ตั้งสภาเกษตรอินทรีย์ พีจีเอส.ครั้งแรกในไทย กำกับ-กำหนดกรอบ ทำเกษตรไร้สารพิษแบบมีส่วนร่วม”

  •  
  •  
  •  
  •  

                                                  อลงกรณ์ พลบุตร

“อลงกรณ์” เผยความคืบหน้าจัดตั้งสภาเกษตรอินทรีย์ พีจีเอส.เป็นครั้งแรกในประเทศไทย หลังจากคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 13 พ.ค.64 ที่ผ่านมา ชี้มีอำนาจหน้าที่หลัก กําหนดกรอบเกษตรอินทรีย์ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม ระบุมีคณะกรรมการบริหารจากภาคส่วนต่างๆ 20 คน

     วันที่ 27 พฤษภาคม 2564  นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน เปิดเผยถึงผลการประชุม ครั้งที่ 3/2564 ผ่านระบบZOOM ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาในวาระสำคัญหลายเรื่องด้วยกัน อาทิ ตั้งสถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ,การติดตามตามความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง การดำเนินงานของคณะทำงานด้านเกษตรอินทรีย์ด้านวนเกษตรและเกษตรธรรมชาติ ,ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรผสมผสาน,ความก้าวหน้าโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ , และนิยามใหม่ “วนเกษตร”  เป็นต้น เพื่อการพัฒนาภาคการเกษตรไทยตาม “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ

สำหรับความคืบหน้าการตั้งสถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หลังจากที่คณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 13 พ.ค.64 ที่ผ่านมา ขณะนี้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบให้สํานักพัฒนาระบบบริหาร สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรฯพิจารณาดำเนินการต่อไปแล้ว และอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของสำนักพัฒนาระบบบริหาร ก่อนการดำเนินการต่อไป หารือถึงความก้าวหน้าการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารสภาเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส แห่งประเทศไทย 

     ส่วนองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของสถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน กรรมการและเลขานุการ 1 คน โดยการคัดเลือกจากคณะกรรมการบริหารสภาฯ และกรรมการ จำนวน 20 คน แบ่งเป็น ผู้แทนองค์กรจัดระบบ (3 แห่ง) เกษตรกรเกษตรอินทรีย์ PGS 4 ภาค (8 คน), ผู้แทนสถาบันการศึกษา(4 แห่ง), ผู้ประกอบการด้านการผลิตเกษตรอินทรีย์ และจําหน่ายเกษตรอินทรีย์ PGS 4 แห่ง, เกษตรกรรุ่นใหม่ประเทศไทย (1 คน), สมาคม ผู้บริโภคอินทรีย์ไทย 1 แห่ง และผู้แทนภาครัฐ (1 แห่ง) 

     อย่างไรก็ตาม อำนาจหน้าที่หลัก ได้แก่ การกําหนดกรอบเกษตรอินทรีย์ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม จัดระบบการกำกับดูแลและติดตาม การเทียบเคียง การยอมรับกระบวนการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม รวมทั้งสื่อสารประชาสัมพันธ์ จัดทําฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์ระบบการรับรอง แบบมีส่วนร่วม  

    ในส่วนของโครงพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง  ภายใต้นโยบายการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการของสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่ 11 การพัฒนาเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืน,.ความก้าวหน้าโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ขณะนี้มีผลดำเนินโครงการไปแล้ว โดยมีเป้าหมาย 4,009 ตำบล 648 อำเภอ 75 จังหวัด จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 29,706 ราย และมีจ้างงานจำนวน 14,076 ราย

      นอกจากนี้หารือถึงคู่มือสำหรับประชาชนในการปฏิบัติตามข้อตกลงบันทึกความเข้าใจการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยที่ประชุมมอบหมายให้จัดทำคู่มือสำหรับประชาชนในเรื่องการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่,หารือถึงนิยามใหม่ “วนเกษตร” ซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนแล้วจะทำให้การพัฒนาวนเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นหลังจากติดกรอบนิยามเดิมมาเป็นเวลานานหลายปีเปนต้น

สำหรับการประชุมในครั้งนี้มีผู้ร่วมประชุมประกอบด้วยนายวิชัย ไตรสุรัตน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรฯ, นายมนัส กำเนิดมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ, นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานอนุกรรมการเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรผสมผสาน ผู้แทนสภาเกษตรกรแห่งชาติ , นายปริญญา พรศิริชัยวัฒนา ประธานอนุกรรมการเกษตรอินทรีย์ ประธานชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย คณะอนุกรรมการวนเกษตรและเกษตรธรรมชาติตัวแทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และภาคเกษตรกร ร่วมหารือในประเด็นสำคัญๆดังกล่าว