ทางออกปัญหาหมอกควัน-PM 2.5 : นักวิชาการ ยันไฟป่ายังมีประโยชน์ แต่ต้องบริการจัดการให้ลงตัว ขำกลิ้ง รัฐจัดงบฯให้องค์กรท้องถิ่นแก้ปัญหาไร่ละบาท

  •  
  •  
  •  
  •  

นักวิชาการ-องค์กรพัฒนาภาคเอกชน สะท้อนสะท้อนปัญหาปัญหาการเกิดหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว ระบุปัญหา PM 2.5 เป็นปัญหาที่เกิดมานานแล้ว มีทั้งประโยขน์และโทษ ระบุพราะการเผาป่าส่วนหนึ่งยังมีความจำเป็น อาจารย์คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรฯ ฟันธงไฟป่าไม่มีจริงที่เกิดจากธรรมชาติ ชี้ชัดจากคน  ชุมชน แม้เจ้าที่ของรัฐ  ทางออกต้องบริหารจัดการให้ลงตัวและกระทบน้อยที่สุด ต้องจัดงบประมาณให้เพียงพอ องค์กรพัฒนาภาคเอกชน แฉสุดทุเรศ โยนพื้นที่ 53 ล้านไร่ให้องค์บริหารส่วนท้องถิ่นดูแล ทั้งที่ไม่มีองค์ความรู้และเจียดงบฯแก้ปัญหาไร่ละบาทเท่านั้น 

นานาทัศนะจากนักวิชาการ-องค์พัฒนาภาคเอกชน สะท้อนปัญหาปัญหาการเกิดฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว  PM 2.5 และแนวทางแก้ปัญหาบนเวทีเสวนา “ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 สร้างความเข้าใจ สู่การแก้ไขอย่างยั่งยืน” จัดโดยสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ณ ห้องประชุมสุธรรม อารียกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี ชั้น 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

นายภิญโญ แพงไธสง นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์วิกฤตเรื่องปริมาณ hotspot และการเกิดหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะพื้นที่หลายจังหวัดในภาคเหนือของประเทศ ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพเศรษฐกิจ และสังคมในวงกว้าง ประกอบกับการรับรู้ของภาคสังคมยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากการนําเสนอของสื่อ โดยเฉพาะสื่อทางโซเซียลมีเดีย (social media) ที่มีอยู่มากมาย ทั้งเรื่องสาเหตุที่เกิด ปัจจัยการเกิด และแหล่งที่เกิด รวมถึงกรณีฝุ่นควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นต่อเนื่องสะสมมายาวนาน 

ภิญโญ แพงไธสง

ดังนั้นสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัดสัมมนาในครั้งนี้เพื่อความรู้แนวทางการแก้ปัญาที่แท้จริง โดยอาศัยข้อมูลจากกระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์ เช่น ดาวเทียม ที่สามารถพิสูจน์และยืนยันได้ และเมื่อรู้ถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริงแล้ว ก็จะสามารถออกแบบ หรือนําเสนอแนวทางสำหรับการแก้ปัญหาได้ตรงจุด ถูกต้องและยั่งยืน

โดยมีวิทยากรที่ให้ความรู้ในครั้งนี้ประกอบด้วย ดร.สุดเขต สกุลทอง จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ , ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา หัวหน้าหน่วยวิจัยและพัฒนาด้านการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  , ผศ.ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผศ.ดร.นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , นายภานุเดช เกิดมะลิ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และนายเดโช ไชยทัพ ผู้อํานวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.) ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                                                                        ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม 

ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม  รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ส กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงานสัมมนาว่า การสัมมนาหัวข้อ “ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในการสัมมนาหัวข้อสร้างความเข้าใจ สู่การแก้ไขอย่างยั่งยืน” เพื่อระดมความคิดนักวิชาการ ผู้ที่มีความรู้ และมาสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง สะท้อนปัญหาเกี่ยวกับปัญหาหมอกควันพิษ และฝุ่นละอองขนาดเล็ก  ให้กับสังคม ส่งเสริมให้เกิดแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาในอนาคตอย่างแม่นยําและยั่งยืนตลอดไป

 ทั้งนี้ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของคนไทย โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และภาคเหนือโดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่ มาเป็นเวลา 2-3 ปีแล้ว ทั้งๆที่ปัญหามลพิษฝุ่นนี้อยู่กับคนไทยมาไม่น้อยกว่า 20 ปีก่อนหน้านี้ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและภาควิชาการ มีความพยายามศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ถึงแม้ว่าหน่วยงานภาครัฐ ได้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติแล้ว ก็ตามที แต่ปัญหายังไม่ได้บรรเทาลง จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการหาแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาในระยะยาว โดยหวังว่าจะได้ความร่วมมือ จากทุกๆหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้สถานการณ์ฝุ่น pm2.5 คลี่คลายลงไปไม่มากก็น้อย

ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา หัวหน้าหน่วยวิจัยและพัฒนาด้านการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวว่า ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 มีทุกที่ในโลก ส่วนประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของเอเซีย โดยเฉพาะภาคเหนือจะมีหมอกควันที่มาจากหลายหลายส่วนหนึ่งไฟป่าจากเมียนมา เดิมที่จะมีเพียงหน้าร้อน ปัจจุบันรเกิดจากยุทธศาสตร์การสู้รบ ที่เผาไลแทบทุกฤดู และอีกส่วนมาจากอินเดีย เกิดจากการจราจรบนถนนและสังคมเมืองและภาคการเกษตรที่ผ่านมาการแก้ปัญหาไม่ค่อยตรงจุดที่รัฐรัฐต้องกำหนดเป็นนโยบานที่ชัดเจน 

ด้าน ดร.สุดเขต สกุลทอง ผู้ช่วยอธิการบดี  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าว่า การเผาป่าในพื้นที่ภาคเหนือมีมานาแล้วแล้ว ชาวบ้านมักจะพูดเล่นว่า ไฟมา ป่าโล่ง พืช รังมด เห็ดก็ให้กิน ส่วนปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เกิดจากหลายภาคส่วนทั้งจราจร ที่อยู่อาศัยในสังคมเมืองที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) แม้กระทั่งการเปิดแอร อีกส่วนหนึ่งเกิดวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตร ซึ่งปัจจุบันนี้ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ในแต่ละปีจะมี 1.1 ล้านตัน ที่เป็นกิ่งลำไย  มะม่วง  ข้าว  ข้าวโพด บางแห่งอยู่ในพื้นที่สูงเครื่องจักรเข้าไปไม่ได้ก็ต้องเผา บางส่วนก็ไถ่กลบ ป้อนโรงงานไฟฟ้าซีวมวล

 

ส่วน รศ.ดร.นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สะท้อนให้เห็นอย่างน่าสนใจว่า ไฟป่าไม่มีจริงที่เกิดจากธรรมชาติ แต่เกิดจากมนุษย์จากบุคคล ชุมชน  ทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน แต่กระนั้นยอมรับว่า การเกิดไฟป่มีทั้งข้อดีข้อเสีย และยกตัวอย่างว่า การเกิดไฟป่าในละครั้งป่าไม้เสียหายน้อยมากไม่ถึง 1% แต่สัตว์ป่าอาจเสียหายถึง 90 %

“ถ้าไม่มีไฟป่าเสียเลยจะทำให้ป่าเปลี่ยนเแปลง กระทบต่อระบบนิเวศน์ โดยเฉพาะปลาเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ควรจะมีไฟป่าบ้าง อย่าให้แออัด กระทบสัตว์บางอย่างก็ไม่มีอาหาร แต่จะต้องมีบริหารไม่จัดการ ให้เหมาะสมว่า จะเผาช่วงไหน จะเผายังไร กำกัดวงขนาดไหนให้เหมาะสมและกระทบน้อยที่สุด แต่ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด” รศ.ดร.นันทชัย

สดคล้องมุมมองของ นายภานุเดช เกิดมะลิ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ที่ระบุว่า ไฟป่าก็มีประโยชน์ ให้ป่าโล่ง เกิดของป่าให้กับชุชชนทั้งพืชเห็ด เฉพาะในเขต จ.นครสวรรค์ของป่าเหล่านี้ทำให้รายให้กับชุมชนกว่า 100 ล้านบาท แต่จะต้องจัดการให้ลงตัวบริหารให้ถูกต้อง อย่าให้เกิดผลกระทบผู้คน ถ้าไม่เกิดไฟป่าเสียเลยจะกระทบต่อระบบนิเนศน์อย่างแน่นอน

ขณะที่ นายเดโช ไชยทัพ ผู้อํานวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.) บอกว่า ปัจจุบันการจัดการไฟป่า ได้โอนให้องค์กรท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลและจัดการ มีพื้นที่ป่าทั้งหมด 53 ล้านไร่ ให้องค์กรท้องถิ่น 2,368 แห่งดูแล แต่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ ยังขาดองค์ความรู้ความเข้าในในการที่จะจัดการ ทำให้การแก้ปัญหาไม่บรรลุผล ที่สำคัญหลังกรมป่าไม้ให้องค์กรบริหารท้องถิ่นดูแล แต่ปรากฏว่า ปีที่แล้วได้จัดงบประมาณมีน้อยมาก 50 ล้านบาท ก็เท่ากับว่ามีงบฯบริหารจัดการไร่ละ 1 บาท ปีงบประมาณปี 2568 เพิ่มขึ้น 100 ล้านบาท ก็จะทำให้งบประมาณในการบริหารจัดการแค่ไร่ละ 2 บาทเท่านั้นจะอะไรได้ ขณะที่หน่วยงานอื่นอย่างเช่นไม่เผาอ้อยเพิ่มเงินตันละ 30 บาทถ้าคิดเป็นไร่ละมากกว่าหลายเท่า

“ที่จริงการบริหารจัดการป่านะ ต้องให้องค์ความรู้กับท้องถิ่น เพื่อบริหารจัดการและวางแผนได้ เพื่อจะจัดการระบบเกษตรไม่เผา หรือให้คนป่าอยู้ด้วยอย่างถูกวิธี และต้องมีงบประมาณให้เพียงพอด้วย ” นายเดชโช กล่าว

 บทสรุปของ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ในฐานะผู้ดำเนินรายการว่า การที่เชิญวิทยากรจากหลายๆและคนหลายๆภาคส่วนในครั้งนี้ เพื่อรู้ถึงสาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหาในการเกิดการเกิดหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 เพราะเป็นที่มีความซับซ้อนพอสมควรที่เกิดจากหลายๆสาเหตุจากภาคการเกษตรและป่าไม้ ย่างไรก็ตาม ในภาคการเกษตรต้องยอมรับว่าบางครั้งก็มีเหตุและมีความจำเป็นแต่จะทำอย่างไรให้ปัญหาเกิดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้คือต้องมีการบริหารที่เหมาะสม แม้ป่าไม้ก็มีมีไฟป่าเช่นกันฉะนั้นนทางออกคือต้องบริหารจัดให้เมาะสมด้วยการทำเกษตรและป่าไม้ที่ยั่งยืน (รายละเอียดในคลิป)