กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดนโยบายในการขับเคลื่อน ”เกษตรกรรมยั่งยืน” ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญในการพัฒนา มีเป้าในปี 2564 ประเทศไทยจะมีพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน กว่า 5 ล้านไร่ เพื่อพัฒนาและยกระดับเกษตรกรไทยให้พ้นจากความยากจน
สำหรับเกษตรกรรมยั่งยืนประกอบด้วย 1.เกษตรทฤษฎีใหม่ ที่แบ่งพื้นที่ 30:30:30 :10 คือคือ ขุดสระร้อยละ 30 ปลูกข้าวร้อยละ 30 ปลูกพืชไร่ พืชสวน ร้อยละ 30 ที่อยู่อาศัยร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด, 2. การเกษตรแบบ “วนเกษตร” ซึ่งเป็นระบบการเกษตรที่เลียนแบบป่าธรรมชาติ นำเอาหลักการความยั่งยืนถาวรของระบบป่าธรรมชาติ มาเป็นแนวทางในการทำการเกษตร อาทิ การปลูกพืชเกษตรแซมในพื้นที่ป่าธรรมชาติ การนำสัตว์ไปเลี้ยงในป่า การเก็บผลผลิตจากป่ามาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และการใช้พื้นที่ป่า ทำการเพาะปลูกสลับกับการปล่อยให้ฟื้นคืนสภาพกลับไปเป็นป่า รวมถึงการสร้างระบบเกษตรให้มีลักษณะเลียนแบบระบบนิเวศป่าธรรมชาติ มีไม้ยืนต้นหนาแน่นเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ระบบมีร่มไม้ปกคลุม และมีความชุ่มชื่นสูงเป็นต้น
3.เกษตรผสมผสาน ปลูกพืชผสมผสานกับการปศุสัตว์ในพื้นที่เดียวกัน, 4.เกษตรอินทรี คือการทำการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติ บนพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศเพื่อส่งเสริมความอุดสมสมบูรณ์ของดิน ความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม,และ 5. เกษตรธรรมชาติคือเป็นแนวทางเกษตรกรรมที่ยึดหลักสำคัญ 4 ประการ คือ ไม่มีการไถพรวนดิน งดเว้นการใส่ปุ๋ย ไม่กำจัดวัชพืช และไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ฟังคลิปประกอบ)