สำนักงานประมงพื้นที่กรุ งเทพมหานคร เผยมาตรการจัดการปลาหมอคางดำที่ ดำเนินการมาตั้งแต้นปีได้ผล ปลาหมอคางดำในพื้นที่ถูกจั บออกจากแหล่งน้ำธรรมชาติและบ่ อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้มาก 421 ตัน ปลาหมอคางดำขนาดใหญ่ในแหล่งน้ำ หายไป และยังเดินหน้าบูรณาการกับภาคี เครือข่ายจัดการปลาหมอคางดำอย่ างเข้มข้น ควบคู่กับการสร้างการมีส่วนร่ วมของเกษตรกรและชุมชนฟื้นฟู ความหลากหลายทางชีวภาพของแหล่ งน้ำ
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 ประมงพื้นที่กรุงเทพมหานครจัดกิ จกรรมปล่อยผู้ล่าลงแหล่งน้ำ ธรรมชาติร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่ และผู้แทนจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกันปล่อยปลากะพงขาวในแหล่ งน้ำ 10,000 ตัว โดยแบ่งปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ 2 จุด คือ จุดแรก ปล่อย 5,000 ตัว ณ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี การเกษตรประจำตำบล คลองเกาะโพธิ์ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน และจะปล่อยอีก 5,000 ตัวในวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ที่วัดบางกระดี่ บริเวณคลองสนามชัย ในแขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน เพื่อช่วยควบคุมและตั ดวงจรการแพร่พันธุ์ ของปลาหมอคางดำในพื้นที่
นายพรพนม พรหมแก้ว ประมงพื้นที่กรุ งเทพมหานคร กล่าวว่า กรมประมงและกรุงเทพมหานครได้ ดำเนินมาตรการจั ดการหมอคางดำในพื้นที่ บูรณาการจัดกิจกรรมปลากับภาคี เครือข่าย หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ภาคเอกชน ชุมชน และเกษตรกรช่วยกันจั บปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ ธรรมชาติ และกับบ่อเลี้ยงเพาะสัตว์น้ำ ของเกษตรกร โดยเน้นในพื้นที่เขตบางขุนเทียน จนถึงวันนี้ การจัดกิจกรรมจับปลาในเขตบางขุ นเทียนสามารถกำจั ดปลาหมอคางดำไปแล้ว 421 ตัน หลังจากนี้ กรมประมงยังมุ่งจัดการปัญหาอย่ างเข้มข้น พร้อมกับติดตามสำรวจปริ มาณปลาในแหล่งน้ำเพื่ อหาแนวทางการจัดการที่ หลากหลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้ น เน้นสร้างการรับรู้และเพิ่ มการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมการนำมาใช้ประโยชน์ และบูรณาการกับภาคีเครือข่ ายภาครัฐและเอกชนช่วยกันจั ดการปลาหมอคางดำอย่างเป็ นระบบและครบวงจรมากขึ้น
“ปลาหมอคางดำในพื้นที่เขตบางขุ นเทียนลดลง หลังจากมีการบูรณาการทุกภาคส่ วนในพื้นที่กำจัดอย่างจริงจัง ว้นนี้ ขอขอบคุณซีพีเอฟที่ให้การสนั บสนุนปลากะพงขาวขนาด 4 นิ้ว ต่อจากนี้เขตบางขุนเทียนยังต้ องช่วยกันกำจัดปลาออกจากแหล่งน้ำ อย่างเข้มข้นอีก เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถควบคุ มปลาหมอคางดำได้” นายพรพนมกล่าว
สถานการณ์ปลาหมอคางดำในพื้นที่ กรุงเทพมหานครพบการแพร่ กระจายของปลาหมอคางดำมากอยู่ ในเขตบางขุนเทียนเพราะมี ลำคลองเชื่อมต่อกับสมุทรสาคร และเป็นแหล่งที่มีการเพาะเลี้ ยงกุ้งและปลาแบบกึ่งธรรมชาติ คลอบคลุมพื้นที่กว่า 10,000 ไร่ กรมประมงได้รับความร่วมมื อจากหลายหน่วยงาน อย่างซีพีเอฟช่วยรับซื้อปลาที่ จับได้ทำปลาป่น สนับสนุนปลาผู้ล่า ร่วมกับสำนักงานพัฒนาที่ดินทำน้ำ หมักชีวภาพ และกรุงเทพมหานครที่จัดกิ จกรรมรณรงค์บริโภคปลาหมอคางดำช่ วยสร้างการรับรู้และช่วยกันกำจั ดให้ปลาหมอคางดำลดลงอย่างเป็นรู ปธรรม
หลังจากนี้ประมงกรุงเทพมหานครยั งเดินหน้ามาตรการจั ดการปลาหมอคางดำอย่างเข้มข้น ประเมินมาตรการที่ทำอยู่ และหาแนวทางที่เหมาะกับพื้นที่ รวมทั้งหาวิธีใช้ประโยชน์ เช่น การพัฒนาเมนูอาหาร การหมักปลาร้า น้ำหมักชีวภาพ ขณะเดียวกัน ประมงกรุงเทพมหานครกำลังเตรี ยมหาวิธีการที่จะจั ดการปลาหมอคางดำที่อยู่ในพื้นที่ หรือบ่อรกร้ างตามแนวทางของกรมประมง รวมทั้งขอความร่วมมือกับทุกฝ่ ายในการดูแลคุณภาพน้ำ ของลำคลองซึ่งจะช่วยให้ปลาพื้ นถิ่นกลับมาอาศัยในแหล่งน้ำ ธรรมชาติเพิ่มขึ้น เป็นการสร้างความสมดุลในระบบนิ เวศอย่างยั่งยืน
นายพานทอง ชิวค้า ผู้นำเกษตรกรเลี้ยงปลาและกุ้ งในแสมดำ กล่าวว่า การปล่อยปลาผู้ล่าในวันนี้ และมาตรการจั ดการปลาหมอคางดำของกรมประมงมีส่ วนช่วยเกษตรกร เพราะปลาหมอคางดำแพร่พันธุ์ได้ เร็วมากจึงต้องเร่งช่วยกันกำจัด ในกลุ่มเกษตรกรเองมีการรณรงค์ จับปลาหมอคางดำออกจากบ่อเพาะเลี้ ยงสัตว์น้ำ ซึ่งตอนนี้ราคารับซื้อในตอนนี้ ระดับกิโลกรัมละ 15 บาทจูงใจเกษตกรให้ช่วยกันจับ จึงต้องการให้รัฐบาลช่ วยขยายเวลาเรื่องราคารับซื้ อออกไปอีก
ด้าน นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ ผู้บริหารสูงสุดสายงานรัฐกิ จและเอกชนสัมพันธ์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลามากกว่า 2 เดือนที่บริษัทได้สนับสนุนและร่ วมมือกับกรมประมง สำนักงานพัฒนาที่ดิน กรมราชทัณฑ์ สถาบันการศึกษา ชุมชน และเกษตรกรดำเนิน 5 โครงการจัดการปลาหมอคางดำ โดยเน้นการกำจั ดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำผ่ านการรับซื้อทำปลาป่นใกล้ถึงเป้ าหมาย 2 ล้านตัน สนับสนุนกิจกรรม “ลงแขกลงคลอง” แล้ว 53 ครั้งสามารถจับปลาหมอคางดำได้ 30,000 กิโลกรัม และสนับสนุนปลาผู้ล่ารวมแล้ว 100,000 ตัว พร้อมร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ และสถาบันการศึกษาเพิ่มมูลค่ าผลิตเป็นน้ำปลา และเมนูอาหารต่างๆ ส่งเสริมการบริโภคเพื่อกำจั ดปลาชนิดนี้อย่างเป็นระบบและยั่ งยืน