ดลมนัส กาเจ
นับตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2567 ราคายางพาราเริ่มกระเตื้องขึ้นมาจากราคาที่ประคองอยู่ กก.ละ 40-41 บาทขยับขึ้นมาเป็น กก.ละ 42 บาท และพุ่งต่อเนื่องถึงจุดสูงสุดที่ซื้อ ณ โรงงานท้องถื่น เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 ราคายางแผ่นดิบ กก.ละ 85.55 บาท น้ำยางสด ราคา กก.ละ 81.20 ขณะที่ ณ ตลาดกลางยางพาราสงขลา (อ.หาดใหญ่) ราคายางแผ่นร่มควันชั้น 3 ราคาสูงสุดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 กก.ละ 94.44 บาท จากนั้นราคาร่วงลงต่อเนื่อง
ล่าสุดวันที่ 1 เมษายน 2567 ราคายางแผ่นดิบ ณ โรงงานท้องถื่น กก.ละ 80.75 บาท น้ำยางสด ราคา กก.ละ 75.50 บาท เท่ากับลดลง กก.ละ 6 บาท ขณะที่ ณ ตลาดกลางยางพาราสงขลา (อ.หาดใหญ่) ราคายางแผ่นร่มควัน ราคาประมูล กก.ละ 87.99 บาท ซึ่งต้องรอดูว่าจากนี้ไปราคาจะปรับขึ้นหรือลดลงอย่างไร ขณะที่ต้นยางพารายังอยู่ในช่วงที่ผลัดใบ ยังไม่สามารถที่จะกรีดได้ต้องรอเดือนเกือนพฤษภาคมไปก่อน
วัน/เดือน/ปี
|
ท้องถิ่น
|
ราคาประมูล ณ ตลาดกลางยางพารา จ.สงขลา
|
ราคาสูงสุด
|
FOB. RSS3
(Bangkok)
|
ยางแผ่นดิบ
|
น้ำยางสด
(ณ โรงงาน)
|
ยางแผ่นดิบ
|
ยางแผ่นรมควัน ชั้น3
|
น้ำยางสด
|
Rss3 สูงสุด
|
ตลาดกลาง
|
1 เมษายน 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
29 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
28 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
27 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
26 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
25 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
22 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
21 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
20 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
19 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
18 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
15 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
14 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
13 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
12 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
11 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
8 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
7 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
6 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
5 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
4 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
1 มีนาคม 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
29 กุมภาพันธ์ 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
28 กุมภาพันธ์ 2567
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ที่มา : การยางแห่งประเทศไทย
การที่ราคายางพาราขยับขึ้นในช่วงที่ผ่านมามาจากหลายๆปัจจัยมาผสมผสานกัน อย่างน้อยนโยบายการปราบสินค้าเกษตรเถื่อนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ส่วนหนึ่ง ที่สามารถสกัดการลับลอบนำเข้ายางพาราตามแนวชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับช่วงที่ยางพาราเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลผลิดใบ ผลผลิตในประเทศลดลง การลักลอบนำเข้าไม่มี ขณะที่อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าของจีนกำลังมาแรงความต้องการยางมากขึ้น
ประจวบเหมาะช่วงปลายปีที่ผ่านเกิดเหตุไฟไหม้โรงงานเก็บสต๊อกยางของจีน ในเขตการค้าเสรีฉินหวงเต่า เมืองชิงเต่า ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับผลิตภัณฑ์ยางในโกดัง 9,600 ตัน จีนต้องเร่งหาวัตถุดิบมาสำรองทดแทน แต่เป็นช่วงยางผลัดใบ ส่งผลให้ยางในตลาดขาดแคลนราคาจึงพุ่งขึ้นมา ขณะที่ประเทศผู้ผลิตรายใหญารองลงมาอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซียลดพื้นที่การปลูกและไปปลูกพืชขนิดอื่นทดแทนล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้ราคายางพาราสูงขึ้น
ที่จริงก่อนหน้านี้เมื่อค้นปี นายเพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) ได้ประเมินว่า เกิดเหตุไฟไหม้โรงงานยางจีน ในเขตการค้าเสรีฉินหวงเต่า เมืองชิงเต่า ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับผลิตภัณฑ์ยางในโกดัง 9,600 ตัน เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2566 จะทำให้ราคายางในประเทศไทยสูงขึ้น และเป็นไปตามที่คาดไว้ ขณะนี้คาดว่า จีนคงได้สำรองสต๊อกยางดิบได้ในระดับหนึ่งแล้ว ทำให้ความต้องการยางพาราลดลง ส่งผลให้ราคายางในตลาดโลกเริ่มลดลง ทั้งที่ยังอยู่ในช่วงที่ต้นยางยังผลัดใบ และยังไม่สามารถกรีดยางได้โดยเฉพาะในประเทศไทย เป็นต้น