กรมประมงเร่งระดมทุกสรรพกำลังจั บปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ ธรรมชาติในทุกจังหวัด เพื่อช่วยบรรเทาความเดือนร้ อนของเกษตรกรและชาวประมง ร่วมสร้างสมดุลระบบนิเวศ ขณะที่ ซีพีเอฟ เดินหน้าร่วมให้การสนับสนุนเครื่ องมือจับปลา อาหาร และน้ำดื่มในการจัดกิจกรรมจั บปลาในจังหวัดต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ เตรียมส่งมอบปลานักล่าเพิ่ มอีก 19,000 ตัวเพื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำให้ กับประมงจังหวัดระยอง สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา เพื่อนำปลาหมอคางดำออกจากระบบนิ เวศให้มากที่สุด
วันนี้ โดยบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมสนับสนุนประมงจังหวั ดนครศรีธรรมราชจัดกิ จกรรมลงแขกลง ครั้งที่ 6 บริเวณหน้าประตูระบายน้ำท่าพยา ในอำเภอปากพนัง โดยมีหน่วยงานภาคีเครือข่าย ผู้นำชุมชน และชาวประมง คลอง ระดมจับปลาหมอคางดำออกจากแหล่ งน้ำ และเปิดรับซื้อปลาหมอหมอคางดำกิ โลกรัมละ 15 บาทเพื่อส่งต่อให้สำนักงานพั ฒนาที่ดินจังหวัดนำไปผลิตน้ำหมั กชีวภาพสำหรับเกษตรกรต่อไป ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟีร่วมกับประมงนครศรี ธรรมราชจัดกิจกรรมส่งเสริ มการนำปลาไปใช้ประโยชน์ และสนับสนุนปลากะพงขาวขนาด 4 นิ้ว จำนวน 5,000 ตัว เตรียมปล่อยลงสู่แหล่งน้ำที่เพื่ อช่วยจับกินลูกปลาหมอคางดำ เพื่อเร่ งลดจำนวนปลาหมอคางดำในจังหวั ดให้เบาบางลง
ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟร่วมมือกับประมงจังหวั ดสงขลา ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดสงขลา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านและชาวประมงในพื้นที่รวม 100 คน ระดมกันจั บปลาหมอคางดำในลำคลองในพื้นที่ อำเภอระโนด มีซีพีเอฟสนับสนุนน้ำดื่มสำหรั บผู้ร่วมกิจกรรม สามารถจับปลาหมอคางดำได้ 346 กิโลกรัม นำส่งให้สำนักงานพัฒนาที่ดิ นอำเภอจะนะเพื่อทำน้ำหมักชี วภาพและแจกจ่ายให้ เกษตรกรชาวสวนยางต่อไป และมีแผนปล่อยปลานักล่าในช่ วงปลายเดือนกันยายนนี้
ในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ ซีพีเอฟยังร่วมสนับสนุ นกรมประมงจัดกิจกรรมจั บปลาหมอคางดำเพื่อควบคุมและกำจั ดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่ งที่พบการแพร่ระบาดในจังหวัดอื่ นๆ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นนทบุรี นครปฐม ราชบุรี และสมุทรปราการ และในทุกพื้นที่ที่ พบปลาหมอคางดำ
ก่อนหน้านี้ ซีพีเอฟสนับสนุนอวนทับตลิ่ง ประมงจังหวัดเพชรบุรี องค์การบริหารตำบล เกษตรจังหวัด และสำนักงานพัฒนาที่ดิน จัดกิจกรรมจับปลาที่ คลองในตำบลนาพันสาม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี โดยสามารถจับปลาหมอคางดำได้ 103 กิโลกรัม ขณะเดียวกันยังจับได้ปลาชนิดอื่ นอีกด้วย เช่น ปลาช่อน ปลานิล เป็นต้น สำหรับปลาหมอคางดำที่จับได้ ประมงจังหวัดส่งต่อให้องค์ การบริหารตำบลบ้านหม้อเพื่อทำน้ำ หมักชีวภาพ สำหรับแจกจ่ายให้กับเกษตรกรในพื้ นที่ใช้กับแปลงเพาะปลูก
นอกจากการสนับสนุนกิจกรรมจั บปลาแล้ว บริษัทยังสนับสนุ นปลากะพงขาวขนาด 4 นิ้วขึ้นไปเพื่อปล่อยลงในแหล่ งน้ำช่วยกำจัดลูกปลาหมอคางดำ ซึ่งที่ผ่านมา ซีพีเอฟได้สนับสนุนปลานักล่ าไปแล้ว 70,000 ตัวปล่อยในจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร ระยอง และจันทบุรี และได้ร่วมมือกั บกรมประมงในการวางแผนการปล่ อยปลานักล่าในจังหวัดอื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และราชบุรี โดยตั้งเป้าสนับสนุนปลานักล่ าแก่กรมประมงรวมทั้งสิ้น 200,000 ตัว เพื่อร่วมกันช่วยสร้างสมดุ ลระบบนิเวศของแหล่งน้ำ และช่วยลดผลกระทบเกษตรกรผู้ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่
การร่วมสนับสนุนกิจกรรมการจั บปลาหมอคางดำ และการปล่อยปลานักล่า อยู่ภายใต้การดำเนินงาน 5 มาตรการเชิงรุกที่ซีพีเอฟร่วมกั บกรมประมงขับเคลื่อนจัดการปั ญหาปลาหมอคางดำในทุกพื้นที่ จนถึงวันนี้ร่วมสนับสนุนกิ จกรรมจับปลาในแหล่งน้ำของ 17 จังหวัด สามารถจับปลาออกจากแหล่งน้ำได้ มากกว่า 27,000 กิโลกรัมซึ่งส่งต่อให้กั บโรงงานปลาป่น สำนักงานพัฒนาที่ดินผลิตน้ำหมั กชีวภาพ และไปใช้บริโภค เป็นต้น