“ลำเท็ง”ยอดกินได้ ทั้งต้นมีสรรพคุณมหาศาล

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…นายสวีสอง

แทบด้วยซ้ำไปว่า สมัยเด็กชอบไปเด็ดยอด”ลำเท็ง” บางพื้นที่เรียกว่า”ลำเพ็ง” ภาษายาวี เรียกว่าปากุ๊มะดิง หรือนีดิง มาแกงเรียงใส่เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ที่เปลือกยังเขียว และกุ้งแห้งอร่อยมาก บางครั้งมาลวกจิ้มกับน้ำบูดู แต่สดไม่นิยมบริโภคยอดสด เพราะจะมีเมือกลื่นๆคล้ายกับผักกูด

กลับบ้านที่อำเภอเทพา สงขลา เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคา 2560 ไปเดินเล่นตามปลายสวนมะพร้าวติดลำธารเล็กๆ ยังมียอดลำเท็งขึ้นเป็นสีท่วงแดงจำนวนมาก เด็กรุ่นใหม่คงกินไม่เป็นกันแล้ว จึงเด็ดมามาเรียงใส่กุ้งแห้ง อร่อยมาก เพราะไม่ได้กินมากว่า 30 ปีได้แล้ว

เป็นผักพื้นบ้านไม่มีพิษใดๆ แต่แปลกไม่มีแมลงรบกวน จึงเป็นยอดพักอินทรีย์ดีๆนี่เอง ที่สำคัญมีสรรพคุณทางสมุนไพรหลายอย่าง รากรักษาแผลงูกัด ยอดอ่อนมีสรรพคุณบำรุงเลือด เถาใช้เป็นยาบำรุงหญิงที่เพิ่งคลอดลูก ใบตำผสมกับดินประสิวดิบเล็กน้อยโปะกระหม่อมเด็กแก้ร้อนใน แต่ถ้าทั้งต้น ต้มแก้พิษไข้  ไข้ปวดหัวตัวร้อน ไข้หวัด หืดหอบ ไข้สันนิบาต เป็นต้น

ลำเท็ง หรือ ลำเพ็ง มีชื่อวืทยาศาสตร์ว่า  Stenochlaena palustris  อยู่ในวงศ์ PTERIDACEAE  เป็นเฟิร์นเถาเลื้อยพันต้นไม้อื่น

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับตามก้านยาวราว 30–60 ซม. ใบย่อย รูปทรงเรียวยาว มีราว20-30 ใบ ใบย่อยกว้างราว 2-3 ซม. โคนสอบปลายแหลม ใบอ่อนออกมาเป็นม้วนคล้ายผักกูด และยืดออกเป็นสีแดงม่วง  พอแก่แล้วเขียวเป็นมัน ขอบใบหยัก สร้างสปอร์สีน้ำตาลที่ด้านล่างของใบ