ดลมนัส กาเจ
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ส่งผลให้กระทบโดยตรงกับภาคการเกษตรโดยเฉพาะภัยแล้ง สภาพอากาศที่ร้อนระอุ อย่างปีนี้ในประเทศไทยเหลายพื้นที่ ที่มีอากาศร้อนกว่า 40 องศาเซลเซียส ส่งผลให้พืชผลทางเกษตรเสียหายมหาศาล ทั้งผลผลิตน้อบลง บางพื้นไม้ผลตายยืนต้น ถึงเวลาที่เกษตรกรต้องปรับตัว นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นมารับมือกับสภาพของโลกรวนอย่างที่เป็นอยู่
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทยจึงจัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “เกษตรกรยุคใหม่ผลิตได้อย่างยั่งยืน” ด้วยการพาเกษตรกรและสื่อมวลชนไปดูงานที่สวนมะพร้าวน้ำหอม “เคห-สมาร์ท ฟาร์ม” หรือที่รู้จักในนาม “สวนเคหะเกษตร” ของ อ.เปรม ณ สงขลา อดีตบรรณาธิการบริหารวรสารเคหะเกษตร ปัจจุบันมาปลูกน้ำหอมที่ ต. อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี และสวนทุเรียน ที่ อ.ทองผาภูมิ เป็นแหล่งปลูกทุเรียนแห่งใหม่ของประเทศไทย
อ.เปรม บอกว่า ที่เคห-สมาร์ท ฟาร์ม มีพื้นที่ 80 ไร่ปลูกมะพร้าวน้ำหอม 60 ไร่ ซึ่งเป็นนี้ประสบปัญหากับสภาพอากาศที่ร้อนถึง 42 องศาเซลเซียส ขณะที่มะพร้าวชอบอากาศ 20-32 องศาเซลเซียส จึงทำให้มะพร้าวมีผลผลิตน้อยลงเป็นอย่างมาก แต่กระทบน้อยกว่าสวนอื่น เพราะได้นำนวัตกรรมผสมผสานกับภูมิปัญญท้องถิ่นมาแก้ปัญหาด้วยติดตั้งระบบพยากรณ์และตรวจสภาพอากาศภายในสวนจึงทราบว่าในแต่ละช่วงตวรแก้ปัญหาอย่างไร
“สิ่งหนึ่งที่ผมจะบอกว่า การแก้ปัญหาสภาพอากาศที่ร้อน ทำง่ายที่อื่นไม่มีแต่ที่นี่มีนั้นคือ การปลูกต้นไม้แนวปะทะลม หรือวินด์เบรค (windbreak) คือแนวของต้นไม้ที่ปลูกมาเพื่อเป็นฉากปะทะลม จำพวกไทนเกาหลี ส้มมะปิ๊ด ทองหลางเป็นต้น ทำให้กระแสลมเบาลง เพราะลมจะเป็นตัวที่พัดความชื้นจากสวนออกไป และอีกอย่างคือการขุดร่องน้ำเป็นคู น้ำจะระเหยนำความชื้นสู่ต้นไม้ที่ปลูกไว้ อันนี้ดีมาก ขณะเดียวกันเราต้องติดระบบน้ำเพิ่มเติมครับ” อ.เปรม กล่าว (รายละเอียดในคลิป)