“ในหลวง ในความทรงจำ” ของคนไทย

  •  
  •  
  •  
  •  

เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9  ในวันที่ 13 ตุลาคม 2561 นี้      พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯเตรียมจัดงาน “ในหลวงในความทรงจำ” ขึ้นระหว่างวันที่ 12-14 ตุลาคม  61   เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งคนไทยทั้งแผ่นดินต่างประจักษ์แล้วว่า พระองค์ทรงงานเพื่อพสนิกรไทยด้วยพระหฤทัยที่มุ่งมั่นและหวังให้ประชาชนไทยได้อยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืน     โดยเฉพาะทางด้านการเกษตรทรงพระราชทานหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง และนวัตกรรมทางด้านการเกษตร   เพื่อเป็นแนวทางให้แก่เกษตรกรไทยเพื่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต

นายสหภูมิ   ภูมิธฤติรัฐ   ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   กล่าวว่า       ปัจจุบันสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯมีหน้าที่หลักในการเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางด้านการเกษตร  ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญา นวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง วิถีเกษตรไทย ในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อจุดประกายความคิด สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าชม ซึ่งประกอบด้วยเยาวชน เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ได้เรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การจัดงาน “ในหลวงในความทรงจำ” นับเป็นอีกกิจกรรมสำคัญที่พิพิธภัณฑ์เกษตรใครเชิญชวนคนไทยร่วมแสดงพลังความรัก ความทรงจำที่มีต่อในหลวง รัชกาลที่ 9  เพื่อน้อมรำลึก ในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิของพระองค์ท่านโดยผ่านกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย ประกอบด้วย

โซนแรก  เกี่ยวกับ นิทรรศการพิเศษ หัวข้อชุมชน บุคคลน้อมนำ และ พระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9การจัดแสดงต้นชาอัสสัม     นำเสนอเรื่องราวของชาอัสสัมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานให้กับกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงทางภาคเหนือ ปลูกเพื่อสร้างอาชีพและรายได้    พร้อมกับอบรมปฏิบัติการ 3 วิชา    การจัดแสดงกาแฟ นำเสนอเรื่องราวของต้นกาแฟที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานให้กลุ่มชาติพันธุ์บนที่สูงทางภคเหนือปลูกทดแทนการปลูกฝิ่น เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ โดยมีการนำเสนอต้นกาแฟ  ลูกกาแฟ การคั่วกาแฟ การบด การชงกาแฟ พร้อมกับอบรมปฏิบัติการ 3 วิชา

การจัดแสดงปลานิล “โปรตีนพระราชาทานจากพระราชา”  นำเสนอความสำคัญของปลานิลที่สร้างอาหารและสร้างเศรษฐกิจของประเทศเป็นการสานต่องานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานเป็นแนวทางให้เกษตรกรได้นำไปใช้ พร้อมกับอบรมปฏิบัติการ 3 วิชา    การอบรมปฏิบัติการเรื่องการขยายพันธุ์มะม่วงมหาชนก   การจัดแสดงเรื่องการราวการน้อมนำการสร้างอาชีพด้วยการเลี้ยงวัวนม  อาชีพพระราชทานจากสายพระเนตรยาวไกลที่ทรงเล็งเห็นว่าอาชีพการเลี้ยงโคนมจะช่วยให้ชาวไทยได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าและเกษตรกรไทยได้มีอาชีพที่มั่นคง นำเสนอเรื่องราวการน้อมนำและปรับประยุกต์โรงสีข้าวขนาดใหญ่มาให้เป็นขนาดเล็กและเกษตรกรสามารถบริหารจัดการเองได้

นอกจากนี้ยังมีพืชเมืองหนาวนับเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เกิดจากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระองค์ท่าน  ซึ่งทรงได้พระราชทานพืชผัก ผลไม้ เมืองหนาวให้คนไทยได้ปลูก และสร้างอาชีพ สร้าง     การจัดแสดงการทำโซล่าเซลล์ และเรื่องราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเรื่องโซลาเซลล์ให้ประชาชนใช้ทดลองใช้เพื่อลดต้นทุนและใช้ในพื้นที่ห่างไกล    การจัดแสดงการปลูกยางนาและการนำยางนามาทำเป็นไบโอดีเซลล์ นำเสนอเรื่องราวจากต้นยางนาเป็นพลังงานทดแทนน้ำมันดีเซลช่วยลดทุนการเกษตรเป็นการต่อยอด นำภูมิปัญญาชาวบ้าน บวกกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการเกษตร

[adrotate banner=”3″]

ส่วนโซนที่ 2 เป็นนิทรรศการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประกอบด้วย นิทรรศการชุด “รอยยิ้มของพ่อ” จัดแสดงเรื่องราวภาพรอยยิ้มของพ่อ ภาพเสด็จไปยังภูมิภาคต่าง ๆ การทรงงานของพระองค์ท่าน และจัดแสดงสิ่งพิมพ์  วัตถุสิ่งของที่เกี่ยวเนื่อง และ การเขียนข้อความแสดงการน้อมรำลึก ณ โถงอาคาร 1   นิทรรศการเสด็จเยือนพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ  บริเวณด้านหน้าป้ายพิพิธภัณฑ์การเกษตร   นิทรรศการภาพวาดศิลปะร่วมสมัย “ในหลวง ในความทรงจำ” โดยศิลปินทั่วประเทศ จำนวน 50 คน เพื่อน้อมรำลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ณ อาคาร 2   นิทรรศการภาพวาด “ในหลวง ของปวงชน” ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ในรัชกาลที่ 9 โดยศิษย์เก่าคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 5 ชั้น 3

โซนสุดท้ายโซนที่ 3 เป็นการเผยแพร่องค์ความรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับประชาชนทั่วไปโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ประกอบด้วย   การอบรมวิชาของแผ่นดิน วันละ 4 วิชา รวม จำนวน 12 วิชา ณ อาคาร 2 โดยวิทยากรผู้ปฏิบัติจริง  ได้แก่ เกษตรพอเพียงตามรอยพ่อ เกษตรผสมผสาน  ไผ่:ไม้สารพัดนึก บันได 9 ขั้นสู่ความยั่งยืน  จิ้งหรีดเลี้ยงง่ายกำไรงาม เกษตรสร้างสุข ทฤษฎีไร่นาสวนผสม และ ๑ ไร่วัยทำงาน การทำสารชีวภัณฑ์กำจัดแมลงโรคพืช  โซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร สวนผสมผสานตามอย่างพ่อ และ ๑ ไร่รอบบ้าน สร้างสวนเกษตรธรรมชาติ การอบรมเชิงปฏิบัติการ วันละ 2 วิชา รวม จำนวน 6 วิชา ณ พื้นที่ลานมาเรียน ได้แก่ การทำน้ำสลัดงาญี่ปุ่น  การทำสบู่น้ำมันธรรมชาติ การทำข้าวเกรียบผักหวานป่า ต้นผักตบชวาปลูกผัก การทำเต้าหู้ถั่วเหลือง และ การทำหัวเชื้อไตโครเดอร์มาสำหรับพืช และโซนที่ 4 เป็นการจัด ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง  ณ บริเวณทางเดินเชื่อมต่ออาคารเฉลิมพระเกียรติฯ  โดยความร่วมมือของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯทั้ง 4 ภาค และภาคีความร่วมมือ จำหน่ายอาหารท้องถิ่น ผลผลิต ผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย จำนวนกว่า 200 บูท

“พิพิธภัณฑ์เกษตรจึงขอเชิญชวนคนไทยร่วมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9  อย่างพร้องเพียง ณ. สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรอย่างพร้อมเพียงระหว่างวันที่ 12-14 ต.ค. 61นี้  โดยวันที่ 13 ต.ค. 61 จะมีการแสดงเป่าขลุ่ยบทเพลงพระราชนิพนธ์ โดยศิลปินแห่งชาติ นายธนิสร์ ศรีกลิ่นดี พร้อมกับการวาดภาพโดยเหล่าศิลปิน 9 คน การแสดงบทเพลงพระราชนิพนธ์ และเพลงที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และการขับเสภารัชกาลที่ 9 กับการเกษตรโดยศิลปิน นายนพพร เพริศแพร้วอีกด้วย   ” นายสหภูมิ    กล่าว