ดลมนัส กาเจ
“จากการสอบถามเกษตรกรถึงเหตุผลที่ต้องเผาตอซัง เขาให้เหตุผลในด้านความสะดวก และไม่คุ้มกับการที่จะทำเกษตรแบบไม่เผาโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย เพราะไถ่กลบทำให้ซากของฟางถูกบดไม่ละเอียดจับเป็นก้อนในนา ยากต่อการที่หว่านเมล็ดข้าวในฤดูการต่อไป การอัดก้อนฟางต้องจ้างคนอื่น และมีรายได้จริงเพียงก้อนละ 3 บาทเท่านั้น”
แม้ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้พยามอย่างเต็มที่ในการรณรงค์ให้เกษตรกรหยุดการเผาวัสดุเหลือใช้ในภาคการเกษตรทั้งเผาตอซัง เผาใบอ้อย ละไร่ข้าวโพดและอื่น ภายใต้โครงการ “เกษตรปลอดการเผา” เนื่องจากพบว่า การเผาในภาคการเกษตรนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการเกิดปัญฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ในประเทศไทยมาจากการเผาในที่โล่ง เป็นแหล่งกำเนิดของ PM2.5 มากที่สุดกว่า 54% รวมถึงการเผาในพื้นที่ทางการเกษตรด้วย ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนตยไทยในทุกวันนี้
สำหรับแผนงาน/โครงการเพื่อสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรนั้น เน้น 1.โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรมีกิจกรรม คือ ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร สร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาเพื่อสร้างกลไกการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร ขณะที่ของกรมพัฒนาที่ดินดำเนินโครงการส่งเสริมการไถกลบและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อป้องกันหมอกควันในพื้นที่เกษตรภาคเหนือ มี 2 กิจกรรม คือ การไถกลบตอซัง และการผลิตปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อให้การดำเนินโครงบรรลุตามเป้าหมาย
ตามข้อมูล ระบุว่า เฉพาะในนาข้าวการไถกลบตอซัง สามารถลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยกว่า 85 ล้านบาท โดยประมาณ (มูลค่า NPK เท่ากับ 184.38 บาท/ไร่) , ผลิตปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ ให้เกษตรกรได้ใช้ในไร่นาตนเอง และจำหน่ายราคา 4 บาท/กิโลกรัม เพิ่มอินทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์ให้กับดิน ทำให้ลดการใช้สารเคมีทันทีอย่างน้อยไร่ละ 400 บาท ฟางสามารถมาอัดก้อนขายได้ก้อนละ 25 บาท ที่นา 1 ไร่ได้ 50 ก้อนได้เงินเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง
นอกจากนี้ยังมีภาคเอกที่มาสนับสนุนและส่งเสริมโครงการนี้ด้วยที่เห็นชัดเจนคือบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ร่วมกับกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน และกรมวิชาการเกษตร เพื่อให้ความรู้และสนับสนุนการทำนาข้าวด้วยเครื่องจักรกลแบบครบวงจร รวมถึงธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ภายใต้โครงการ Zero Burn เกษตรปลอดการเผา รวมถึงการส่งเสริมไม่ให้เผาอ้อยก่อนตัด และแนะนำวิธีการสางอ้อยด้วยเครื่องจักของสยามคูโบต้า แล้วนำไปอ้อยมาอัดก้อยสามารถขายและสร้างได้ให้กับเกษตรกร เนื่องจากปัจจุบันมีโรงงานไฟฟ้าพลังงานสะอาด รับซื้อใบอ้อย ในราคาตันละ 600 บาท ใบอ้อยสับ ราคาตันละ 750 บาท และชานอ้อย ราคาตันละ 750 บาท เป็นต้น แถมยังให้ระบบนิเวศน์ไม่เสียหายอีกด้วย
ล่าสุดนายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ออกมากำชับว่า ให้ทุกจังหวัดควบคุม กำกับดูแลพื้นที่การเกษตรอย่างเข้มงวด และกำหนดมาตรการดำเนินการ ในปี 2564 ประกอบด้วย
1.การสร้างการรับรู้ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรงดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยง, 2.การป้องกันและเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง โดยจัดตั้งชุดปฏิบัติการประจำพื้นที่ (ระดับอำเภอ) บูรณาการกับหน่วยงาน,3.ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เฝ้าระวัง ออกตรวจ ป้องปราม ระงับ ยับยั้ง แจ้งเหตุ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดการเผา, 4.ในพื้นที่เกษตรกรรมและ ระดมสรรพกำลังเครือข่ายอาสาสมัครเกษตร เตรียมความพร้อมเครื่องมือ เพื่อดำเนินการ,
5.เฝ้าระวัง และป้องกันการลักลอบเผาในพื้นที่เกษตรกรรม,และ 6.การส่งเสริมและสร้างเครือข่ายในการงดเผาในพื้นที่เกษตรกรรม โดยการส่งเสริมการจัดการเศษวัสดุทางการเกษตรโดยไม่เผา โดยสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุภาคการเกษตร เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำเชื้อเพลิงในครัวเรือน ธนาคารใบไม้ส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการไถกลบตอซังหรือเทคโนโลยีอื่นที่เหมาะสมแทนการเผารวมถึงการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในพื้นที่สูง
ทั้งนี้แนวทางการส่งเสริมจะต้องเน้นให้เกษตรกร เกิดความตระหนัก และเกิดความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกันเฝ้าระวัง และสร้างเครือข่ายเข้มแข็ง ให้เกษตรกรเห็นถึงประโยชน์ที่ได้จากการหยุดเผาด้วยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษวัสดุทางการเกษตร เป็นการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรอย่างยั่งยืนอีกทางหนึ่งนั่นเอ
กระนั้นในความเป็นจริงเกษตรกรก็ยังนิยมเกษตรการเผาเหมือนเดิม ซึ่งจากการสอบถามเกษตรกรถึงต้องเผาตอซัง เขาให้เหตุผลในด้านความสะดวก และไม่คุ้มกับการที่จะทำเกษตรแบบไม่เผาโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ให้เหตุผลง่ายๆการไถ่กลบทำให้ซากของฟางถูกบดไม่ละเอียดจับเป็นก้อนในนา ยากต่อการที่หว่านเมล็ดข้าวในฤดูการต่อไปโดยเฉพาะคนที่ทำนาต่อเนื่องแบบไม่หยุดพัก
ส่วนการอัดก้อนฟางต้องจ้างคนอื่น หากมีนาแปลงน้อยผู้รับจ้างไม่ยอมมา เวลาอัดก้อนแล้วมีรายได้จริงเพียงก้อนละ 3 บาทเท่านั้น แถมหาคนซื้อยากด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องทำนาและไร่อ้อยที่จะต้องนิยมการเผาแบบเดิมนั่นเอง (ดูในคลิป)