ถึงเวลาแล้วยัง? ที่รัฐบาลจะแก้ปัญหาคลื่นเซาะตลิ่ง…หายนะถาวรของคนไทย 12 ล้านคน

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

      “นี่ถือเป็นความสูญเสียทรัพย์สินของประชาชนแบบถาวร และไม่มีวันที่จะได้ที่ดินคืนมา บางคนมีแต่โฉนดแต่ที่ทำกินอยู่ในทะเล และไม่เพียงแต่จะสร้างความเสียหายแก่เกษตรกร รวมถึงทรัพย์สินของทางราชการเท่านั้น หากทัศนียภาพอันสวยงามตามแนวชายหาดก็ถูกทำลาย สร้างความเสียหายแก่ธุรกิจท่องเที่ยวอีกด้วย”

ย้อนไปเมื่อปี 2550 สมัยรัฐบาลที่มี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นยากรัฐมนตรี ดูเหมือนว่าจะเอาเอาจังกับปัญหาคลื่นทะเลเซาะตลิ่งที่สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรที่มีที่ดินติดกับทะเลตลอดแนวชายฝั่งทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน จึงประกาศ “ยุทธศาตร์การจัดการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำเซาะตลิ่งฝั่งทะเล”  แต่มาถึงวันนี้วันเวลาล่วงเลยมาแล้วกว่า 15 ปี ปัญหาน้ำหรือคลื่นเซาะตลิ่งตามแนวชายทะเลของไทยนั้นยังเป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรกรที่อาศัยทำมาหากินตามแนวชายฝั่ง

                                 สภาพพื้นที่คลื่นเซาะตลิ่งต้นมะพร้าวรอวันล้มลงไปกับทะเล

นี่ถือเป็นความสูญเสียทรัพย์สินของประชาชนแบบถาวร และไม่มีวันที่จะได้ที่ดินคืนมา บางคนมีแต่โฉนดแต่ที่ทำกินอยู่ในทะเล และไม่เพียงแต่จะสร้างความเสียหายแก่เกษตรกร รวมถึงทรัพย์สินของทางราชการเท่านั้น หากทัศนียภาพอันสวยงามตามแนวชายหาดก็ถูกทำลาย สร้างความเสียหายแก่ธุรกิจท่องเที่ยวอีกด้วย

ถึงเวลาแล้วหรือยัง? ที่รัฐบาลจะรื้อฟื้น “ยุทธศาตร์การจัดการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำเซาะตลิ่งฝั่งทะเล” ตามเจตนานของรัฐบาลสมัยที่ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นยากรัฐมนตรี ได้ประกาศไว้เมื่อ 15 ปีก่อน  อย่าลืมว่า ความเสียหายภาคการเกษตรที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติรัฐบาลมีงบประมาณชดเชยให้ หลังจากนั้นในปีถัดมาเกษตรกรสามารถทำกินบนแผ่นดินเดิมได้ แต่น้ำเซาะตลิ่งที่ทำกินถูกทะเลกลืนไปอย่างถาวร ไม่มีค่าชดเชยใดๆจากรัฐบาลเลย

                                               ถนนเส้นนี้เคยห่างตลิ่งกว่า 20 เมตร

ตามข้อมูลนั้นชายฝั่งทะเลของประเทศไทยนั้นมีความยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร(ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) และมีจำนวนประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 12 ล้านคน เป็นชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาว 1,660 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่รวม 17 จังหวัด อันได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส

ส่วนชายฝั่งทะเลด้านอันดามันอีก มีความยาว 954 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่รวม 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ซึ่งในจำนวนนี้เป็นหาดทรายกว่า 52 % และตลอดแนวชายฝั่งนั้น ล้วนแต่มีความสำคัญในด้านการเป็นที่อยู่อาศัย เป็นพื้นที่เพื่อการเกษตร บางส่วนเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และในเชิงพาณิชย์ การท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่อนุรักษ์และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์

ตามข้อมูล ระบุว่า ปัญหาการน้ำกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทยเฉลี่ยผืนแผ่นดินถูกน้ำกัดเซาะหรือทะเลกลืนลงไปลึกกว่า 5.0 เมตรต่อปี ไม่ใช่น้อยครับ บางพื้นที่มีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่า 25 เมตรต่อปี โดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทยการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจะมากกว่าด้านอันดามัน ลองคิดดูตลอดแนวความยาวของชายฝั่งประมาณ 2,600 กิโลเมตร พื้นที่ทำกินของเกษตรหายไปเท่าไร คำนวนแล้วพื้นที่ถูกทะเลกลืนไปเท่าไร

                                                          เจ้าของที่แก้ปัญหาเอง 

           ได้โปรดเถอะ!! เห็นแก่ชาวบ้านตาดำๆจำนวน 12 ล้านคนที่มีที่ทำกินติดชายทะเล เพราะดูเหมือนว่า  กัดเซาะชายฝั่งทะเลในหลายพื้นที่มีแนวโน้มจะมีความถี่มากขึ้น และยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นด้วย ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาคลื่นเซาะตลิ่งอย่างถูกวิธี และควรจะบรรจุเป็นวาระแห่งชาติครับ!