“หลงลับแล”ขึ้นแท่น”จีไอ”ปลูกที่จันทบุรีต้อง”หลงจันท์”(มีคลิป)

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดลมนัส  กาเจ

            ปัจจุบันทุเรียนสายพันธุ์ “หลงลับแล” ซึ่งเป็นทุเรือนพื้นเมืองของ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ มีการขยายพื้นที่ปลูกไปหลายอำเภอ ใน จ.อุตรดิตถ์ รวมจังหวัดอื่นๆโดยเฉพาะในภาคตะวันนอกทั้งที่ จ.ระยอง จ.จันทร์บุรี รวมถึงที่ อ.นครไทย จ.พิษณุโลกด้วย

            ล่าสุดเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ออกมาระบุว่า ทางกรมทรัพย์สินฯ ได้ประกาศขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ)เพิ่มเติมอีก4รายการ ในจำนวนนี้มีทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์ ทุเรียนหลินลับแลอุตรดิตถ์ สังคโลกสุโขทัย และกล้วยตากบางกระทุ่มพิษณุโลก

      เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความโดดเด่นของแต่ละพื้นที่และเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค ซึ่งหลังจากขึ้นทะเบียนแล้วคาดว่าเกษตรกรและผู้ผลิตจะสามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาที่สูงขึ้น ที่สำคัญทางกรมทรัพย์สินฯได้เตรียมผลักดันให้สินค้าจีไอพัฒนาไปสู่ตลาดและผู้บริโภคที่แพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดขนาดใหญ่อย่างจีน สหภาพยุโรป (อียู) และอินเดีย เป็นต้น

            ทุเรียนหลงลับแลนั้น  เป็นทุเรียนที่เกษตรกรใน อ.ลับแล จะปลูกในป่าเขา ผลของทุเรียนหลงลับแล มีลักษณะทรงกลมออกรี มีขนาดเล็ก เปลือกบาง เนื้อหนา  สีเหลืองเข้ม เนื้อแห้งละเอียดเหนียว มีกลิ่นอ่อน รสชาติหวานมัน เมล็ดลีบเล็ก ผู้บริโภคสามารถรับประทานได้ 3 ระยะแรกสุกห่ามๆ ระยะสองเริ่มพอมีกลิ่น และระยะสุดท้ายผลสุกจากต้นที่ร่วงหล่นลงมา ปัจจุบันมีปลูกมากที่สุดในเขตพื้นที่ อ.ลับแล ท่าปลา และ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ส่วนทุเรียนหลินลับแลอุตรดิตถ์ เป็นทุเรียนที่มีผลทรงกระบอก เปลือกบาง เนื้อสีเหลืองเข้ม เนื้อละเอียดเหนียวแห้ง รสชาติหวานมัน กลิ่นอ่อน เนื้อมากเส้นใยน้อย เก็บไว้ได้นานโดยไม่แฉะ มีเมล็ดลีบเล็ก ปลูกในเขตพื้นที่เดียวกันกับ หลงลับแล

            อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้เกษตรกรชาว อ.ลับแล มีการเรียกร้องให้ผู้ที่ปลูกทุเรียนหลงลับแลและหลินลับแล ให้ชื่อเฉพาะถิ่นปลูก เนื่องจากปลูกถิ่นอื่นอาจมีรสชาติที่แตกต่างกัน เพราะสภพดิน ภูมิอากาศที่ต่างกัน อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า รสชาติของหลงลับจะเหมือนกันกับที่ปลูกใน จ.อุตรดิตถ์ ทำให้เกษตรกรที่ปลูกใน อ.นครไทย จ.พิษณุโลกตั้งชื่อใหม่ว่า “หลงนครไทย”

[adrotate banner=”3″]

            ล่าสุดไปพบ  มีการปลูกทุเรียนหลงลับและให้ผลลิตแล้วที่ จ.จันทบุรี แต่กระนั้นดูเหมือนว่า รูปทรงของผลทุเรียนหลงลับมีความแตกต่าง ไม่กลมดั่งแบบฉบับ ซึ่งในเมื่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) แล้ว ที่ปลูกที่จันทบุรี น่าจะเรียกว่า “หลงจัทน์” มากกว่าครับ!