ชี้ 2 แนวทางแก้ปัญหาผู้กระทบจากเขื่อนราษีไศล

  •  
  •  
  •  
  •  

            ชี้ 2 แนวทางแก้ปัญหาผู้กระทบจากเขื่อนราษีไศล

 

“วิวัฒน์” ชี้ 2 แนวทางที่จะแก้ปัญหาที่เกษตรกรกระทบจากการสร้างเขื่อนราษีไศล ต้องดูแลจ่ายค่าชดเชยความเสียหายให้แก่เกษตรกร – การกักเก็บน้ำในพื้นที่ของเกษตรกร โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่ทำแผนฟื้นฟูแก้ไขปัญหา ด้วยการนำเอาวิถีภูมิปัญญาชาวบ้านร่วมกับความรู้ด้านวิศวกรรมชลประทานมาร่วมกัน แนะชาวบ้านต้องมีส่วนร่วมด้วย

             นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนราษีไศล และเขื่อนหัวนา ณ กุดอีเฒ่า บ้านร่องอโศก ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ว่า การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ เพื่อมาพบปะเกษตรกรและหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากเขื่อนราษีไศล และเขื่อนหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้พยายามหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนที่ได้รับผลกระทบมาโดยตลอด

ภาพจาก:siamfishing.com

           ภายหลังที่ได้รับฟังปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่ พบว่าควรมีแนวทางให้ความช่วยเหลือใน 2 แนวทาง คือ (1) เรื่องการดูแลจ่ายค่าชดเชยความเสียหายให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ ให้กรมชลประทาน ประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดติดตามให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ (2) เรื่องการกักเก็บน้ำในพื้นที่ของเกษตรกร โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่ทำแผนฟื้นฟูแก้ไขปัญหา โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐคอยให้คำแนะนำ ด้วยการนำเอาวิถีภูมิปัญญาชาวบ้านร่วมกับความรู้ด้านวิศวกรรมชลประทานมาร่วมกันแก้ไขปัญหา พลิกฟื้นชีวิตดั้งเดิมโดยธรรมชาติ อย่างไม่ทำลายธรรมชาติ สิ่งสำคัญที่สุด คือ ชาวบ้านต้องมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจโดยที่รัฐมีหน้าที่เป็นสถาปนิกในการให้คำปรึกษา 

[adrotate banner=”3″]

        “หากชาวบ้านในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีสังคมที่เอื้อเฟื้อกัน โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา เชื่อมั่นว่า จากพื้นที่ที่มีน้ำมากก็จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ อีกทั้งจังหวัดที่อยู่ใกล้เขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา ก็จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่พื้นที่อื่นๆที่ประสบปัญหาเดียวกันต่อไป” นายวิวัฒน์กล่าว

         หลังจากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางไปยังศูนย์เรียนรู้พอเพียงชุมชนเครือข่ายทามมูน ต.หนองแค อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ เพื่อร่วมเรียนรู้งานฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ป่าทาม แม่น้ำมูล การพัฒนาอาชีพและการพัฒนาเกษตรยุค 4.0  พร้อมทั้งรับฟังปัญหาและปรึกษาหารือแนวทางแก้ปัญหาผลกระทบจากเขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา และเขื่อนลำน้ำชี ครอบคลุมพื้นที่ผลกระทบและผู้ได้รับผลกระทบจริงทุกภาคส่วน