โดย…ดลมนัส กาเจ
“ปล่อยปลานิลบ่อละ 3,000 ตัวไปก่อน 3 เดือนให้อาหารง่ายๆรำ พืชผัก พร้อมปล่อยปลากดคังอีก 5,000 ตัว พอ 3 เดือนปลานิลออกลูกปล่อยปลากรายตามปกติบ่อละ 1 หมื่นตัว พบว่า ประหยัดต้นทุนด้านอาหารจากเดิม 3 ลูก(กระสอบ) เหลือเพียงลูกครึ่งเท่านั้น”
เกษม ทับหล่าย
ผ่านไประยะหนึ่งในการเลี้ยงปลาย ของสมาชิก “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรปลากรายชัยนาท” ที่บ้านธรรมมามูล ต.ธรรมามูล อ.เมือง จ.ชัยนาท ที่มี “ เกษม ทับหล่าย” เกษตรกรวัย 51 ปี ประธานกลุ่มฯ พบว่าจากเดิมที่ปลากลายราคา กก.ละ 80-100 บาท ตกฮวลลง เหลือเพียงละ 60 บาท จึงต้องเลี้ยงปลากรายแบบครบวงจร แปรรูปเอง ทำลูกชิ้น ปลาส้ม ทอดมัน และเป็นชั้นสำหรับลวกจิ้ม ล่าสุดพบวิธีใหม่ ประยุกต์แบบผสมผสานคือปล่อยปลานิล และปลากด ลงในบ่อปลากราย พบว่าประหยัดอาหารได้ครึ่งหนึ่ง แต่รายเพิ่มมาอีก 4 ช่อทางทั้งปลกราย ปลานิล ปลากด แถมมีปลาช่อนจร ผู้มาอาศัยเองอีกด้วย
เกษม บอกว่า เริ่มเลี้ยงปลายกรายมากว่า 10 ปีแล้ว โดยใช้ที่นาเดิมที่ให้คสเช่า ตอนหลังข้าวราคาถูก คนทำขาดทุนจึงเลิกเช่า เขาขุดบ่อเลี้ยงปลายกรายเริ่มก่อน 2 บ่อ บ่อละ 1 ไร่ ขุดลึก 4 เมตร หลังจากที่มีคนรู้จักกันที่เลี้ยงปลายกรายมาก่อนที่ จ.สครสวรรค์ เห็นกำไรดี จึงไปศึกษาดูงาน
ในที่สุดเขาจึงตัดใจเลี้ยงเองเป็นเจ้าแรกของ จ.ชัยนาท ทดลอง 2 บ่อลงทุนทั้งจ้างขุดบ่อ ค่าอาหารสำเร็จรูป ตกบ่อละเกือบ 3 แสนบาท ลงปลากรอยไปบ่อละ 1 หมื่นตัว เลี้ยงไป 12 เดือนได้ปลาขนาด 8-1.2 กก.รวมแล้วได้บ่อละราว 8 ตัน ขาย กก.ละ 75-80 บาท ขายชุดแรกได้กำไรสุทธิกบ่อละกว่า 1 แสนบาท
หลังที่ เกษมเลี้ยงมาได้ 2 ปี ราคาปลากรายดีขึ้น ตลาดรับซื้อในราคา กก.ละ 90-95 บาท ทำให้เกษตรกรเลี้ยงเพิ่มขึ้น จึงจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรปลากรายชัยนาท มีสมาชิกเลี้ยงปลากรายจำนวน 32 บ่อ แต่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ราคาปลานกรายสดตกต่ำเหลือเพียง กก.ละ 60 บาท สมาชิกผู้เลี้ยงได้มีการหารือและตกลงกันว่า จะมีการแปรรูปเนื้อปลากรายครบวงจรคือขูดเนื้อสดทำเป้นลูกชิ้นปลากราย ปลาส้ม ทอดมัน ทำเป็นชิ้นสำหรับลวกจิ้ม และหาตลาดเอง สามารถขายได้ กก.ละ 200-220 บาท เพิ่มมูลค่าปลากรายที่ได้อีกระดับหนึ่ง แต่กระนั้นเขาต้องหาช่องอื่นด้วย โดยเฉพาะการลดต้นทุนในการเลี้ยง ซึ่งจะสามารถให้เกษตรกรที่เป็นจะมีรายเพิ่มได้
“มีวันหนึ่งผมไปรึกษากับทางเกษตรจังหวัดชัยนาท ได้รับการแนะนำว่า ให้ปล่อยปลานิลบ่อละ 3,000 ตัวไปก่อน 3 เดือนให้อาหารง่ายๆรำ พืชผัก พร้อมปล่อยปลากดคังอีก 5,000 ตัว พอ 3 เดือนปลานิลออกลูกปล่อยปลากรายตามปกติบ่อละ 1 หมื่นตัว พบว่า ประหยัดต้นทุนด้านอาหารจากเดิม 3 ลูก(กระสอบ) เหลือเพียงลูกครึ่งเท่านั้น” เกษม เล่า
เขา บอกอีกว่า การปล่อยปลานิลนั้นปลานิลจะออกไข่ ออกลูกเร็วมาก เพียง 3 เดือนวิ่งเต็มบ่อ หลังจากนั้นจึงปล่อยปลากราย ตัวยังไม่โต จะไล่กัดกินลูกปลานิล เป็นอาหาร ทำให้กินอาหารสำเร็จรูปน้อยลงไปครึ่งหนึ่ง ปลานิลก็ยังออกลูกไปเรื่อยๆ เป็นอาหารของปลากรายเป็นอย่างดี พออยู่นลร่วมกันทั้ง 3 ชนิดนี้ ปลายกรายจะกินลูกปลานิล ส่วนปลานิลจะกินขี้ปลายที่ลอยเหนือน้ำ ปลากด จะเก็บกินเศษอาหารที่ตกใต้ดิน อีกส่วนหนึ่งปลากรายที่เราแปรรูป เอา ขี้ไส้ พุง เชิงปลาปราย ทิ้งลงบ่อ ก็เป็นอาหารของปลากด สูตรนี้เขายืนยันว่าได้ผลมาก
ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรปลากรายชัยนาท บอกด้วยว่า หลังจากเลี้ยงไปครบ 1 ปี ปลากรายจะโตเร็วกว่าให้อาหารสำเร็จรูปอย่างเดี่ยว จนสามารถจับปลายกรายมาได้ราว 7 ตัน แม่ปลานิลซึ่งตัวใหญ่ ปลากรายกินไม่ได้ เพราะขนาดโตอีก ราว 3 ตัน ปลากดอีก 3-4 ตัน แถมมีปลาช่อที่มาเอง มากินลูกปลานิลอีก ปรากฏว่า มีรายได้เพิ่ม เพราะอาหารลดลง แต่ได้ปลาหลากหลาย ตอนนี้ที่เลี้ยงผสมผสานแบบนี้ผ่านไปชุดหนึ่ง คิดว่าการเลี้ยงปลากรายในรูปแบบจะทำให้เกษตรกรอยู่ได้
[adrotate banner=”3″]
ก็นับเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ในการแก้ปัญหาเพื่อหาทางออก ด้วยการปล่อยปลากราย ปลานิล ปลากด ในบ่อเดียวกัน ซึ่งพิสูจน์ได้แล้ว่า ต้นทุนลดการเลี้ยงลดลง ปลากรายโตเร็ว แถมมีรายได้เพิ่ม 4 ทางอีด้วย