ประมงจังหวัดสมุทรสงคราม-สมุทรสาคร ยืนยันว่ามาตรการจัดการปั ญหาปลาหมอคางดำย่ างต่อเนื่องเกิดผลดี ส่งผลให้ทั้งสองจังหวั ดพบปลาลดลงอย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่ซีพีเอฟ ยังเดินหน้าสนับสนุ นกรมประมงดำเนิน 5 มาตรการในการจั ดการปลาหมอคางดำอย่างต่อเนื่อง เน้นการสนับสนุนปลาผู้ล่าเพื่ อปล่อยลงในแหล่งน้ำ ตามแนวทางของกรมประมง
นายเผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า จากการดำเนินมาตรการกำจั ดปลาหมอคางดำอย่างต่อเนื่อง จังหวัดสมุทรสาครสาครสามารถกำจั ดปลาหมอคางดำได้แล้ว 1,662,879 กิโลกรัม จนถึงวันนี้ชาวประมงจั บปลาหมอคางดำได้ลดลง จากเดิมเรืออวนรุนเคยจั บปลาหมอคางดำได้เที่ยวละ 1-2 ตันแต่มาวันนี้จับได้เพี ยงเที่ยวละ 300 กิโลกรัม บางทีเหลือเพียง 100 กิโลกรัม ดังนั้น ประเมินได้ว่าแหล่งน้ำธรรมชาติ ในจังหวัดสามารถกำจั ดปลาหมอคางดำแล้ว 70-80% ของปลาหมอคางดำที่อยู่ ในแหล่งน้ำ
ขณะที่ นายบัณฑิต กุลละวณิชย์ ประมงจังหวัดสมุทรสงคราม อธิ บายว่า จังหวัดสมุทรสงครามร่วมมือกับทุ กภาคส่วนจับปลาในแหล่งน้ำ ธรรมชาติมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทุกวันนี้ปลาหมอคางดำที่ จับได้จำนวนลดลง และปลาที่จับได้ส่วนใหญ่มี ขนาดเล็กลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปลาที่เป็นพ่ อแม่พันธุ์หายไปจากแหล่งน้ำ ขณะนี้ จังหวัดสมุทรสงครามจะเน้นส่ งเสริมการลดจำนวนปลาในบ่ อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกร และส่งเสริมการนำปลามาใช้ ประโยชน์และการบริโภคให้มากขึ้น เป็นแนวทางที่จะช่วยควบคุ มจำนวนปลาได้ผลลัพธ์ที่ดี
ด้าน นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ ผู้บริหารสูงสุดสายงานรัฐกิ จและเอกชนสัมพันธ์ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า นับตั้งแต่ ซีพีเอฟ โดยนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ได้ประกาศแผนปฏิบัติการเชิงรุก 5 โครงการเร่งด่วนลดปริ มาณปลาหมอคางดำตั้งแต่เดื อนกรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ซีพีเอฟ เดินหน้าบูรณาการความร่วมมือกั บกรมประมงและภาคีเครือข่ายทั้ งโรงงานปลาป่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ผู้นำชุมชน ชาวประมง และชุมชน ช่วยกันกำจัดปลาหมอคางดำในทุกพื้ นที่
จนถึงวันนี้ บริษัทได้ร่วมกับโรงงานศิริ แสงอารำพี จังหวัดสมุทรสาครรับซื้ อปลาหมอคางดำเพื่อผลิตปลาป่นแล้ วมากกว่า 1,845,000 กิโลกรัมและยังรับซื้ อต่อเนื่องตามเป้าหมายที่ 2,000,000 กิโลกรัม การสนับสนุนกรมประมงจั บปลาออกจากแหล่งน้ำธรรมชาติใน 18 จังหวัดรวม 52 ครั้ง สามารถช่วยกำจัดปลาออกจากแหล่ งน้ำได้กว่า 30,000 กิโลกรัม พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดกิ จกรรมจับปลาออกจากแหล่งน้ำในทุ กพื้นที่ จากการดำเนินมาตรการอย่างจริงจั งส่งผลให้หลายพื้นที่ พบปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำมี จำนวนลดลง
สำหรับในเดือนตุลาคมนี้ บริษัทยังเดินหน้าบูรณาการภาคี เครือข่ายในการกำจั ดปลาหมอคางดำต่อเนื่อง นอกจากสนับสนุนการจั บปลาออกจากแหล่งน้ำแล้ว ยังเน้นสนับสนุนปลาผู้ล่าเพื่ อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำที่จั บปลาขนาดใหญ่ ออกตามแนวทางของกรมประมง สำหรับในเดือนตุลาคมมีแผนสนั บสนุนปลาผู้ล่าอีก 10,000 ตัวแก่เขตบางขุนเทียนเพื่อช่ วยกำจัดปลาหมอคางดำขนาดเล็ กในแหล่งน้ำ ที่ผ่านมา ซีพีเอฟได้มอบปลากะพงขาวขนาด 4-5 นิ้วเพื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ในจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร ระยอง จันทบุรี ชลบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา รวม 90,000 ตัว ซึ่งกรมประมงจะมีการเก็บข้อมู ลเพื่อติดตามผลหลังจากปล่ อยปลาผู้ล่า
นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังมุ่งเน้นบู รณาการความร่วมมือกับองค์กรต่ างๆ หาแนวทางการใช้ประโยชน์ ปลาหมอคางดำ สนับสนุนให้มีการจั บปลาออกจากแหล่งอย่างเป็นระบบ เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ และกรมประมง สนับสนุนให้เรือนจำกลางสมุ ทรสงครามนำปลาหมอคางดำที่จับได้ มาหมักทำเป็นน้ำปลาตรา “หับเผย แม่กลอง” ทำน้ำหมักชีวภาพ และสับละเอียดทำเป็นอาหารเลี้ ยงเป็ดและเลี้ยงปลา รวมทั้งฝึกเป็นทักษะอาชีพให้กั บผู้ต้องขัง ซึ่งตั้งเป้าจะช่ วยนำปลาหมอคางดำมาใช้ประโยชน์ ได้ 5,000 กิโลกรัม
ก่อนหน้านี้ ซีพีเอฟได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลั ยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร นำนวัตกรรม “กล้าเชื้อปลาร้า” ไปใช้ในการหมักปลาร้าช่ วยลดระยะเวลาในการหมักปลาได้ มากกว่า 50% ไม่ต้องรอนาน 1-2 ปี ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้ นนำพัฒนาเมนูอาหาร ร่วมทั้งร่วมมือกับโรงแรมในจั งหวัดนครศรีธรรมราชพัฒนาเมนู อาหารเพื่อ เพิ่มการบริโภคปลาหมอคางดำมากขึ้ นตามแนวทางของกรมประมงที่จะส่ งเสริมให้เกิดการจั บปลาออกจากแหล่งน้ำอย่างเป็ นระบบและยั่งยืน.