สำนักงานประมงจังหวัดสมุ ทรสงคราม ผนึกกำลังเกษตรกร และภาคเอกชน รวมทั้ง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ นำร่องโมเดลใหม่แก้ปั ญหาปลาหมอคางดำ หลังจากปลาหมอคางดำขนาดใหญ่ถู กกำจัดออกจากแหล่งน้ำพร้อมกับช่ วยเยียวยาเกษตรกร ผ่านกิจกรรม ‘สิบหยิบหนึ่ง’ ปราบปลาหมอคางดำ โดยสนับสนุนลูกพันธุ์ ปลากะพงขาวให้เกษตรกรที่ร่ วมโครงการนำไปปล่อยลงในบ่ อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำช่วยกินตั วอ่อนของปลาหมอคางดำ บรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ลดความเสียหายของผลผลิต และสร้างการมีส่วนร่วมช่วยเพิ่ มจำนวนพันธุ์ปลาเศรษฐกิจที่เป็ นนักล่าช่วยกำจั ดปลาหมอคางดำแบบบูรณาการเศรษฐกิ จและสิ่งแวดล้อม
นายบัณฑิต กุลละวณิชย์ ประมงจังหวัดสมุ ทรสงคราม กล่าวว่า จากการระดมความร่วมมื อของหลายหน่วยงานทั้งในระดับท้ องถิ่นและภาคีภาคเอกชนบู รณาการจัดการปลาหมอคางดำอย่ างจริงจังและต่อเนื่อง ครอบคลุมกว่า 70% ของแหล่งน้ำธรรมชาติและบ่ อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัด พบปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำ เบาบางลงอย่างมีนัยสำคัญ ปลาหมอคางดำที่จับได้ตัวเล็กลง ปลาที่เป็นพ่อแม่พันธุ์หายไป เป็นแนวโน้มว่าปลาหมอคางดำในสมุ ทรสงครามลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ สมุทรสงครามยังร่วมมือกับหน่ วยงานภาครัฐ เกษตรกร และภาคเอกชนดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมปลาหมอคางดำอย่างจริ งจังและต่อเนื่อง รวมทั้งการหาแนวทางใหม่ๆ ในการจัดการปลาหมอคางดำที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น
สำนักงานประมงจังหวัดสมุ ทรสงคราม ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมื อกับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำในการดำเนินกิจกรรม “สิบหยิบหนึ่ง” โมเดลใหม่ในการกำจั ดปลาหมอคางดำแบบบูรณาการ 3 ประสาน รัฐ-เอกชน-เกษตรกร พร้อมมอบลูกพันธุ์ปลากะพงขนาด 4-5 นิ้วจำนวน 10,000 ตัวที่ได้รับการสนับสนุนจากซี เอฟ เพื่อปล่อยลงสู่บ่อเพาะเลี้ยงสั ตว์น้ำของเกษตรกร โดยแบ่งให้เกษตรกรที่ร่ วมโครงการฯ ในพื้นที่ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง 5 รายๆ ละ 1,000 ตัว และเกษตรกรในตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา 50 รายๆ ละ 100 ตัว เพื่อให้ปลากะพงขาวช่วยกำจั ดปลาหมอคางดำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ และเมื่อครบกำหนด 3 เดือน เกษตรกรจะนำปลากะพงขาวที่มี ขนาดโตขึ้นและมีขี ดความสามารถในการล่าส่งมอบคื นให้สำนักงานประมงสมุ ทรสงครามจำนวน 10% ของจำนวนปลาที่ได้รับการสนับสนุ น สำหรบนำไปปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ธรรมชาติในจังหวัดต่อไป
“กิจกรรม “สิบหยิบหนึ่ง” เป็นโมเดลใหม่ที่ประมงสมุ ทรสงครามริเริ่มขึ้น ต่อยอดหลั งจากปลาหมอคางดำขนาดใหญ่ในแหล่ งน้ำลดลง เพื่อที่จะช่วยเยี ยวยาเกษตรกรเจ้าของบ่อเพาะเลี้ ยงสัตว์น้ำได้รั บผลกระทบจากปลาหมอคางดำ และเป็นสร้างการมีส่วนร่ วมของเกษตรกรในการแก้ปัญหานี้ ควบคู่กัน ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ เกษตรกรได้เลี้ยงปลากะพงขาวซึ่ งเป็นปลาเศรษฐกิจเพิ่มรายได้ ในเวลาเดียวกัน” นายบัณฑิตกล่าว
ประมงจังหวัดสมุทรสงครามได้เริ่ มดำเนินโครงการนี้ตั้งแต่เดื อนกรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา สนับสนุนพันธุ์ปลากะพงขาวให้ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 7 รายรายละ 1,000 ตัว พันธุ์ปลากะพงขาวได้รับการสนั บสนุนจากภาคีเครือข่ายองค์ กรเอกชนซึ่งซีพีเอฟร่วมสนับสนุ นพันธุ์ปลากะพง 3,000 ตัว จากการติดตามผลพบว่ าปลากะพงขาวที่ปล่อยลงในบ่อเลี้ ยงสัตว์น้ำของเกษตรกรมีขนาดโตขึ้ น มีอัตรารอดที่ดี ช่วยกำจัดลูกปลาหมอคางดำได้มี ประสิทธิภาพ ซึ่งเกษตรกรที่ร่วมโครงการฯ กำลังเตรียมส่งคืนปลากะพงขาวที่ โตขึ้นและมีความเป็นนักล่ามากขึ้ นประมาณ 400 กว่าตัวให้กับประมงจังหวัดเพื่ อปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติต่อไป
ประมงสมุทรสงครามเดินหน้าเต็ มกำลังในการควบคุมและกำจัดปริ มาณปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำ นอกจากโครงการ ‘สิบหยิบหนึ่ง’ ยังจัดตั้ง ‘กองทุนกากชา’ ช่วยเกษตรกรยืมใช้ฟรี พร้อมรณรงค์ป้องกั นปลาหมอคางดำแพร่ระบาดสู่แหล่ งน้ำธรรมชาติ มุ่งแก้ปัญหาแบบครบวงจร ทั้งลดต้นทุนเกษตรกร และรักษาคุณภาพผลผลิตสัตว์น้ำ ให้เติบโตเต็มที่