“เฉลิมชัย” หนุนเกษตรกรกลับมาเลี้ยงหมูใหม่ การันตีปราบ ASF อยู่หมัดแล้ว

  •  
  •  
  •  
  •  

“เฉลิมชัย” การันตีเอง ไทยควบคุมโรคและกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรอยู่หมัดแล้ว มั่นใจปริมาณสุกรขุนเพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศอย่างแน่นอน ประกาศำร้อมสนับสนุนเกษตรกรหันกลับมาเลี้ยงใหม่

วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการป้องกันควบคุมโรคและกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ครั้งที่ 5 โดยมี นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากสมาคมต่าง ๆ ตลอดจนตัวแทนผู้ประกอบการและเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยที่ประชุมได้มีการรายงานสถานการณ์การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever : ASF) ในประเทศไทย

                                           เฉลิมชัย ศรีอ่อน

ดร.เฉลิมชัย เปิดเผยว่า จากการสำรวจข้อมูลของกรมปศุสัตว์ สถานการณ์การระบาดของโรค ASF สะสมทั่วโลก พบการระบาดทั้งหมด 42 ประเทศ 4 ทวีป ประกอบด้วย ทวีปยุโรบ 17 ประเทศ ทวัปแอฟริกา 8 ประเทศ โอเชียเนีย 1 ประเทศ และทวีปเอเชีย 16 ประเทศ ซึ่งสถานการณ์ทั่วโลกในปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุมได้ และมีแนวโน้มจะขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นอีก

      ทั้งนี้ จากมาตรการควบคุมโรคที่ออกมาอย่างเข้มข้นของกรมปศุสัตว์ ส่งผลให้สถานการณ์การระบาดของโรค ASF ในประเทศไทยนั้นกลับมีทิศทางที่ดีขึ้นมี โดยตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 – ปัจจุบัน พบการระบาดแล้วทั้งสิ้น 30 จังหวัด โดยมีถึง 26 จังหวัดที่สามารถควบคุมโรค และตรวจซ้ำไม่เจอโรคแล้วมากกว่า 30 วัน ซึ่งในภาพรวมขณะนี้ในประเทศไทยสามารถควบคุมและกำจัดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเริ่มมีการออกมาตรการต่างๆ พร้อมสนับสนุนการกลับมาเลี้ยงใหม่ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการแล้ว

สำหรับแนวทางที่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการฟาร์มสุกรจะกลับมาเลี้ยงใหม่นั้น กรมปศุสัตว์ได้มีข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับทุกฟาร์ม โดยให้เกษตรกรต้องเข้ารับการอบรมการเลี้ยงและป้องกันโรค ปีละ 1 ครั้ง ในรัศมี 5 กิโลเมตร ต้องไม่มีรายงานโรคอย่างน้อย 30 วัน ระบบฟาร์มต้องเป็น “ฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม” (Good Farming Management ; GFM) ขึ้นไป และจะมีเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์เข้าไปประเมินความเสี่ยง ฟาร์มทั่วไปต้องได้ 60 คะแนนขึ้นไป และฟาร์มที่เคยพบโรคหรือมีความเชื่อโยงโดยตรง ต้องได้คะแนน 80 ขึ้นไป นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับฟาร์มกลุ่มเสี่ยงทั้งที่เคยพบผลบวกหรือมีผลเป็นลบแต่มีความเสี่ยง จำเป็นจะต้องพักฟาร์มไม่น้อยกว่ 90 วัน และเริ่มเลี้ยงสุกรได้ ร้อยละ 10 – 15 เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และเก็บตัวอย่าง หากไม่มีการะบาดของโรคก็สามารถเลี้ยงได้ตามปกติ

นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้ร่วมกับหน่วยงานมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ สำรวจจำนวนสุกรอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2565 พบว่ามีจำนวนสุกรแม่พันธ์ ประมาณ 1 ล้านตัวในระบบ โดยปริมาณความต้องการบริโภคในประเทศอยู่ที่เดือนละ 1.5 ล้านตัว และจากผลการสำรวจสุกรขุน ในแต่ละเดือนประมาณ 9 ล้านตัว ตามรอบการผลิตสุกรขุน ประมาณ 6 เดือน ดังนั้นต้องขอเน้นย้ำกับประชาชน ปริมาณสุกรขุนมีเพียงพอต่อความต้องการในประเทศอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาแผนการขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูหมูป่า(เพิ่มเติมโดยได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์เตรียมข้อมูลให้พร้อมเพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีให้ทันภายในปีงบประมาณต่อไป