฑิตย์ เกริก ราชภัฏพระนคร ปัญญาภิวัฒน์ และ สุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น” ดร.จงรัก กล่าว

    อธิการบดี มก.กล่าวอีกว่า การทำงานซึ่งต้องได้รับพลังความร่วมมือ จากจิตอาสา ทุกภาคส่วนและ การสนับสนุนทั้งอาหาร เครื่องดื่ม อุปกรณ์การแพทย์ จากการเป็นศูนย์ฉีดที่อย่างน้อย 7 เดือน โดยในโดสที่ 1 เดือน มิย.-กย. และ โดสที่ 2 กย.-ธค นั้น และใช้งบประมาณ สนับสนุน มีทีมจิตอาสาจำนวนมากและมีประสิทธิภาพ ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากแพทย์ พยาบาล นิสิตเก่า บุคลากร นิสิต และประชาชนโดยทั่วไป จึงขอเชิญชวน ฉีดวัคซีนกันนะครับ อยากเห็นคนไทย กลับมามีรอยยิ้ม ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข 

     ” อยากเห็นนิสิต นักศึกษาและ นักเรียนเป็นเยาวชน ของชาติที่ได้รับการพัฒนาทักษะ ความรู้ เพื่อเป็น คนรุ่นใหม่ที่สร้างชาติต่อไป อยากเห็น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วยสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับ ประเทศไทยในทุกมิติ อยากเห็น เกษตรศาสตร์ ข่วยให้คนไทยมีใจเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน และ อยู่ในสังคมไทยได้อย่างกลมกลืนครับ” อธิการบดี มก.กล่าว

ข่าวโดย…ผกามาศ ธนพัฒนพงศ์