ยันยังไม่พบ “H5N8” ในไทย ย้ำแผ่นดินสยามปลอดหวัดนกกว่า 15 ปีแล้ว

  •  
  •  
  •  
  •  

นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต

กรมปศุสัตว์ ชี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกสายพันธ์ใหม่  H5N8 ที่ระบาดระลอกใหม่ ยังไม่พบในประเทศไทย แม้จะมีอัตราเสี่ยงมาจากนกอพบยพก็ตาม แต่ไทยมีมตรการที่เข้มงวด  ยีนยันในไทยปลอดหวัดนกมากว่า 15 ปีแล้ว แนะทานอาหารปรุงสุกเท่านั้นขอเกษตรกรดูแลการผลิต เสริมกำลังป้องกันโรคเข้มข้น

       นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่พบการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกสายพันธ์ใหม่  H5N8  ทั้งในเยอรมนี โปแลนด์ ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ และล่าสุดประเทศรัสเซีย พบการติดเชื้อสายพันธุ์นี้ในมนุษย์ เป็นครั้งแรกของโลกนั้น  สำหรับประเทศไทยยังไม่พบการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าว โดยกรมปศุสัตว์ได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด ในการคุมเข้มเฝ้าระวังและป้องกันไข้หวัดนก H5N8  อย่างเข้มงวด มาตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมเป็นต้นมา เนื่องจากเชื้อนี้มีฝูงนกป่าเป็นพาหะ ทำให้ไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ในเส้นทางการบิน มีความเสี่ยงเป็นพิเศษ

        “ไทยไม่พบการติดเชื้อไข้หวัดนกในคนตั้งแต่ปี 2549 หรือไม่มีโรคนี้ในประเทศไทยนานกว่า 15 ปี และยังคงสถานะประเทศปลอดไข้หวัดนก ตามรายงานของ OIE นับจากปี 2551 จนถึงปัจจุบัน และยังไม่พบการระบาดของ H5N8 จากการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคระบาดในสัตว์ปีกทุกประเภท ผู้บริโภคไม่ต้องกังวลในการบริโภคสัตว์ปีก ขอเพียงเน้นย้ำการรับประทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น เพราะเชื้อไม่สามารถติดต่อทางอาหารที่ปรุงสุก และเชื้อจะตายที่อุณหภูมิสูง 70-100 องศา และที่ผ่านมาก็ไม่มีรายงานว่าคนเกิดไข้หวัดนก หรือแม้แต่คิดโรคโควิด-19 จากการรับประทานอาหารที่ปรุงสุก” นายสัตวแพทย์ สรวิศ กล่าว


        อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญขอให้เกษตรกรดูแลการผลิต เสริมกำลังป้องกันโรคเข้มข้น มุ่งเน้นระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ในระดับสูง ตลอดจนประยุกต์ใช้ระบบคอมพาร์ทเม้นต์ ขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ  (OIE) ในฟาร์มของตนเองอย่างเหมาะสม ด้วย 4 หลักการสำคัญ เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยการผลิตสัตว์ปีกปลอดไข้หวัดนก ประกอบด้วย 1.หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Common Biosecurity) ที่มีมาตรการป้องกันโรคที่สอดคล้องกันตลอดห่วงโซ่การผลิต 2. การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก (Surveillance) ทั้งภายในระบบคอมพาร์ทเม้นต์และพื้นที่กันชน รัศมี 1 กิโลเมตร รอบฟาร์ม 3. การควบคุมโรค (Control Measure) และ 4.การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability System)