แต่ตั้ง “ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ” ภาคการเกษตรจะได้รับการดูแลหรือไม่?

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

                                                                    รัชดา ธนาดิเรก

    ก็เป็นตามที่เคยคาดหมายว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มีที่เด็ดในการแก้ปัญหาที่ไม่ธรรมfk เหมือนกับการแก้ปัญหาโควิด-19 ที่ตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค.ขึ้นมา เอาคนที่รู้ และเก่งจริงมาทำงาน ให้นักการเมืองได้แลเห็นวิธีทำงานเพื่อประเทศชาติเป็นอย่างไร ไม่ใช่หวังอำนาจ แย่งชิงตำแหน่ง หรือต้องการชื่อเสียง

    เคยพูดคุยกับเพื่อนหลายคนหลายครั้งว่า หลังจากนี้มั่นใจว่านายกฯคงตั้ง “ศูนย์บริหารสถานการณ์การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ” ขึ้นมา  เพื่อเอาคนเก่งจริงมาช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ  โดยให้นักบริหารที่มีความรู้ ความสามารถได้มีส่วนร่วมมากขึ้น

     และแล้ว เมื่อวันที่ 13 ส.ค.63 สิ่งที่คิดก็มีจริง  น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาเปิดเผยว่า มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) หรือ “ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ” มีคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมด้วย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระกรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข

    พร้อมด้วย เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมธนาคารไทยและนักธุรกิจชั้นนำ ร่วมเป็นกรรมการ มีอำนาจหน้าที่สำคัญในการจัดทำข้อเสนอและกรอบแนวทางการดำเนินมาตรการเศรษฐกิจทั้งระยะเร่งด่วน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และระยะปานกลางและระยะยาว

     อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนกลางเดือนกรกฎาคม 2563 ได้นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศมาแล้ว ทั้งหมด 13 ชุด 13 ด้าน ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง,2. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน,3. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย, 4. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม,5. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ, 6. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้าน, 7.คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข,

     8.คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ, 9.คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม,10.คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน, 11.คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ,12.คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา,และ13.คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

     จะเห็นได้ว่า ไม่มีการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเกษตรกันเลย คงจะไปแทรกในชุดใดชุดหนึ่ง ทั้งที่ปากก็ว่า ให้ความสำคัญต่อภาคการเกษตร และภาคการเกษตรช่วยชาติได้ทุกคราในยามที่ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำครั้งแต้วครั้งเล่า ทั้งจากพิษเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง และแฮมเบอร์เกอร์ เ็นต้น ยันมาถึงวิกฤตโควิด ที่ผู้คนภาคแรงงานหลั่งไหลสู่ภาคการเกษตรอีกครั้ง

      การแต่งตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจในครั้งนี้ได้พูดถึงปัญหา และการช่วยเหลือ SMEs อยู่บ้าง ก็ต้องจับตาดูว่า จะให้ความสำคัญต่อภาคการเกษตรขนาดไหน? ในยามที่เกษตรกรซึ่งเป็นคนหมู่มากของประเทศกำลังประสบปัญหาที่รุ่มเร้าแทบทุกด้านที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ และการดำรงชีพประจำวัน