เรียบเรียงโดย…เกษตรทำกิน
ครบบรรจบ 365 วันพอดีของปีมะโรง 2567 หรือปี “งูใหญ่” คนในแวดวงภาคการเกษตรได้ทราบข่าวร้าย ข่าวคละกันไปใน 2567 ที่ผ่านมา ซึ่ง “เกษตรทำกิน” ได้เสนอมาต่อเนื่องตลอดทั้งปีพอสรุปได้ว่า ข่าวเด่นในแวดวงการเกษตรในประเทศไทย 10 อันดับดังนี้
1.กระทรวงเกษตรฯประกาศสงครามกับ “ปลาหมอคางดำ
หลังจากที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งประสบปัญหาอย่างหนักกับ “ปลาหมอคางดำ” ที่เล็ดลอดเข้าไปในบ่อเลี้ยงกุ้ง โดเฉพาะที่พบมากที่สุดใน จ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ลามถึงเขตบางขุนเทียน ที่เขาทำลายกุ้งที่เกษตรเลี้ยงสร้างความเสียหายเป็นอย่างหนัก เนื่องจากปลาชนิดนี้สามารถสร้างผลกระทบมากมายตั้งแต่ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม เพราะปลาหมอคางดำสามารถกินได้ทุกอย่าง ตั้งแต่ซากพืชและสัตว์ทุกชนิด ซึ่งอาจรวมทั้งไข่และตัวอ่อนสัตว์น้ำท้องถิ่นที่อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติถูกกินเข้าไปด้วย
ในที่สุดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ กรมประมง เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่การแพร่ระบาดปลาหมอสีคางดำหรือปลาหมอคางดำ พ.ศ. 2567 อาศัยอำนาจตามความในข้อ 1 ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามมีไว้ในครอบครอง พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2567 พร้อมกับกำหนดมาตรการในการปราบปลาหมดคางดำให้สิ้น
วันที่1 สิงหาคม 2567 เป็นวันแรกของมาตรการกำจัดปลาหมอคางดำ ที่รัฐบาลเห็นชอบต่อหลักการฯ สิ่งที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถทำได้เลยก็คือ การเปิดสงครามกับปลาหมอคางดำ หลังจากที่ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน 16 จังหวัดที่พบการระบาดของปลาหมอคาง 7 มาตรการ
การระบาดของปลาหมอคางดำกำลังสร้างวิกฤตใต้ผืนน้ำ ด้วยนิสัยที่ปลาชนิดนี้กินทุกอย่างและการอยู่รวมกันเป็นฝูง จะค่อยๆ ทำลายสมดุลของระบบนิเวศอย่างรุนแรง ชาวประมงรายงานการลดลงของปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กในพื้นที่ที่ถูกรุกราน ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงภาคประมงและเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลา สะท้อนถึงภัยคุกคามระยะยาวต่อความมั่นคงทางอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพของแหล่งน้ำไทย
2.ราคายางพุ่งสูงสุดในรอบ 12 ปี
หลังจากที่เกษตรกรชาวสวนยางพาราซบเซร้ามานานกว่า 1 ทศวรรษเกิดจากราคายางพาราตกต่ำกระทั่งช่วงไตรมาศแรกต่อเนื่องไตรมาสสองของปี 2567 ราคายางพาราพุ่งขึ้นต่อเนื่อง จนในวันที่ 27 เมษายน 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขณะนั้น ได้โพสต์ผ่านทางเฟซบุ๊ก ว่า ข่าวดีสำหรับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพารา ความฝันที่ภาพของราคายางแตะกิโลกรัมละ 100 บาท คงจะได้เห็นเร็วๆ นี้ โดยวันนี้ได้รับรายงานว่า ราคายาง EUDR ประเทศไทย สำหรับราคายางแผ่นรมควันชั้น3 ราคาปิดที่ 94 บาท ขณะที่ราคายางก้อนถ้วย อยู่ที่ 67 บาท ถือเป็นข่าวดีสำหรับเกษตรกรชาวสวนยางพารา ที่กำลังจะเข้าสู่ฤดูกรีดยาง
ต่อมาที่ 30 พ.ค.67 น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น)กล่าวว่า การประมูลยางแผ่นรมควัน RSS (EUDR) ชั้น 3 ได้ราคาสูงสุด 96.66 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาสูงสุดในรอบ 12 ปี นับตั้งแต่ปี 2555
3.น้ำท่วมปี 2567 มูลค่าการเสียหาย 3.6 หมื่นล้าน
สถานการณ์น้ำท่วมในปี 2567 ถือว่าท่วมหนักสุดในรอบหลายปีสร้างความหายอย่างหนักในเบื้องต้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ประเมินผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมปี 2567 มีความเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่าประมาณ 36,929 ล้านบาท หรืออยู่ในกรอบ 3-4 หมื่นล้านบาท โดยมีสมมติฐานว่าสถานการณ์จะคลี่คลายภายใน 15 วัน
ส่วนความเสียหายเชิงพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 3.6 ล้านไร่ที่ได้รับผลกระทบ แบ่งเป็น พื้นที่การเกษตร 1.3 ล้านไร่ และพื้นที่อื่นๆ 2.3 ล้านไร่
สิ่งที่กระทบมากที่สุดคือ เรื่องการการเกษตร และผลผลิต และ สินค้า จนช่วงสุดท้ายสภานการณ์น้ำท่วมปี 2567 พบจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเชียงราย และจากข้อมูล ณ 11 พ.ย. 67 มีพื้นที่ความเสียหาย 3.54 ล้านไร่
ต่อมาเกิดน้ำท่วมภาคใต้อีกล่าสุดวันที่ 18 ธ.ค.2567 นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บอกว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับรายงานพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา สตูล ตรัง ชุมพร สุราษฎร์ธานี และจังหวัดระนอง เกษตรกรได้รับผลกระทบจำนวน 94,206 ราย เป็นพื้นที่ที่คาดว่าจะเสียหาย จำนวน 203,086 ไร่
4 ไทยส่งออกทุเรียนไปจีนแตะแสนล้าน
วันที่ 20 เมษายน 2567 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวหลังเป็นประธานการประชุมและมอบนโยบายการส่งออกผลไม้แก่ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ภาคตะวันออก ฤดูกาลผลิต ปี 2567 โดยมีนายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมบุษราคัม องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี ว่า ภาคตะวันออกเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้จากจังหวัดจันทบุรี ช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ และสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมหาศาล
ต่อมาวันที่ 30 พ.ค.2567 นายกรนิจ โนนจุ้ย รองอธิบดีกรมการค้าภายใน บอกว่า ทุเรียนภาคตะวันออกซึ่งอยู่ในช่วงปลายฤดู ผลผลิตออกแล้วเกือบ 100% ราคาทุเรียนปีนี้ถือว่าดีมากถ้าเทียบกับปี2565 โดยราคาทุเรียนเฉลี่ยเกรด AB (ส่งออก)ราคาอยู่ที่ 187 กก. เทียบกับราคาปี2565 ที่อยู่ 150 บาทต่อกก. เกรดC (ส่งออกเกรดรอง) ราคาเฉลี่ย132 บาทต่อกก.และเกรดC(เกรดตกไซส์ )สำหรับขายในประเทศ ราคาเฉลี่ย 122 บาทต่อกก. ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ และทูตเกษตร ที่ประจำอยู่สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมกับได้สั่งประชุม Fruit Board ทันที ตั้งเป้าส่งออกทุเรียนปีนี้ทะลุ 130,000 ล้านบาท
5.โครงการปุ๋ยคนละครึ่งเป็นหมัน
ทันที่ที่ครม.ภายใต้การนำของรัฐบาลเพื่อไทย ไฟเขียวโครงการปุ๋ยและชีวภัณฑ์คนละครึ่ง วงเงินงบประมาณเกือบ 3 หมื่นล้านบาท หรือโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เมื่อปลายเดือนมิ.ย.2567 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) เห็นชอบหลักการ สำหรับโครงการสนับสนุนปุ๋ย ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายปัจจัยการผลิต ลดต้นทุนการผลิตข้าวแก่เกษตรกร ไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 10,000 บาทต่อครัวเรือน ทำให้เสียงคัดค้านทั่วทั้งแผ่น ส่วนใหญ่มองว่า จะให้ชาวนาควักก่อนซื้อปุ๋ยเข้ากระเป๋านายทุน ซึ่งต่างจากโครงการช่วยชาวไร่ละ 1,000 บาทที่เอารัฐบาลให้กับชาวนาโดยตรง
สำหรับโครงการนี้ให้สิทธิกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2567/68 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เป้าหมาย 4.68 ล้านครัวเรือน วงเงินงบประมาณ 29,994.3445 ล้านบาท ใช้เงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ(ธกส.) ก่อนรัฐบาลชดเชยภายหลัง กระทั่งถึงวันนี้โครงการไม่เกิดขึ้น
6.แจกโฉนดเพื่อเกษตรกรรมในที่ ส.ป.ก.
ในที่สุด กรมพัฒนาที่ดิน เริ่ม Kick off แจก “โฉนดเพื่อการเกษตร” ฉบับแรก ในวันที่ 15 ม.ค.67 พร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก.4-01 โดยเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ได้อย่างหลากหลายและจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามที่ ร้อยเอก ธรรมนัส แถลงชัดมอบโฉนดเพื่อการเกษตรก่อนหน้านั้นว่าจะมีการมอบโฉนดเพื่อการเกษตรทั่วประเทศในวันที่ 15 ม.ค.67 (ตามที่แถลงนโยบายของรัฐบาล เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566)
สิทธิประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับจากโฉนดเพื่อการเกษตร มีดังนี้ 1. เปลี่ยนมือได้ (โอนสิทธิ) สามารถโอนคืน ส.ป.ก. ได้, 2. เพิ่มวงเงินสินเชื่อ การเข้าถึงแหล่งทุนใหม่ สามารถเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้, 3. สามารถใช้ค้ำประกันตัวบุคคล โดยเป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่สามารถค้ำประกันตัวบุคคลทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นศาลได้, 4. สร้างรายได้ให้เกษตรกร เพิ่มทรัพย์สินโดยส่งเสริมการปลูกไม้มีค่า 10 ต้นต่อไร่,และ 5. ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาจากรัฐในด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค ซึ่งมีการทำ MOU 16 หน่วยงาน ด้านการพัฒนาอาชีพ และรับเงินชดเชยหรือเยียวยาภัยพิบัติ
7.กรมการข้าว รับรอง 10 สายพันธุ์ใหม่
เมื่อวันที่ 10 เม.ย.67 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว บอกว่า ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ข้าว เมื่อวันที่ 9 เม.ย.67 มีมติรับรองข้าวพันธุ์ใหม่ 10 พันธุ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 พระชนมพรรษา 72 พรรษา เพื่อเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกร โดย
ข้าวพันธุ์ใหม่ 10 พันธุ์ มีทั้ง ข้าวขาวพื้นแข็ง ข้าวหอมไทย ข้าวเหนียว ข้าวญี่ปุ่น และข้าวสาลี ซึ่งมีความสำคัญต่อชาวนา รวมถึงประชาชนที่อยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ประเภทข้าว ได้แก่ กข99 (หอมคลองหลวง 72), กข26 (เชียงราย 72), กข103 (หอมชัยนาท 72), กข105 (เจ้าพระยา 72), กข107
8.ราคาข้าวไทยร่วงหนักสุดในรอบกว่า 16 ปี
ช่วงปลายเดือน ก.ย.67 สร้างความกังวลให้กับเกษตรกรไทยไม่น้อย หลังจากอินเดียผ่อนคลายข้อจำกัดการส่งออกข้าว ทำให้คาข้าวขาว 5% ของไทย (เกณฑ์ราคาข้าวมาตรฐานของเอเชีย) ร่วงลงถึง 11% มาอยู่ที่ 509 ดอลลาร์ต่อตันในวันที่ 2 ต.ค.67 ตามข้อมูลจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ซึ่งถือเป็นการร่วงลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 และเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องจนทำให้ราคาลงมาแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 15 เดือนด้วย ทั้งนี้อินเดียอนุญาตให้กลับมาส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติได้อีกครั้ง หลังจากหนึ่งวันก่อนหน้านั้นเพิ่งประกาศลดภาษีการส่งออกข้าวนึ่งเหลือ 10% จากก่อนหน้านั้นอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ ประกาศห้ามส่งออกข้าวขาว และกำหนดอัตราภาษี 20% สำหรับการส่งออกข้าวนึ่ง เพื่อควบคุมราคาข้าวในประเทศก่อนการเลือกตั้งนั่นเอง
9. สินค้าเกษตรไทย ขึ้นแท่นเบอร์ 1 อาเซียน อันดับ 8 ของโลก
จิรายุ ห่วงทรัพย์
เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 67 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ข้อมูลการส่งออกสินค้าเกษตรไปตลาดโลก ช่วง 8 เดือน (มกราคม – สิงหาคม 2567) นั้นพบว่าประเทศไทยสามารถส่งออกสินค้าเกษตรไปตลาดโลก มีมูลค่ามากถึง 19,826 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 8% จากช่วงเดียวกันของปี 2566 เป็นการส่งออกไปกลุ่มประเทศคู่ค้าที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) มูลค่า 13,774 ล้านดอลลาร์ หรือ 4.3 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึง 69% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด ทำให้ประเทศไทยสามารถครองแชมป์เป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอันดับที่ 1 ของอาเซียน และเป็นอันดับที่ 8 ของโลก
ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน สัดส่วนกว่า 31% ของการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยทั้งหมด อาเซียน สัดส่วน 15% ญี่ปุ่น สัดส่วน 11% และเกาหลีใต้ สัดส่วน 3% ตลาดที่เติบโตได้ดี ได้แก่ อาเซียน ขยายตัว 39% อินเดีย ขยายตัว 34% ออสเตรเลีย ขยายตัว 23% สิงคโปร์ ขยายตัว 10% เกาหลีใต้ ขยายตัว 9% และญี่ปุ่น ขยายตัว 7%
10 จีดีพีเกษตร ปีงูใหญ่หดตัว 1.1 %
เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.67 นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักเศรษฐกิจการเกษตร ( สศก.) กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2567 พบว่า หดตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับปี 2566 โดยสาขาพืช สาขาประมง และสาขาบริการทางการเกษตร หดตัว ขณะที่สาขาปศุสัตว์ และสาขาป่าไม้ ยังคงขยายตัวได้ โดย สาขาพืช หดตัวร้อยละ 1.7 เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2566 ต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปี 2567 ทำให้ปริมาณฝนน้อยกว่าปีที่ผ่านมา สภาพอากาศร้อนจัดและแห้งแล้ง ส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของพืชสำคัญหลายชนิด
ทำให้เกษตรกรบางส่วนงดหรือปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชบางชนิด และการเข้าสู่ปรากฏการณ์ลานีญาในเดือนกันยายน 2567 ทำให้ประเทศไทยเผชิญกับมรสุมและมีฝนตกหนัก ส่งผลให้มีปริมาณน้ำสะสมจำนวนมาก เกิดอุทกภัยและน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรบางส่วนได้รับความเสียหาย พืชสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน สับปะรดปัตตาเวีย ยางพารา ทุเรียน และเงาะ เป็นต้น