“ใบเหลียงต้มนมสด” ทำกินเองได้ง่ายนิดเดียว

  •  
  •  
  •  
  •  

นายสวีสอง

       วันอาทิตย์เป็นวันที่ส่วนใหญ่สมาชิกในบ้านจะหยุดพร้อมกันทั้งครอบครัว จึงกลายเป็นวันครอบครัว บางคนอาจพาครอบครัวไปกินข้าวนอกบ้าน แต่บางคนชอบทำกินเอง ที่นานๆสักหนจะได้โชว์ฝีมือให้ลูกเมียได้รับประทานอย่างทั่วหน้า

       “เกษตรทำกิน พากินอาหารบ้านบ้าน” อาทิตย์นี้ดเสนอให้มาทำกับข้าวกินเอง เมนูแนะนำนี้คือ “ใบเหลียงต้มนมสด”ซึ่งปกติหากใครเดินทางไปปักษ์ใต้จะมีเมนูของร้านอาหารแทบทุกร้านคือ “ใบเหลียงผัดไข่” ถือเป็นประจำถิ่นของภาคใต้ เสมือนกับ “ผักหวานป่า” แถวภาคอีสาน ที่สามารถทำอาหารได้หลายอย่าง ที่ผมชอบคือต้มกะทิ บางครั้งเปลี่ยนจากกะทิมาเป็นนมสด (นมจืด)

       วิทำง่ายๆ เพราะใช้เครื่องปรุงที่มีอยู่ในครัวเรือนทั่วไปนั่นแหละ เริ่มจากเด็ดใบเหลียงให้ออกจากกิ่งก้าน ล้างให้สะอาด ใส่หม้อ เทกะทิ หรือนมสดพอปริ่มๆ ทุบหอมแดง พริกขี้หนูสวน ใส่กะปินิดหนึ่ง เกลือ ต้มให้สุก ปิดไฟใส่เครื่องปรุงรสแค่นี้ก็ได้กับข้าว “ใบเหลียงต้มนมสด”ได้แล้ว เห็นไม่ ? ง่ายแรงนิ่!

        “ผักเหลียง”เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตะวันตกของหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก แพร่กระจายจากรัฐอัสสัมผ่านอินโดนีเซีย มาเลเซียไปจนถึงฟิลิปปินส์และฟีจี ในบ้านเราจะขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ เมื่อก่อนพบมากพบใน จ.พังงา ภูเก็ต ชุมพร สุราษฎ์ธานี เป้นต้น ตอนนี้นิยมปลูกแซมในสวนยาง จัดเป็นผักพื้นบ้านของภาคใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์: Gnetum gnemon  เป็นพืชเมล็ดเปลือยในสกุลมะเมื่อย ลักษณะเป็นไม้พุ่มสูงราว 3-4 เมตร มีใบรูปทรงรี ปลายใบเรียวแหลม สีเขียวเป็นมันสดขยายพันธุ์ได้หลายวิธี ทั้งการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำหรือใช้ต้นจากรากแขนงปลูกได้

        ใบเหลียงอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุเป็นจำนวนมาก มีสารเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีสารตั้งต้นของวิตามินเอ บำรุงสายตา ช่วยให้มองเห็นในตอนกลางคืน ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ในลูกตา ช่วยเสริมสร้างกระดูก.บำรุงหัวใจ ลดความของมะเร็ง ช่วยในการบำรุงสมอง แก้กระหายน้ำ  แก้ร้อนใน ป้องกันโรคภูมิแพ้ เป็นต้น