ณ เวลานี้ “มูซังคิง” โอกาสทองของเกษตรกรไทย

  •  
  •  
  •  
  •  

             ณ เวลานี้ “มูซังคิง”โอกาสทองของเกษตรกรไทย

โดย…ดลมนัส  กาเจ

                                                       เอกชัย ตั้งจารุกุล

            สถานการร์การขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนในบ้านเรานั้น ยังขยายเพิ่มขึ้นเรื่อย เนื่องจากช่วง 4-5 ที่ผ่านมาราคาทุเรียน มังคุด มะม่วงน้ำดอกไม้ในต่างแดนยังต้องการสูง โดยเฉพาะตลาดใหม่ๆคือจีน และเวียดนามประกอบกับราคาพืชทางการเกษตรหลายอย่างราคาตกต่ำ โดยเฉพาะยางพารา ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกทุเรียนแทน

            ในบรรดาทุเรียนที่เกษตรกรรุ่นใหม่ เลือกปลูกนั้น ส่วนหนึ่งยังคงเป็นหมอนทอง แต่ผู้ที่ติดตามข่าวสารถึงความต้องการของตลาดทุเรียนอย่างแท้จริง จะเลือกทุเรียนสายพันธุ์ของมาเลเซีย ที่ถือว่าสุดยอดทุเรียนของมาเลเซีย ณ ขณะนี้คือ “มูซังคิง” หรือ “เหมา ซาน หว่าง” เป็นทุเรียนที่มีรสชาติอร่อย และเป็นที่ชื่นชอบของชาวที่อาศัยปลายแหลมมาลายู ไม่ว่าจะเป็นภาคใต้ตอนล่างของไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ รวมถึงบรูไนฯ ต้องเลือก “มูซังคิง” หรือ “เหมา ซาน หว่าง” มาเป็นอันดับหนึ่ง ที่สำคัญตอนนี้ฮือฮามากในตลาดจีน ทำให้ราคาพุ่งขึ้น กก.เกือบ 3,000 บาท แม้ในมาเลเซียเองซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของทุเรียนสายพันธุ์นี้ แต่ราคา กก.ละกว่า 1,000 บาท

                                             ปลูกที่มาเลย์

           ที่จริงทุเรียนสายพันธุ์มูซังคิงปลูกที่รัฐกลันตันของมาเลเซียมีนานแล้ว เรียกกันว่า “รายากูหงิด” หรือราชาขมิ้น เพราะเนื้อทุเรียนเหลืองอร่ามราวกับขมิ้น หรือเนื้อทอง คุณสมบัติพิเศษคือลูกกำลังดี ไม่โตนัก เต็มที่ราว 3 กก.เนื้อหนา เนียน และเหนีนวหนึบ เมล็ดลีบ รสชาติหวานมัน กลิ่นไม่แรงนัก แกะใส่ตู้เย็น เก็บกินได้เป็นปี ทำให้คนนิยมเป็นอย่างมาก ขนาดราคาแพงหมอนทองของเรา มาเลเซียนนำเข้า แต่คนมาเลเซีย และสิงคโปร์จะเลือก รายากูหงิดอีก เพราะพวกเขายันยันว่า สุดยอดของทุเรียนจริงๆ

            ตรงนี้แหละที่ทำให้ พ่อค้าส่งออกไปยังมาเลเซียและสิงค์ที่อยู่ อ.เบตง จ.ยะลา  แอบเอากิ่งพันธุ์มาเสียบยอดในบ้านเราปลูกที่ อ.เบตง เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ปรากฏว่าผลผลิตดีกว่า ผลโตกว่า รสชาติดีกว่าด้วย อาจเป็นไปได้ว่า คนไทยเราเก่งในด้านการเกษตากว่ามาเลเซียนั่นเอง ปัจจุบันที่ปลูกใน อ.เบตง มีราว 1 หมื่นต้น เจ้าของแทบไม่ได้กิน เพราะพ่อแย่งซื้อตั้งแต่ยังเป็นดอก ในราคา กก.ละ 500 บาท

            รายากูหงิด เพิ่งเปลี่ยนชื่อใหม่ หลังจากที่ นายนาจิบ ราซัค ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐของมาเลเซีย จึงตั้งชท่อใหม่ว่า “มูงซังคิง” ราชาแมวป่า เพราะตัวอีเห็น ซึ่งมาเลเซียเรียกว่า มูซัง ชอบขโมยกินทุเรียนสายพันธุ์นี้มากที่สุด โดยแทบจะไม่แต่พันธุ์อื่น เพราะอร่อยกว่า เลยตั้งชื่อว่า “มูซังคิง” หรือราชาแมวป่า  ราวปี 2554 ส่วนชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน ยังเรียกว่า “เหมา ซาน หว่าง” คนจีนบางบอกว่า ราชาแห่งขุนเขา คือเป็นผลไม้ที่ขึ้นขามภูเขาที่มีความอร่อยที่สุด

                                                           ปลูกที่เบตง

             ต่อมานายนาจิบ นำไปฝากเมื่อมีโอกาสเดินทางไปเยือนจีนอย่างเป็นทางการ และได้นำทุเรียนมูซังคิงฝากให้นายกรัฐมนตรี เวิน เจียเป่า ของจีน(สมัยนั้น) และครั้งนั้นถือเป็นการถือฤกษ์เปิดตลาดทุเรียนมูซังคิง ของมาเลเซียครั้งแรกในจีน  และต่อมามีการจัดงานโรดโชว์ทุเรียนมูซังคิงทุกปี จนกลายเป็นเรื่องฮือฮา ในวงคอทุเรียน ที่มีการพูดถึงมากที่สุดในขณะนี้

           เมื่อ 7 ปีที่แล้ว เมื่อครั้งที่ นายอาห์เมด อิสชัค ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานกลางด้านการตลาดสินค้าเกษตรมาเลเซีย  ยืนยันกับบสำนักข่าวเบอร์นามา ของมาเลเซียว่า ปัจจุบัยว่ามาเลเซียสามารถผลิตทุเรียนได้ปีละประมาณ 3.3 แสนตัน ต่อปี แต่ส่วนใหญ่จัดจำหน่ายเพื่อการบริโภคภายในประเทศ แต่นายโนห์ โอมาร ตอนที่ดำรงแหน่งรัฐมนตรีเกษตรมาเลเซียพูดในปีเดียวกัน ว่า มาเลเซียจะเริ่มส่งออกทุเรียนไปจีน ถือเป็นความพยายามท้าทายการผูกขาดตลาดของไทย ที่เจาะตลาดจีนมายาวนาน

[adrotate banner=”3″]   

         จากความต้องการทุเรียนสายพันธุ์มูซังคิง ที่ไม่เพียงพอในตลาดจีน ทำให้นักธุรกิจหนุ่มที่ประสบผลสำเร็จในด้านธุรกิจปาล์มน้ำมัน  “เอกชัย ตั้งจารุกุล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลด์ ออยปาล์ม จำกัด สบช่องเปิดบริษัทลูก “บริษัท โกลเด้น แพลนท์ จำกัด ตัดสินใจแตกแขนงธุรกิจเกษตร เพาะต้นกล้ามูซังคิง เป็นบริษัทแรก และบริษัทเดียวในประเทศไทย ที่ผลิตต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน”มูลซังคิง” อย่างเดียว โดยเอากิ่งพันธุ์จากจาก อ.เบตง จ.ยะลา เป็นแม่พันธุ์

                                                                    รุ่นแรก

           ล๊อตแรกเปิดตัวเมื่อเดือนกรกฏาคม 2560 ปรากฏว่า ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี เนื่องจากคนที่อยู่ในวงการทุเรีบนต่างทราบดีว่า “มูซังคิง” ทุเรียนแห่งอนาคต ที่ตลาดมีความต้องการเป็นอย่างมาก ตอนนี้เวียดนาม ทราบว่า ไทยปลูกทุเรียนมูซังคิงได้แล้ว พยามที่จะหาผลผลิตเพื่อนำเข้าเวียดนามด้วย แต่ผลยัง มีน้อยมาก ส่วนกระจุกที่ อ.เบตง จ.ยะลา ที่ปลูกแล้วราว 1  หมื่นต้น ส่วนรุ่นสอง จะมีการเปิดตัวเร็วๆนี้ แต่ราคาปรับขึ้นเล็กน้อย

            กระนั้นทุเรียนมูซังคิงรุ่นแรก ต้นโตแล้ว ยังพอมีอยู่ หากสนใจสามารถไปหาซื้อได้ ใน “งานเกษตรเมืองทอง ครั้งที่ 2” ปีนี้จัดขึ้นบริเวณริมทะเลสาบ ในเมืองธานี จ.นนทบุรี ระหว่าง วันที่ 1 – 4 มีนาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 22.00 น.

                                                    รุ่นสองที่จะเปิดตัวเร็วๆนี้

           ปลูกทุเรียรสายพันธุ์” มูซังคิง” ไม่ผิดหวัง ปลูกก่อนได้เปรียบ เพราะตลาดยังต้องการอีกมาก โดยเฉพาะมาเลเซียทำตลาดไว้แล้ว แต่ผลผลิตจากมาเลเซียมีน้อยมาก ตรงนี้ถือเป็นโอกาสอันดีของเกษตรกรไทย นอกจากจีน เวียดนามก็ต้องการสูงเช่นกัน แต่กระนั้นลำพังในประเทศไทย คอทุเรียนอีกจำนวนมากที่ต้องการซื้อเช่นกัน แต่ผลผลิตมีอันจำกัด สนใจสอบถามได้ที่โทร.081-554-6816