ทำลายอีกซากสุกรเถื่อนล๊อตใหม่ล่าสุด 34 ตันที่ยึดจากพื้นที่จังหวัดนรคปฐมและนครสวรรค์ ตามคำสั่ง “เฉลิมชัย” อธิบดีกรมปศุสัตว์ วอนประชาชนทั่วไปหากพบเบาะแสช่วยแจ้งมายังสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225 -6888 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ป้องกันการลักลอบนำเข้าโดยผิดกฏหมายและต่อโรคระบาด
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยเปิดว่า ทางเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ได้ทำลายซากสุกรที่นำเข้าโดยผิดกฏหมาย ตามคำสั่งของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์ ตรวจสอบสถานที่เก็บซากสัตว์ เพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้าซากสัตว์จากต่างประเทศ ที่ไม่มีใบอนุญาต และให้บังคับใช้กฎหมายลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างเคร่งครัด โดยอาศัยอำนาจตามพรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558
ผลการรายงานล่าสุด เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 กรมปศุสัตว์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคได้ทำลายซากสัตว์ผิดกฎหมายกว่า 10.2 ตันที่ยึดได้จากห้องเย็นแห่งหนึ่งในนครปฐม และได้รับมอบซากสุกรจากกรมศุลกากร เพื่อทำลายชากสุกรของกลางอีกจำนวน 23.8 ตัน ตาม ข้อตกลงระหว่างกรมปศุสัตว์กับกรมศุลกากรในวันเดียวกัน ณ ด่านกักกันสัตว์นครสวรรค์ รวม 34 ตัน
ทั้งนี้กรมปศุสัตว์ โดยเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษพญาไท และปศุสัตว์จังหวัดนครปฐมในฐานะเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ทำการตรวจสอบห้องเย็นแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐมพบว่าซากสัตว์ดังกล่าว ไม่มีเอกสารหลักฐานใดๆ ที่รับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการนำเชื้อโรคระบาด
ดังนั้นจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 40(4) แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยการทำลายซากสัตว์ จึงเห็นสมควรให้ดำเนินการทำลายซากสัตว์ของกลางดังกล่าว ที่จังหวัดนครปฐมจำนวนกว่า 10,200 กิโลกรัม และ ได้รับมอบซากสุกรจากกรมศุลกากร เพื่อนำมาทำลายชากสุกรของกลาง อีก จำนวน 23,800 กิโลกรัม ตาม ข้อตกลงระหว่างกรมปศสัตว์กับกรมศุลกากรในวันเดียวกัน ณ ด่านนักกันสัตว์นครสวรรค์ รวม 34,000 กิโลกรัมโดยได้ดำเนินการทำลายโดยวิธีฝังกลบเรียบร้อยแล้ว ตามระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าการทำลายซากสัตว์ที่ผิดกฎหมาย
อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวอีกว่า กรมปศุสัตว์จะดำเนินการตรวจสอบสถานที่เก็บซากสัตว์ ป้องกันการลักลอบนำเข้า และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง และเนื่องจากพื้นที่จังหวัดนครปฐม ได้มีประกาศเรื่องกำหนดเขตเฝ้าระวังโรคระบาดชนิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever: ASF) ในชนิดสัตว์สุกรและหมูป่า ทำให้การเคลื่อนย้ายซากสุกรทุกครั้ง ต้องแจ้งการเคลื่อนย้ายในพื้นเขตโรคระบาด ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558
อย่างไรก็ตาม หากประชาชนต้องการแจ้งเบาะแส โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือ www.dld.go.th หรือแอปพลิเคชัน DLD 4.0 หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225 -6888 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง