จัดประกวดปลาสวยงาม-การจัดตู้พรรณไม้น้ำ ในงาน “ประมงน้อมเกล้าฯ ครั้งที่ 34″ชิงถ้วยพระราชทานฯ

  •  
  •  
  •  
  •  

กรมประมง เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมประกวดปลาสวยงาม 7 ชนิด 75 ประเภท และการจัดตู้พรรณไม้น้ำ 4 ประเภท ในงาน “ประมงน้อมเกล้าฯ ครั้งที่ 34″ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และถ้วยประทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า งานวันประมงน้อมเกล้าฯ ครั้งที่ 34 ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน-7 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์คและสเปลล์ จัดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างกรมประมง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์คและสเปลล์ ภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ธีม “Aquatic Arena : สนามแข่งขันประชันความงาม – ท้าประลองความแข็งแกร่งของแก๊งสัตว์น้ำ”

ปีนี้มีไฮไลท์สำคัญของงาน คือ การจัดกิจกรรมประกวดปลาสวยงามและการจัดตู้พรรณไม้น้ำ “Miracle Style with Aquatic Life : อัศจรรย์กับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ” สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 7 มิถุนายน 2567 หรือจนกว่าจะเต็ม (ตู้มีจำนวนจำกัด) โดยมีการจัดการประกวดปลาสวยงามทั้งหมด 7 ชนิด 75 ประเภท การประกวดการจัดตู้พรรณไม้น้ำ 4 ประเภท ผู้ชนะการประกวดทุกประเภทจะได้รับรางวัลพระราชทานการประกวดปลาสวยงาม ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และถ้วยประทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

สำหรับผู้ชนะการประกวดประเภท 1. ปลากัดจูเนียร์ครีบสั้น รวมทุกประเภทหางสีเดียว 2. ปลากัดจูเนียร์ครีบสั้น รวมทุกประเภทหางสีผสม 3. ปลากัดจูเนียร์ครีบยาว รวมทุกประเภทหางและสี 4. ปลาหางนกยูง ประเภท Juvenile Solid 5. ปลาหางนกยูง ประเภท Juvenile Pattern และรางวัลการประกวดการจัดตู้พรรณไม้น้ำ ประเภทจัดสด
สำหรับการประกวดปลาสวยงาม 7 ชนิด 75 ประเภท (ยกเว้นปลาคาร์ป) แบ่งเป็นชนิดที่ 1 ปลากัด แบ่งเป็น 4 กลุ่ม 29 ประเภท ได้แก่ 1. ปลากัดครีบสั้น 13 ประเภท 2. ปลากัดครีบยาว 5 ประเภท 3. ปลากัดป่า 6 ประเภท 4. ปลากัดกลุ่มพิเศษ 5 ประเภท ดำเนินการตัดสินโดยกรรมการตัดสินจากกรมประมง คณะประมง และภาคเอกชน ใช้เกณฑ์ตามมาตรฐานปลากัดสวยงามในประเทศไทย (ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ. 2559)

ชนิดที่ 2 ปลาหางนกยูง แบ่งเป็น 13 ประเภท ดังนี้ 1. โมเซค (Mosaic) 2. ทักซิโด้ (Tuxedo/Half black) 3. กราซ (Grass) 4. คอบบร้า/สเนคสกิน (Cobra or Snake skin) 5. แบล็คเฮด (Black Head ) 6. อัลบิโน่ โซลิด (Albino solid) 7. อัลบิโน่ แพทเทิร์น (Albino pattern) 8. ริบบอน (Ribbon), สวอลโล (Swallow) 9. ฮาร์ฟมูน (Half-Moon) 10. รวมสายพันธุ์หางเล็ก (Open Small Tail) 11. รวมสายพันธุ์หางใหญ่ (Open Big Tail) 12. Juvenile Solid 13. Juvenile Pattern ดำเนินการตัดสินโดยกรรมการตัดสินจากกรมประมง และภาคเอกชน โดยใช้มาตรฐานสายพันธุ์ปลาหางนกยูงและเกณฑ์การตัดสิน (ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ.2558) และเกณฑ์อื่น ๆ ตามที่กรรมการตัดสินกำหนด

ชนิดที่ 3 ปลาทอง แบ่งเป็น 5 สายพันธุ์ 2 รุ่น 10 ประเภท ดังนี้ 1. สิงห์รวมสายพันธุ์ 2. ออรันดาหัววุ้น 3. ริวกิ้น 4. สิงห์รวมสายพันธุ์ 5. ออรันดาหัววุ้น 6. ริวกิ้น 7. สิงห์ดำตามิด 8. หยวนเป่า,ออรันดาหางสั้น, สิงห์กระโดง (รวมทุกประเภทหาง) 9. สิงห์คาริโกะ (Calico) รวมทุกประเภทสี (ขาวดำ ซากุระ อาปาเช่ สิงห์ดำตาเปิด) 10. ปลาทอง รวมทุกสายพันธุ์ เฉพาะที่ไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1–9 ดำเนินการตัดสินโดยกรรมการตัดสินจากกรมประมงและภาคเอกชน โดยใช้เกณฑ์ตามมาตรฐานสายพันธุ์และเกณฑ์การตัดสินปลาทองในประเทศไทย (ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ. 2558)

ชนิดที่ 4 ปลาหมอสีสายพันธุ์เดิม แบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้ 1. Aulonocara Red peacock, Ruby Red 2. Aulonocara OB รวมสายพันธุ์ 3. Aulonocara Pink peacock, Golden peacock รวมสายพันธุ์ 4. Aulonocara รวมสายพันธุ์ (Original) ตาดำ 5. Aulonocara Butterfly ตาดำ รวมสายพันธุ์ 6. Non-Mbuna Albino รวมสายพันธุ์และ Hybrid 7. Non-Mbuna ตาดำ รวมสายพันธุ์และ Hybrid ดำเนินการตัดสินโดยคณะกรรมการจากกรมประมงและภาคเอกชน

ชนิดที่ 5 ปลาหมอครอสบรีด แบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้ 1. ฟลาวเวอร์ฮอร์น (Flower horn) เฉพาะขอบตาแดงเท่านั้น (ขนาดไม่เกิน 6 นิ้ว) 2. ฟลาวเวอร์ฮอร์น (Flower horn) เฉพาะขอบตาแดงเท่านั้น (ขนาด 6-7.5 นิ้ว) 3. ฟลาวเวอร์ฮอร์น (Flower horn) เฉพาะขอบตาแดงเท่านั้น (ขนาด 7.5 นิ้วขึ้นไป) 4. ปลาหมอครอสบรีดตัวสั้น (Short Body) รวมทุกสายพันธุ์ 5. ปลาหมอครอสบรีด รวมทุกสายพันธุ์ (Open) เฉพาะที่ไม่อยู่ในประเภทที่ 1–4 6. ปลาหมอครอสบรีดรวมทุกสายพันธุ์ (Open) เฉพาะที่ไม่อยู่ในประเภทที่ 1–4 7. ปลาหมอครอสบรีด (Golden Base) เฉพาะปลาลอก รวมทุกสายพันธุ์ เฉพาะที่ไม่อยู่ในประเภท 1–6 ดำเนินการตัดสินโดยกรรมการตัดสินจากกรมประมงและภาคเอกชน

ชนิดที่ 6 ปลาปอมปาดัวร์ แบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้ 1. Blue Class 2. Red Class 3. Spotted 4. Striped Pigeon Blood 5. Striped Turquoise 6. Heckel Cross and Ica Red 7. Open (ปลาทุกสายพันธุ์ที่มีลักษณะไม่ตรงตามประเภทที่ 1–6) ดำเนินการตัดสินโดยกรรมการตัดสินจากกรมประมงและภาคเอกชน โดยใช้เกณฑ์ตามมาตรฐานสายพันธุ์ และเกณฑ์การตัดสินการประกวดปลาปอมปาดัวร์ ในประเทศไทย พ.ศ. 2556

ชนิดที่ 7 ปลาเอเซียนอโรวาน่า แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. อโรวาน่าสีทองทุกสายพันธุ์ 2. อโรวาน่าสีแดง ทุกสายพันธุ์ ดำเนินการตัดสินโดยกรรมการตัดสินจากกรมประมงและภาคเอกชน

สำหรับการประกวดการจัดตู้พรรณไม้น้ำ 4 ประเภท แบ่งเป็น1. การจัดตู้พรรณไม้น้ำเลียนแบบธรรมชาติประเภทนักเรียน แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ 1. ระดับประถมศึกษา 2. ระดับมัธยมศึกษา (ม.ต้น, ม.ปลาย หรือเทียบเท่า),2. การจัดตู้พรรณไม้น้ำ ประเภทนักเรียน ความคิดสร้างสรรค์ (รวมทุกระดับชั้น) หัวข้อมังกรหรือพญานาค,3. การจัดตู้พรรณไม้น้ำ ประเภทประชาชนทั่วไป หัวข้อมังกรหรือพญานาค,4. การจัดตู้พรรณไม้น้ำ ประเภทจัดสด หัวข้อมังกรหรือพญานาคทั้งนี้ การประกวดจัดตู้พรรณไม้น้ำทุกประเภทดำเนินการตัดสินโดยคณะกรรมการตัดสินจากกรมประมงและภาคเอกชน

“งานวันประมงน้อมเกล้าฯ ครั้งที่ 34 นี้ กรมประมงขอเชิญชวนประชาชนที่มีความชอบ เเละสนใจในปลาสวยงามและการจัดตู้พรรณไม้น้ำ เข้าร่วมเเข่งขันชิงถ้วยรางวัล เเละร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริม สนับสนุนศักยภาพของเกษตรกรในการผลิตพันธุ์สัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมถึงให้ประชาชน เเละเยาวชน ได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้ชีววิทยาเเละระบบนิเวศของสัตว์น้ำที่นำมาจัดเเสดงภายในงาน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดพันธุ์สัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำเศรษฐกิจ ที่มีอยู่ในประเทศไทยเเละเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้เเก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงามเเละพรรณไม้น้ำของไทย นอกจากนั้นการเข้าร่วมชมเเละร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นภายในงาน ยังเป็นการใช้เวลาเเละส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวที่จะใช้เวลาเรียนรู้ร่วมกันอีกด้วย”นายบัญชา กล่าว

ทั้งนี้ ท่านที่สนใจสามารถดูรายละเอียดการประกวดได้ที่ Qr-code ด้านล่าง หรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการประกวดปลาสวยงามและการจัดตู้พรรณไม้น้ำได้ทาง Facebook Page กลุ่มวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ