โดย …อาหมัด เบ็ญอาหวัง
พลันที่ มติที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ไม่ยกเลิกการใช้สาร “พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต” ตามมติเดิมของ 5 กระทรวงหลัก ที่มีกระทรวงสาธารณสุขเป็นหัวเรือใหญ่ ทำให้ฝ่ายที่สนับสนุนให้ยกเลิกออกอาการ และมีการนัดรวมพลคนไม่เอา”พาราควอท” ฉับพลัน ทันที ถึงขนาดประกาศ และชักชวนผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อระดมพล “คนไม่เอาพาราควอท”ครั้งใหญ่ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 5 มีถุนายน 2561
ทุกคน ทุกกลุ่ม ย่อมมีเหตุผลเป็นของตัวเอง มีเหตุผลด้วยความบริสุทธิ์ เพราะศึกษาด้านเดียว หรืออัคติเป็นกสนส่วนตัวกับสารเคมี แต่มีจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่มีเหตุผลที่มีนัยซ่อนเร้น และมีเบื้องหลังเพื่อพรรคพวก หรือพวกพ้อง ได้มีผลประโยชน์ จึงออกอาการยอมหัก ไม่ยอมงอ ค้านยันเตจนหัวชนฝา
สำหรับมติของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่ไม่ยกเลิกการใช้สารพาราควอต ในครั้งนี้ด้วยเสียง 18 ต่อ 6 จากคณะกรรมการชุดนี้ที่ร่วมลงความเห็นทั้งหมด 24 คน โดยมติที่ประชุมฯ ให้จำกัดการใช้สารเหล่านี้แทน
นั่นแปลว่า เกษตรกรยีงสามารถใช้สารเคมีกำจัดหญ้า “พาราควอต” ได้ไปต่อ โดยอ้างข้อมูลผลกระทบด้านสุขภาพไม่เพียงพอ และมอบให้กรมวิชาการเกษตรเป็นแม่งาน ในการไปออกมาตรการการควบคุมเพื่อนำเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตรายอีกครั้งภายใน 2 เดือน ดูทั้งเรื่องการซื้อขาย กลุ่มผู้ซื้อ ผู้ขาย และผลกระทบต่อสุขภาพทั้งหมด
แต่กระนั้นสารทั้ง 3 ชนิด ยังถูกกำหนดให้เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 3 ตามพ.ร.บ.วัตถุอันตรายเช่นเดิม และที่ประชุมมองว่ายังไม่เห็นว่ามีความจำเป็นต้องแก้ไข และที่สำคัญคณะกรรมการชุดนี้ มองถึงในเรื่องของสารทดแทนพาราควอตด้วย พบว่าราคาแพง และกำจัดศัตรูพืชได้บางชนิด ไม่ครอบคลุมกำจัดศัตรูพืชได้ทั้งหมดในวงกว้างเหมือนพาราควอต
เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ก่อนหน้านี้ ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยืนยันว่า ผลจากการประชุม ร่วมกับ นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมบูรณ์ ยินดียั่งยืน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นักวิชาการ และตัวแทนภาคประชาชนที่ทำงานด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หาข้อสรุปการระงับใช้สาร “พาราควอต” ในภาคเกษตรกร ยังยืนยันมติเดิมของคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ให้มีการระงับสารพาราควอตภายใน 2 ปี
จากวันนี้เป็นต้นมา เรื่องที่จะให้แบนสารเคมีกำจัดหญ้า “พาราควอต” กลายเป็นประเด็นของความขัดแย้งทางความคิดและข้อมูลทางวิทยาศาตร์ ระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนให้แบน กับฝ่ายที่คัดค้าน ที่ต่างก็งัดเหตุและผลมาอ้างอิ่งกันอย่างกว้างขวาง
ผู้สนับสนุนให้มีการแบนยกแม่น้ำทั้ง 5 อ้างงานวิจับว่า ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และหลักฐานเชิงประจักษ์ชี้ชัดว่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิดมีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพาราควอตที่มีพิษเฉียบพลันสูงต่อมนุษย์ และมีผลกระทบเรื้อรังต่อสุขภาพ เช่น ก่อโรคพาร์กินสัน สมองเสื่อม แม้ใส่อุปกรณ์ป้องกันยังสามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายได้โดยการสัมผัสทางผิวหนังรวมทั้งบาดแผล แล้วซึมเข้าร่างกายจนเกิดอันตรายถึงชีวิต ทั้งยังพบตกค้างในอาหาร สิ่งแวดล้อม และมนุษย์
ฝ่ายที่คัดค้านทั้งเกษตรกร กลุ่มนักวิชาการ คณะแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญ ด้านพิษวิทยา ระบบสมอง วัชพืช ระดับศาสตราจารย์ ยืนยัน พาราควอตยังมีความจำเป็นต่อภาคเกษตรและมองว่างานวิจัยของกลุ่มที่ต้องการให้แบนได้มาอย่างไร
มีคณะแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญ ด้านพิษวิทยา ระบบสมอง วัชพืช ระดับศาสตราจารย์ ต่างออกมายืนยันว่า พาราควอท ไม่น่ากลัวที่อ้างงานวิจัย และยืนยันไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตอื่นที่อยู่ในดินและน้ำ หากเกษตรกรใช้ตามคำแนะนำ และยังยืนไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรคเนื้อเน่าอย่างแน่นอน และงานวิจัย ที่อ้างพบเลือดของผู้หญิงใกล้คลอดและเลือดสายสะดือทารกมาอย่างไร เลยสงสัยว่า วิจัยกันอย่าง วิจัยที่มีนัยในเชิงธุรกิจหรือไม่
กระทั่งในที่สุด มติที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ไม่ยกเลิกการใช้สาร “พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต” ดังกล่าว
นับเป็นทางออกที่เหมาะสม และเป็นกลางที่สุดสำหรับปัญหานี้ เพราะสารเหล่านี้ยังมีความจำเป็นสำหรับเกษตรกรไทย และหลายประเทศที่ยังใช้อยู่ราว 83 ประเทศบนโลกใบนี้ก็มีกรอบและขอบเขตในการใช้อย่างเหมาะ และมีการควบคุมอย่างเคร่งครัด
ที่สำคัญ ที่เราควรมาทบทวนเป็นอย่างยิ่ง ก็คือองค์การอนามัยโลกจำแนก หรือ WTO ระบุว่า สารพาราควอต ได้รับการจัดอยู่ในกลุ่ม II “อันตรายปานกลาง” เป็นพิษน้อยกว่า “นิโคติน” ที่พบในยาสูบเสียอีก จึงมองว่า การสนับสนุนให้แบน มีวาระซ่อนเร้นหรือไม่อย่าง และที่น่าฉงน กลุ่มผู้ที่ต้องการให้แบน กลับสนับสนุนให้ใช้ “กลูโฟซิเนต” แทน เสมือหนึ่งว่าใส่ร้าย เมียเก่า เพื่อต้องการเอาเมียใหม่มา มันก็คือเมีย ทั้งพาราควอต และกลูโฟซิเนต มันคือสารเคมีที่จำจัดหญ้าเหมือนกันครับ
ข้อความที่ส่งผ่านสื่อออนไลบ์
การรวมพลคนไม่เอา”พาราควอท” ฉับพลัน ทันที ในวันที่ 5 มีถุนายน 2561 ย่อมมีสิทธิทำใด้ แต่…สำหรับ “เกษตรทำกิน” แม้จะเป็นเว็บไซต์เล็กๆที่เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการเกษตรทั้งต้นน้ำยันปลายน้ำ เสนอเรื่องราวด้านอาชีพ ผลิตภัณฑ์ชุม จะอยู่นอกสายตาของผู้ที่กระหายต้องการให้ยกเลิกการใช้ การนำเข้าสารเคมีพาราควอทก็ตาม
แต่….เราขอยืนหยัด ที่จะอยู่ฝั่งที่ถูกต้อง เหมาะสม ที่มีเหตุผลทางวิทยาศาตร์ และงานวิจัยที่เป็นกลางที่สามารถอ้างอิงได้ เพื่อผลประโยชน์ภาคการเกษตรของประเทศ ที่จะนำไปสู่การอยู่ดีกินดีของเกษตรกรและความมันคั่งและมั่นคงด้านอาหารและเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลัก
เราขอยืนยันว่า สารเคมียังมีความจำเป็นต่อภาคการเกษตร และภาคส่วนอื่นๆด้วย แต่กระนั้นเข้าใจดีว่า ถ้าขึ้นชื่อคำว่า “สารเคมีจำกัดพืช หรือกำจัดแมลง” มันเป็นพิษและอันตรายทั้งนั้น อันตรายทั้งชีวิต และสิ่งแวดล้อม รวมถึงระบบนิเวศน์วิทยา ถ้าเราใช้อย่างไม่ถูกต้อง
เพียงแต่ว่า เราจะใช้อย่างไรให้อันตรายน้อยที่สุด หรือถ้าเลี่ยงได้ก็ยิ่งดีเป็นทวีคูณ เพราะทุกคนย่อมมีสิทธิที่ต้องการให้สุขภาพของตัวเองสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรและผู้บริโภคอาหารที่มาจากภาคการเกษตรก็ตาม
ทุกปัญหาย่อมมีทางแก้ไขและแก้ปัญหาครับ ไม่ใช่ใช้วิธีตัดปัญหา อันเป็นวิธีการที่โลกไม่ปราถนา อย่างยกตัวอย่างให้เห็นจากกรณีที่ปวดปลายนิ้วต้องไปหาหมอ เพื่อหาแนวทางรักษาให้ตรงกับโรค ไม่ใช่ตัดนิ้วทิ้งแล้วมารักษาแผลโค่นนิ้ว ที่อาจเป็นแผลใหญ่กว่า และสาหัสกว่า
[adrotate banner=”3″]
ดุจเดียวกับพาราควอท ที่มันอันตรายเพราะเหตุใด ใช้เยอะไปหรือไม่ ใช้ผิดช่วงจังหวะเวลาหรือใช้ผิดประเภทหรือเปล่า ต้องหาสาเหตุที่มาว่า เกิดจากอะไร บ่อเกิดแห่งเหตุทั้งหลายทั้งปวงมาจากไหน
ทุกวันนี้เรามองแต่ภาคการเกษตรที่ใช้สารเคมีอย่างมหาศาล เพราะเราเห็นเกษตรกรใช้สารเคมี ณ ที่โจ่งแจ้ง ไม่ปิดบัง แต่ในภาคอุตสาหกรรม ที่อยู่ในมุมมิดชิด ห้ามบุคคลภายนอกเข้า เราไม่มีโอกาสที่จะเห็น เราจะไม่สามารถทราบได้เลยว่า เขาใช้สารเคมีไปเท่าไร
เคยมีบางผลิตภัณฑ์ที่ไม่ส่งให้ อย.มากมาย และขายกันอย่างโจ่งครึ่ม ไม่ทราบเลยว่ามีสารเคมีอันตรายมากน้อยเพียงใด้ บางคนใช้ยาสีฟันที่อ้างว่าสมุนไพร ใช้กันติดต่อเป็นปี ฟันร่วงทั้งแทบในวัยอันไม่ควร ก็พบมาแล้ว
“เกษตรทำกิน” ขอสนับสนุนขอสนับสนุนมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพราะอย่างไรเสีย ณ วินาทีสารพาราควอท ยังมีความจำเป็นต่อภาคการเกษตร ในยุคที่ภาคการเกษตรกำลังประสบปัญหาด้านเรงงาน และต้นทุนการผลิตสูง และเรากำลังเดินเข้าสู่การเกษตรรแปลงใหญ่ แต่ต้องใช้อย่างถูกวิธี
ถึงเวลาแล้วครับ ที่ให้เราต้องร่วมมือร่วมใจสร้างระเบียบ สร้างวินัย สร้างกติกา และสร้างกฏระเบียบข้อบังคับ ให้ผู้ที่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมีในภาคเกษตร และอุตสากกรมใช้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี ให้มีความปลอดภัยมากที่สุด หากมีการฝ่าฝืนต้องมีบทลงโทษในสถานหนัก ฐานที่เป็นผู้บันทรสุขภาพพลานามัยของคนอื่นให้เกิดอันตราย หรือพูดกันง่ายๆต้องกำหนดกรอบอย่างเคร่งครัดนั่นเองครับ!