โดย… นายสวีสอง
เมื่อครั้งที่วงการแพทย์ปัจจุบันยังไม่แพร่หลาย เวลาคนโดนงูฉก หรืองูกัด คนไทยเราจะใช้รากของ “หางกระรอกแดง” มาฝนน้ำแก้พิษงูกัดได้เป็นอย่างดี ส่วนเปลือกต้น ใช้ขับเสมหะ แก้หืด ขณะที่ใบ ขับปัสสาวะ และเป็นยาระบาย จึงถือเป็นพรรณไม้ที่มีคุณค่าทางสมุนไพรชั้นดีอีกชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันนี้หลังจากที่วงการเภสัชมีการพัฒนาไปได้ไกล ทำให้”หางกระรอกแดง” เป็นไม้ที่ถูกมองข้าม แต่กระนั้นก็มีคนยังนิยมปลูกทำเป็นไม้ประดับ เพราะมีความสวยงาม โดยเฉพาะช่วงที่ออกดอกอาจจะสวยกว่าไม้ประดับที่ราคาแพงบางต้นเสียอีก
จัดเป็นประเภทไม้พุ่ม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า : Acalypha hispida burm.f.อยู่ในวงศ์ : EUPHORBIACEAE สูงราว 1-3 เมตร บางพื้นที่เรียกว่า ไหมพรม,หรือ หางแมว แตกกิ่งสาขาต่ำ เปลือกอ่อนสีเขียว
[adrotate banner=”3″]
ใบ เป็นใบเดี่ยวขึ้นเรียงสลับตามกิ่งก้านใบสีเขียวยาว 3-7 ซม.ใบรูปทรงรีหรือรูปไข่ กว้าง 7 ซม.ยาว14 -18 ซม.โคนสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ตามใบมีเส้นแขนงใบเห็นชัดเชน 4-8 เส้น
ดอก ดอกช่อออกตามซอกใบ ห้อยลงคล้ายหางกระรอก สีแดง ยาวราว 15-35 ซม.แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก มีเกสรตัวเมียชูเป็นพู่ห้อยสีแดงจำนวนมาก สวนดอกเพศผู้อยู่คนละต้น เป็นพืชแยกเพศคนละต้นกัน แต่ไม่มีกลีบดอก
ผล: ขนาดเล็ก เมื่อแก่แตกออก แต่มักไม่ติดผล
การขยายพันธุ์ด้วยการปัหชำกิ่ง ชอบดินร่วนซุย