เรือนจำกลางสมุทรสงคราม ร่วมมือกับประมงสมุทรสงคราม และ ซีพีเอฟ จับมือคิกออฟ ผลิตภัณฑ์น้ำปลาทำจากปลาหมฮคางดำ ภายใต้แบรนด์ “หับเผย แม่กลอง” เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริ โภคผลิตภัณฑ์ จากปลาหมอคางดำในวงกว้างขึ้น และช่ วยลดจำนวนของปลาหมอคางดำได้อย่ างครบวงจร
นางจิตรา ประเสริฐโสภา ผู้บัญชาการเรือนจำกลางสมุ ทรสงคราม กล่าวว่า ที่ผ่านมาเรือนจำกลางสมุ ทรสงครามได้ร่วมสนับสนุ นกรมประมงแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ และให้การสนับสนุนหน่วยงานของรั ฐในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ในการจัดกิจกรรมจับปลาหมอคางดำ ตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งเป็ นวาระแห่งชาติ โดย พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปั ญหาการแพร่ ระบาดของปลาหมอคางดำไม่ให้ส่ งผลกระทบต่อประชาชน ได้มีข้อสั่งการให้กรมราชทัณฑ์ ดำเนินการสนับสนุนแรงงานผู้ต้ องขังเข้าช่วยเหลือสังคมจั บปลาหมอคางดำ(ในรูปแบบ CSR)
ดังนั้นเรือนจำกลางสมุทรสงคราม จึงได้ดำเนิ นการตามนโยบายกรมราชทัณฑ์ มิติที่ 7 ยกระดับการสร้างการยอมและสร้ างความเชื่อมั่นของสังคมต่อผู้ ต้องขังและผู้พ้นโทษ โดยได้ร่วมกันดำเนินการจัดกิ จกรรม “ลงแขกลงคลอง” พร้อมทั้งนำปลาหมอคางดำ มาปรุงเป็นอาหารให้ผู้ต้องขัง ให้เป็นสวัสดิการเจ้าหน้าที่ ของเรือนจำ รวมทั้งนำมาปลามาสับเป็ นอาหารเลี้ยงเป็ดและปลากะพงซึ่ งกิจกรรมสร้างเสริมอาชีพผู้ต้ องขังของเรือนจำ
ล่าสุด เรือนจำกลางได้บูรณาการกั บประมงสมุทรสงคราม และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ต่อยอดนำปลาหมอคางดำที่จับได้ มาแปรรูปเป็น “น้ำปลา” โดยกรมประมงจัดกิจกรรมจั บปลาหมอคางดำ และซีพีเอฟช่วยจัดหาอุปกรณ์ และเชิญวิทยากร “จิตรกร บัวดี” เกษตรกรต้นแบบจากเพชรบุรีเจ้ าของไอเดียแปรรูปปลาหมอคางดำเป็ นน้ำปลาและวางจำหน่ายภายใต้ตรา “ชาววัง” มาช่วยสอนวิธีแปรรู ปปลาหมอคางดำมาทำน้ำปลาเพื่ อเสริมสร้างเป็นทักษะอาชีพให้ผู้ ต้องขังต่อไป
“โครงการบูรณาการความช่วยเหลื อสังคมแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ สอดคล้องกับแนวทางของกรมราชทั ณฑ์ที่มีโครงการฝึกอาชีพช่วยให้ ผู้ต้องขังได้เรียนรู้จากผู้เชี่ ยวชาญโดยตรงในการทำปลาที่อร่ อยและปลอดภัย และนำทักษะอาชีพติดตัวไปต่ อยอดเพื่อสร้างรายได้ในอนาคต ซึ่งเป็นการส่งเสริมการบริ โภคปลาหมอคางดำอีกทางหนึ่ง โดยเรือนจำกลางสมุ ทรสงครามจะนำน้ำ ปลาจากปลาหมอคางดำมาจำหน่ายเป็ นสินค้าจากกรมราชทัณฑ์ภายใต้ แบรนด์ “หับเผย แม่กลอง” ซึ่งช่วยให้คนไทยเข้าถึงผลิตภั ณฑ์อาหารจากปลาคางดำในวงกว้ างมากขึ้น” นางจิตรากล่าว
ด้านนายบัณฑิต กุลละวณิชย์ ประมงจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า ประมงจังหวัดได้รับการสนับสนุ นจากเรือนจำกลางสมุทรสงครามให้ ผู้ต้องขังมาช่วยลงแรงจั บปลาในกิจกรรม “ลงแขกลงคลอง” อย่างต่อเนื่อง สำหรับความร่วมมือในวันนี้เรื อนจำกลางสมุ ทรสงครามนำปลาหมอคางดำไปผลิตเป็ น “น้ำปลา” เป็นแนวทางการบริหารจั ดการปลาหมอคางดำที่จับได้อย่ างเป็นระบบและได้ประสิทธิภาพสูง ด้านประมงจังหวัดสมุทรสงครามยั งมีแผนการจับปลาออกจากแหล่งน้ำ อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับปล่อยปลานักล่าให้ช่ วยกำจัดปลาหมอคางดำขนาดเล็กที่ อยู่ในแหล่งน้ำ นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนปลานักล่าให้กั บเกษตรกรในเครือข่ายได้นำไปช่ วยกำจัดปลาหมอคางดำในบ่อเพาะเลี้ ยงสัตว์ของเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้ วย
สำหรับกิจกรรมล่าสุด ประมงสมุทรสงครามได้จัดกิจกรรม “ลงแขกลงคลอง” ระดมความร่วมมือกับเรื อนจำกลางสมุทรสงคราม ชุมชน และซีพีเอฟ ช่วยจับปลาหมอคางดำออกจากลำคลอง 3 จุด ได้แก่ คลองช่อง (คลองยี่สารเก่า) คลองเลียบถนนเอกชัย และคลองบางบ่อ สามารถจับปลาหมอคางดำได้ 509 กิโลกรัม โดยจัดสรรปลาหมอคางดำที่จับได้ 450 กิโลกรัมไปใช้แปรรูปเป็นน้ำปลา และอีก 59 กิโลกรัมนำไปเลี้ยงเป็ดของเรื อนจำกลางสมุทรสงคราม
“ประมงสมุทรสงครามได้ร่วมมือกั บทุกภาคส่วนร่วมจัดกิจกรรมจั บปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำอย่ างจริงจัง ตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาจั บปลาประมาณ 29 ครั้ง ส่งผลให้ปัจจุบัน ปลาหมอคางดำในพื้นที่มีแนวโน้ มลดน้อยลงอย่างเป็นรูปธรรม เห็นได้จากปริมาณการจับปลาในแต่ ละครั้งจับได้ลดลง รวมทั้งปลาที่จับได้ยังมี ขนาดเล็กลงอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าปลาขนาดใหญ่ หายไปช่วยตัดวงจรปลาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ” นายบัณฑิต กล่าว
ความร่วมมือระหว่ างกรมประมงและกรมราชทัณฑ์ เป็นหนึ่งในโครงการเชิงรุกของซี พีเอฟจัดการปัญหาปลาหมอคางดำ โดยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ปลาหมอคางดำเป็นผลิตภัณฑ์ อาหารเพื่อส่งเสริมให้มีการบริ โภค ควบคู่กับการบริหารจัดการปลาที่ จับมาได้โดยสร้างมูลค่าเพิ่ม ทุกวันนี้ ซีพีเอฟได้สนับสนุนกิจกรรมการจั บปลาของกรมประมงใน 17 จังหวัดช่วยกำจัดปลาออกจากแหล่ งน้ำได้ 90,000 กิโลกรัม สนับสนุนการรับซื้อเพื่อผลิ ตปลาป่นแล้วมากกว่า 1,700,000 กิโลกรัม และสนับสนุนปลาผู้ล่าเพื่อปล่ อยในแหล่งน้ำแล้ว 90,000 ตัว เพื่อช่วยลดปริ มาณปลาหมอคางดำอย่างมีนัยสำคัญ