ถึงเวลาแก้ปัญหาคลื่นเซาะตลิ่งต้องเป็นวาระแห่งชาติ

  •  
  •  
  •  
  •  

อาหมัด เบ็ญอาหวัง

“ปัญหาน้ำกัดเซาะตลิ่งตามแนวชายหาด จึงจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี และถึงเวลาที่รัฐบาลควรจะบรรจุว่าปัญหาน้ำเซาะตลิ่งชายฝั่งทะเลนั้น ต้องเป็นวาระแห่งชาติ”

    แม้ที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2550 รัฐบาลจะประกาศ “ยุทธศาตร์การจัดการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำเชาะตลิ่งฝั่งทะเล” มาแล้วก็ตาม แต่วันนี้ปัญหาน้ำหรือคลื่นเซาะติ่งตามแนวชายทะเลของไทยนั้นยังเป็นปัญหาอย่างใหญ่หลวงของเกษตรกรที่อาศัยทำมาหากินตามชายฝั่ง ถือว่าเกิดความสูญเสียทรัพย์สินของประชาชนเพราะบางคนนั้นมีที่อันน้อยนิดถูกทะเลกลืนไปหมดแล้ว เหหลือแต่เอกสารสิทธิ์ รวมถึงทรัพย์สินของทางราชการ นอกจากนี้ยังทำให้เสียทัศนียภาพ และทำลายธุรกิจท่องเที่ยวอีกด้วย

        ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยนั้นมีความยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร(ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) และมีจำนวนประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 12 ล้านคน เป็นชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาว 1,660 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่รวม 17 จังหวัด อันได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส

   

        ส่วนชายฝั่งทะเลด้านอันดามันอีก มีความยาว 954 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่รวม 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ซึ่งในจำนวนนี้เป็นหาดทรายกว่า 52 % และตลอดแนวชายฝั่งนั้น ล้วนแต่มีความสำคัญในด้านการเป็นที่อยู่อาศัย เป็นพื้นที่เพื่อการเกษตร บางส่วนเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และในเชิงพาณิชย์ การท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่อนุรักษ์และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์
ตามข้อมูล ระบุว่า ปัญหาการน้ำกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทยเฉลี่ยผืนแผ่นดินถูกน้ำกัดเซาะหรือทะเลกลืนลงไปลึกกว่า 5.0 เมตรต่อปี ไม่ใช่น้อยครับ บางพื้นที่มีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่า 25 เมตรต่อปี โดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทยการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจะมากกว่าด้านอันดามัน ลองคิดดูตลอดแนวความยาวของชายฝั่งประมาณ 2,600 กิโลเมตร พื้นที่ทำกินของเกษตรหายไปเท่าไร คำนวนแล้วพื้นที่ถูกทะเลกลืนไปเท่าไร

        จากการสังเกตุแต่ละปีดูเหมือนว่า การกัดเซาะชายฝั่งทะเลในหลายพื้นที่มีแนวโน้มจะมีความถี่มากขึ้นและยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้นปัญหาน้ำกัดเซาะตลิ่งตามแนวชายหาด จึงจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี และถึงเวลาที่รัฐบาลควรจะบรรจุว่าปัญหาน้ำเซาะตลิ่งชายฝั่งทะเลนั้น “ต้องเป็นวาระแห่งชาติ”

         สำหรับสาเหตุนั้น เกิดจากลมมรสุมและพายุ จะทำให้เกิดคลื่นลมเคลื่อนเข้าปะทะชายฝั่ง ทำให้มีการพัดเอามวลทรายออกจากพื้นที่ชายฝั่งในช่วงเวลาหนึ่ง และจะพัดเอามวลทรายกลับมาในอีกช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจจะทำให้มวลทรายที่ถูกพัดพาออกไปจากชายฝั่ง และมวลทรายที่ถูกพัดพาเข้ามานั้นไม่สมดุลกัน เกิดจากน้ำขึ้น-น้ำลง ส่งผลต่อการเคลื่อนตัวของตะกอนดินเลน และมวลทรายบริเวณชายฝั่ง ซึ่งอาจจะเกิดความไม่สมดุลดังเช่นที่เกิดกับลมมรสุมและพายุ

       อีกสวนหนึ่ง เกิดจากการกระทำของมนุษย์ อาทิ การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง เพื่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้มีการก่อสร้างต่างๆ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น การสร้างนิคมอุตสาหกรรม การสร้างเส้นทางคมนาคมขนส่ง การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพทางธรณีวิทยาของชายฝั่ง ทรัพยากร และระบบนิเวศในบริเวณนั้น ทำให้ขาดความสมดุล และนำไปสู่การเกิดการกัดเซาะชายฝั่งได้ง่าย รวมถึงการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกิดการชะลอตัวการสูบน้ำบาดาล มีส่วนทำให้เกิดการทรุดตัวของดิน พร้อมกับมีส่วนทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งได้ด้วยเช่นกัน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก เป้นต้น

      อย่างลืมนะครับว่า ทุกครั้งที่เกษตรกรประสบภัย ไม่ว่าจะเกิดจากน้ำท่วม พายุ ภัยแล้ง ที่สร้างความเสียหายแก่เกษตรกร รัฐบาลมีงบประมาณชดเชยให้ ว่ากันเป็นกรณีๆไป เมื่อภัยพิบัติผ่านพ้น เกษตรกรยังสามารถทำการเพาะปลูกได้อีก แต่คลื่นเซาะตลิ่งตามแนวชายฝั่งทะเลนั้น พื้นที่หายไปเลย ไม่สามารถที่จะเพาะปลูกได้อีก ถือเป็นการประสบกับหายนะอย่างถาวรและยั่ง เพราะไม่มีพื้นที่กิยอีกเลย ไม่ค่อยเห็นรัฐบาลจัดสรรงบประมาณไปชดเชยในส่วนนี้เลย

      ถึงเลาแล้วครับที่รัฐบาลควรมาเลี้ยวแล มาแก้ปัญหานี้นี้อย่างจริงจัง และการปัญหาน้ำเซาะตลิ่งตามแนวชายทะเลต้องเป็น”วาระแห่งชาติ” ครับ!!