สนใจเลี้ยง”ปลานวลจันทร์ทะเล”ปรึกษาได้ที่โรงเรียน ตชด.น้ำแดง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดลมนัส  กาเจ

        ปัจจุบันการเลี้ยง “ปลานวลจันทร์ ทะเล” เริ่มมีมากขึ้นตามลำดับโดยเฉพาะใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จนกลายเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างงดงาม เพราะคนไทยเราเริ่มหันมาบริโภคมากขึ้น จนเป็นปลาหรือสัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่ และเป็น”ปลาเศรษฐกิจพระราชทาน” ถึงขนาดมีนักลงทุนจากไต้หวันมาลงทุนเลี้ยงกันแล้วที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์  เพราะเขาบอกว่า ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ และคนไต้หวันนิยมบริโภคเป็นอย่างมาก บางพื้นที่ก็เลี้ยงในกระชัง

         การเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลในบ่อดิน ภาพรวมแล้วพื้นที่ 1 ไร่ใช้เวลาเลี้ยง 8 เดือนจะได้ปลาขนาด 1 กก. จำนวน 1 ตัน ผลผลิตที่ได้มา นอกจากการบริโภคสดแล้ว ปลานวลจันทร์ทะเลยังสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ เช่น ปลากระป๋อง, ลูกชิ้น, ปลานวลจันทร์ทะเลตากแห้งหรือแดดเดียวเป็นต้น

        นอกจากนี้การเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเล ขยายพื้นที่การเลี้ยงไปในหลายจังหวัด รวมถึงภาคตะวันออกใน จ.จันทบุรี ตราด อย่างโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านน้ำแดง อ.ขลุง จ.จันทบุรีก็เลี้ยงเช่นกัน

        ด.ต.ภุชงค์  เทพมงคล ครูผู้สอนประจำโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านน้ำแดงแห่งบอกว่า ปลานวลจันทร์ทะเลที่เลี้ยงภายในบริเวณพื้นที่ของโรงเรียน ซึ่งเป็นป่าชายเลนนั้น ส่วนหนึ่งเพื่อนำเป็นอาหารกลางวันของเด็ก ขณะเดียวกันก็เป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรที่สนใจจะเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเล เลี้ยงปูทะเล รวมถึงศึกษาป่าชายเลนด้วย

       “ที่เราเลี้ยงในกระชังจะใช้เวลาเลี้ยงราว 8 เดือนถึง 1 ปีเราจะได้ปลายขนาดตัวละ 1 กก.ขึ้นไป ปัจจุบันซื้อขายกันง่ายๆ กก.ละ 100 บาท เป็นอาชีพน่าสนใจครับ เลี้ยงดีสร้างเป็นอาชีพได้สบาย ต่อไปปลานวลจันทร์ทะเล จะถูกบรรจุเป็นเมนูอาหารเด็ดของ จ.จันทบุรี  ซึ่งสามารถทำเป็นเมนูอาหารได้หลายอย่าง อาทิ ต้มยำ นึ่ง ทอดกรอบ ทอดกระเทียม แดดเดียว เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่พักในโฮมสเตย์ใน จ.จันทร์บุรี” ด.ต.ภุชงค์ กล่าว

            ส่วนที่บอกว่าปลานวลจันทร์ทะเลเป็น “ปลาเศรษฐกิจพระราชทาน”  เนื่องเพราะด้วยพระอัจฉริยภาพ และทรงวิสัยทัศน์อันยาวไกล ของพระบาทสมเด็จพระพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พ่อหลวง รัชกาลที่ 9 ของเรา ที่เห็นทรัพยากรของสัตว์น้ำที่ทรงคุณค่า และสามารถที่จะนำมาสู่การสร้างอาชีพให้กับพสกนิกร ที่สามารถจะสร้าครอบครัวได้ คือ “ปลานวลจันทร์ทะเล”                                                                              ภาพนี้จาก: phakhlongwan.blogspot.com

            ปลานวลจันทร์ทะเล หรือ ปลานวลจันทร์ อาศัยในน้ำกร่อย และน้ำจืดได้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Chanos chanos อยู่ในวงศ์ Chanidae  เป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ครับ

          ลักษณะหน้าตาของปลานวลจันทร์ทะเล คล้ายนวลจันทร์น้ำจืด แต่เพรียวและยาวกว่า คือรูปร่างเพรียวยาว หัวแหลมออกทู่ๆ มีเกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว  หางเป็นครีบหางเว้าลึก ครีบท้องและครีบหลังเล็ก เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไว ตามข้อมูลระบุว่าถ้าโตเต็มที่ยาวถึง 1.5 เมตร พบได้ตามชายฝั่งทะเลแถบอบอุ่นทั่วภูมิภาคของโลก

        บ้านเราจะพบมาในอ่าวไทย ชอบอยู่ตามป่าชายเลนใน จ.ชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ มักอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาล่าเหยื่อกิน ปลาเล็ก และสัตว์น้ำอื่นๆที่มีขนาดเล็ก รวมถึงสาหร่ายทะเลด้วย

         พระบาทสมเด็จพระพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  พ่อหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้มีการเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลในเชิงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 26 เมษายน. 2508 ให้กรมประมงทำการศึกษาขยายพันธุ์ปลานวลจันทร์ ที่จับมาได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติส่วนหนึ่งไปทดลองเลี้ยงในอ่างเก็บน้ำเขาเต่า อ.หัวหิน โครงการพระราชดำริ โค ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริ โครงการแรกที่ได้สร้างเมื่อปี 2506

         ด้วยกระแสบริโภคปลานวลจันทร์ทะเลในประเทศไทยไม่ค่อยนิยมมากนัก ทั้งที่รสชาติอร่อย ไม่แพ้ประกระพงขาว ปลาซะบะ  กระนั้นการเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลในบ้นเราถูกลืมเลือนหายเงียบหายไป ขณะที่หลายประเทศอย่างจีน ไต้หวัน ฟิลิปปิ่นสืรวมถึงสหรัฐอเมริกานิยมบริโภคอย่างกว้างขวาง กระทั่งในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อปี พ.ศ. 2544 พระองค์จึงทรงมีรับสั่งเรื่องปลานวลจันทรทะเลอีกครั้ง

[adrotate banner=”3″]

       “ได้ไปที่ประจวบคีรีขันธ์ ที่คลองวาฬ ซึ่งมีสถานีประมงที่คลองวาฬเขาเลี้ยงปลาที่เป็นปลาทะเล เรียกว่า ปลานวลจันทร์ทะเล เขาจับปลานวลจันทร์เล็กๆ ที่อยู่ในทะเลเอามาขาย และสำหรับเลี้ยงในบ่อ ซึ่งถ้าเลี้ยงในบ่อน้ำมันจืดลง ปลานวลจันทร์ทะเลนั้นก็เติบโตได้ เป็นอันว่าจะเป็นอาชีพสำหรับชาวบ้าน ไปซื้อมา เขาไม่ได้ซื้อ เราซื้อให้ไป ซื้อเอามาปล่อยในอ่างเก็บน้ำ และเมื่อปล่อยแล้วมันก็เติบโต เติบโตดีปีหนึ่งมันเติบโตมาขายได้เป็นเงิน เป็นหลายแสน แต่ชาวบ้านก็ไม่ค่อยสนใจ จึงเลิกปลานวลจันทร์ทะเลมันไม่ มันไม่เติบโต เอ้อมันไม่แพร่พันธุ์ในบ่อ ในอ่างมันจะแพร่พันธุ์ได้แต่ในทะเล แต่ก็ยังไงก็จับได้และขายได้ ซึ่งถ้าสมมติว่าไปซื้อมาแล้วมาปล่อยแล้วก็ดูแล และถึงเวลาก็ขาย ก็เป็นอาชีพที่ดี”

        พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ต่อมา กรมประมงจึงได้ทำการศึกษาและปฏิบัติอย่างจริงจัง จนประสบความสำเร็จในปี พ.ศ. 2553 และเริ่มถ่ายองค์ความรู้นี้แก่ชาวประมง เกษตรกรจนกระทั่งปี พ.ศ. 2556

         ปัจจุบันการเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลเริ่มมีมากขึ้นตามลำดับ เพราะเลี้ยงง่ายมีอาหารสำเร็จรูปนั้นสามารถหาซื้อได้ทั่วไป โดยให้วันละ 2 ครั้งเช้าเย็น เมื่อคำนวนแล้ว ต้นทุนอยู่ที่ ตัวละ 40-50 บาท โดยปลานวลจันทร์ทะเลในปัจจุบัน จะนิยมรับซื้อปลาในขนาด 7-8 ขีด เพื่อนำไปแปรรูปเป็นปลานวลจันทร์ทะเลถอดก้าง หรือปลานวลจันทร์ทะเลแดดเดียว แต่การส่งออกต้องมีน้ำนักตั้งแต่ 1 กก.ขึ้นไป

            นับเป็นถือเป็นปลาเศรษฐกิจตัวใหม่ที่สนใจ หากสนใจแวะปรึกษาดูงานที่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านน้ำแดง อ.ขลุง จ.จันทบุรี เราไปดูมาแล้วพร้อมคาราวาน “แกร่ง ทุกงานเกษตร”กับ ฟอร์ดเรนเจอร์เมื่อไม่นานมานี่เอง  หรือถ้าจะดูให้ครบวงจนต้องไปที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ครับ