ระดมเครื่องมือเต็มที่สูบน้ำจากเจ้าพระยาช่วยภัยแล้ง 5 จังหวัดภาคกลาง (มีคลิป)

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

       หากย้อนดูข้อมูลในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา พบว่าในปีนี้ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งหนักสุดอีกปีหนึ่ง เนื่องเกิดจากปริมาณน้ำมีน้อยต่อเนื่องกันมาติดต่อกัน 2 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 และ ปี 2563 โดยเฉพาะในปี 2563 ถือว่ามีความแห้งแล้งในรอบ 40 ปี ที่รองจากปี  2522 และต่อเนื่องมาปี 2564 ทั้งในภาคอีสาน ภาคเหนือ แม้แต่ภาคกลางโดยเฉพาะในเขตชลประทานตามลุ่มเจ้าพระยาปริมาณมีน้ำน้อยมาก

     ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล , เขื่อนสิริกิติ์, เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำน้อยนั่นเอง จึงจำเป็นต้องงดน้ำสำหรับนาปี หรือการทำนารอบสอง เนื่องจากต้องสำรองน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ จะปล่อยน้ำสำหรับการเกษตรบ้างที่เป็นไม้ผลเท่านั้น

                                                          สุพิศ พิทักษ์ธรรม 

   ล่าสุด เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีโอกาสติดตาม นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน ซึ่งลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้า และประเมินผลการปฏิบัติงานของเครื่องจักรกล ที่ส่งไปปฏิบัติกาช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งตามลุ่มน้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของสำนักชลประทานที่ 12 ชัยนาท

      นายสุพิศ บอกว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง การกำจัดวัชพืชในแม่น้ำ ลำคลอง เป็นหน้าที่โดยตรงสำนักงานเครื่องจักรกล กรมชลประทาน ที่ต้องส่งเครื่องจักรกล ยานพาหนะ อุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้การปฏิบัติงานของสำนักบรรลุภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อเป็นการติดตามในการปฏิบัติงานช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ชลประทานตามลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่สบปัญหาภัยแล้งทั้งที่ จ.ชัยนาท และนครสวรรค์รวมถึงการติดตามในการกำจัดผักตบชวาในแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย

                                                      กฤษฎา ศรีเพิ่มพันธ์

      ด้าน นายกฤษฎา ศรีเพิ่มพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 กล่าวระหว่างลงพื้นที่ติดตามในการสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาสู่คลองชัยนาท-ป่าสักฯ ที่ อ.มโนรมย์ จ.ชัดนาทว่า ปีนี้น้ำในแม่เจ้าพระยามีน้อย และต่ำกว่าประตูระบายน้ำมโนรมย์ จึงต้องใช้เครื่องสูบน้ำเพื่อส่งน้ำไปคลองชัยนาท-ป่าสัก ผ่านระยะทาง ทั้งสิ้น 132 กิโลเมตรจาก อ.โนรมย์จนถึงแม่น้ำป่าสักที่ อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อช่วยประชาชนและเกษตรกรให้มีน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ ในพื้นที่ 5 จังหวัดคือชัยนาท นครสวรรค์ สิงห์บุรี อ่างทอง และปทุมธานี แต่ช่วงนี้ขอสงวนภาคการเกษตรก่อน

      ในโอกาสนี้ได้มีเวลาแวะพูดคุยถึงหลักเกรณ์ในการที่จะตัดสินใจที่จะปล่อยน้ำไปช่วยเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบว่ายัดหลักการอะไรเป็นที่ตั้ง กับ ผอ.กฤษฎา ด้วย (รายละเอียดในคลิป)