สงสัยงานวิจัย“พาราควอต” ผลประโยชน์หรือ“ขี้หกทั้งเพ”

  •  
  •  
  •  
  •  

   สงสัยงานวิจัย“พาราควอต” ผลประโยชน์ หรือ“ขี้หกทั้งเพ”

โดย…อาหมัด  เบ็ญอาหวัง

    

         แม้ ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะยืนยันว่า ผลจากการประชุม ร่วมกับ นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมบูรณ์ ยินดียั่งยืน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม  นักวิชาการ และตัวแทนภาคประชาชนที่ทำงานด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หาข้อสรุปการระงับใช้สาร “พาราควอต” ในภาคเกษตรกร ยังยืนยันมติเดิมของคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ให้มีการระงับสารพาราควอตภายใน 2 ปี ก็ตาม

          แต่กระนั้นเรื่องที่จะให้แบนสารเคมีกำจัดหญ้า “พาราควอต”  กลายเป็นประเด็นของความขัดแย้งทางความคิดและข้อมูลทางวิทยาศาตร์  เพราะทั้งเกษตรกร กลุ่มนักวิชาการ คณะแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญ ด้านพิษวิทยา ระบบสมอง วัชพืช ระดับศาสตราจารย์ ยืนยัน พาราควอตยังมีความจำเป็นต่อภาคเกษตร และยังสงสัยงานวิจัย อันเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้คณะกรรมการขับเคลื่อการใช้สารเคมีฯ เสนอให้แบนนั้นมีความเป็นมาอย่างไร

          ทั้งนี้คณะแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญ ด้านพิษวิทยา ระบบสมอง วัชพืช ระดับศาสตราจารย์ ยืนยันว่า ไม่น่ากลัวที่อ้างงานวิจัย และยืนยันไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตอื่นที่อยู่ในดินและน้ำหากเกษตรกรใช้ตามคำแนะนำ และยังยืนไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรคเนื้อเน่าอย่างแน่นอน และงานวิจัย ที่อ้างพบเลือดของผู้หญิงใกล้คลอดและเลือดสายสะดือทารกมาอย่างไร

 เลยสงสัยว่า วิจัยกันอย่าง วิจัยที่มีนัยในเชิงธุรกิจหรือไม่อย่างไร  “จริงหรือว่า ขี้หกทั้งเพ” อ้างเพื่ออีกกลุ่ม นำเข้าสาร “กลูโฟซิเนต” ซึ่งมันก็สารเคมีนั่นแหละ เพราะองค์การอนามัยโลกจำแนก สารพาราควอตได้รับการจัดอยู่ในกลุ่ม II “อันตรายปานกลาง” เป็นพิษน้อยกว่า “นิโคติน” ที่พบในยาสูบเสียอีก

[adrotate banner=”3″]

        ถ้าฟัง ศ.ดร. รังสิต สุวรรณมรรคา ผู้เชี่ยวชาญด้านวัชพืช ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกว่า  คุณสมบัติของพาราควอต จะยึดติดกับดินอย่างเหนียวแน่น และหมดฤทธิ์ ไม่สามารถปลดปล่อยออกมา จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตอื่นที่อยู่ในดินและน้ำ อาทิ ไส้เดือน แมลง ปลา รวมทั้ง รากพืชไม่สามารถดูดซึมได้ ขณะเดียวกันการใช้งานในภาคเกษตรกรรม พาราควอต ใช้ในการกำจัดวัชพืช จะออกฤทธิ์เฉพาะส่วนสีเขียวที่ได้รับสารเท่านั้น

         “ประเด็น พาราควอตทำให้เกิดโรคเนื้อเน่า บริเวณจังหวัดหนองบัวลำภู นั้น ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะความจริงแล้ว พาราควอตไม่เจือปนในน้ำ เพราะจะถูกดูดยึดไว้กับอนุภาคดินและตะกอนดินในน้ำ รวมทั้งถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในที่สุด ที่สำคัญหน่วยงานภาครัฐ 2 หน่วยงานทั้งกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมก็ได้ออกมาให้ความเชื่อมั่น ตรวจไม่พบพาราควอตปนเปื้อนในแหล่งน้ำที่จังหวัดหนองบัวลำภู  นี่เป็นการตอกย้ำความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น พาราควอตจึงไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรคเนื้อเน่าอย่างแน่นอน”

            สอดคล้อง ศ.เกียรติคุณ ดร. น.พ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา อดีตแพทย์โรคระบบการหายใจ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ยืนยันว่า สารพาราควอต โดยปรกติไม่ถูกดูดซึมทางผิวหนังนอกจากมีบาดแผล ส่วนการรายงานผลการตรวจพบพาราควอตในเลือดของหญิงใกล้คลอดและเลือดสายสะดือทารก ก็น่าสงสัยว่าได้มาอย่างไร และในรายงานไม่ได้ระบุว่าแม่และลูกมีความผิดปรกติจากพิษพารา ควอตหรือไม่อย่างไร ที่สำคัญปัจจุบันยังไม่เคยมีรายงานการเกิดพิษพาราควอตในผู้ใช้สารพาราควอตฆ่าหญ้าเลย นอกจากไปดื่มกิน “

          คืนนี้ ( 30 เม.ย.61 ) อย่าลืมครับ ความจริง “พาราควอต” ในมุมมองของเกษตรกร “สุกรรณ์ สังข์วรรณะ” แกนนำเกษตรกรจาก จ.สุพรรณบุรี  และข้อสังเกตุของสื่อมวลชนที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการสื่อมวลชนกว่า 30 ปี  “ดลมนัส  กาเจ” เจ้าของเว็ป “เกษตรทำกิน” และอดีตนายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย 2 สมัย ในรายการ “นโยบาย By ประชาชน”ทางช่องไทยพีบีเอส เวลา 22.00-22.50 น.ครับ!