มกอช.ชงเข้าที่ประชุมระดับโลก ให้ติดตาม-เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ตลอดห่วงโซ่อาหาร ให้ใช้ยาอย่างรับผิดชอบ

  •  
  •  
  •  
  •  

มกอช.สบช่อง เสนอให้พิจารณา ทบทวนร่างเอกสาร หลักปฏิบัติที่ดีในการลดและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพที่มาจากอาหาร เน้นบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพตลอดห่วงโซ่อาหาร ให้มีการใช้ยาอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล เข้าที่ประชุมระดับโลก ” CODEX TFAMR ครั้งที่ 7 ” ่ที่เกาหลี เน้นประเทศที่ยังขาดมาตรการการจัดการด้านการ เผยประเทศสมาชิกคให้ความสำคัญในการจัดทำข้อมูลการใช้ยาต้านจุลชีพในภาคการผลิตสินค้าเกษตรขั้นต้น เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาการดื้อยา ต้านจุลชีพในภาพรวมของโลกอย่างมีประสิทธิภาพ

       ในระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม 2562 ทางนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. ร่วมการประชุม The Ad Hoc Codex Intergovernmental Task Force on Antimicrobial resistance ครั้งที่ 7  ณ เมือง Pyeongchang สาธารณรัฐเกาหลี โดยมี ดร. จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการ มกอช. หัวหน้าคณะฝ่ายไทย นำ ดร.มินตรา ลักขณา นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ ดร.สคราญมณี กระจ่างวงษ์ นายสัตวแพทย์ชำนาญการ มกอช. พร้อมด้วย ผู้แทนจากกรมประมง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมการประชุมด้วย

        ดร. จูอะดี  กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ ทาง มกอช. ได้ร่วมให้ข้อคิดเห็นในการพิจารณา ทบทวนร่างเอกสาร หลักปฏิบัติที่ดีในการลดและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพที่มาจากอาหาร  ซึ่งระบุบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพตลอดห่วงโซ่อาหาร ให้มีการใช้ยาอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล และให้ข้อคิดเห็นในการจัดทำร่างเอกสารแนวทางการบูรณาการการติดตาม และเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่มาจากอาหาร  ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับขั้นตอน การปฎิบัติที่จะนำไปสู่การติดตามและเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่มาจากอาหาร โดยมุ่งเน้นให้เอกสารมีเนื้อหายืดหยุ่นและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ในแต่ละประเทศสมาชิกที่มีศักยภาพแตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพตลอดห่วงโซ่อาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ คณะ TFAMR กำหนดกรอบการทำงานเพื่อจัดทำเอกสารทั้ง 2 ฉบับให้แล้วเสร็จไม่เกินปี พ.ศ. 2563

         นอกจากนี้ยังได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ในที่ประชุม TFAMR ต่อการดำเนินงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) เกี่ยวกับการป้องกันและจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพว่า องค์กรระหว่างประเทศควรสนับสนุนการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในภาพรวม โดยเฉพาะประเทศที่ยังขาดมาตรการหรือแผนการจัดการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ

      ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกควรให้ความสำคัญในการจัดทำข้อมูลการใช้ยาต้านจุลชีพในภาคการผลิตสินค้าเกษตรขั้นต้น เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาการดื้อยา ต้านจุลชีพในภาพรวมของโลกอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อแผนงานระดับโลกด้านการจัดการการดื้อยา หรือ Global Action Plan on Antimicrobial Resistance และเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางสุขภาพทั้งมนุษย์และสัตว์อย่างยั่งยืน